ข้อสอบ GAT1 มีนาคม 2555

ข้อสอบ ความถนัดทั่วไป (GAT1)

คะแนนเต็ม 150 คะแนน เวลาในการทำข้อสอบ 1 ชั่วโมง 30 นาที

บทความที่ 1 – อนาคตของประเทศ บทวิเคราะห์จากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑

ขณะนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 สำหรับช่วงปี พ.ศ. 2555-2559 ได้ประกาศออกมาแล้ว แผนฉบับนี้วิเคราะห์ว่าสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตจะมีอะไรบ้างเกิดขึ้น ซึ่งที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงระดับโลกและระดับประเทศที่มีผลกระทบต่อไทย การเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็ทำให้เกิดความเสี่ยงในการพัฒนาประเทศ เช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่ทำให้เกิดภัยพิบัติรุนแรง ซึ่งเราเองก็โดนเรื่องน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปีที่แล้ว บางอย่างก็ทำให้เกิดทั้งความเสี่ยงและโอกาสในการพัฒนาประเทศ

ในฐานะเยาวชนของชาติ นักเรียนจำเป็นต้องรู้ว่าอนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไร จึงขอนำสาระสำคัญบางส่วนที่วิเคราะห์ไว้ในแผนฉบับนี้มาถ่ายทอดให้ทราบ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงบางประการที่ทำให้เกิดทั้งโอกาสและความเสี่ยงในการพัฒนาประเทศ ได้แก่ การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลาง ปัญหาความมั่นคงทางอาหารและพลังงานของโลก และการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเรา เป็นต้น

การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลาง เช่น การรวมกลุ่มภายใต้กรอบการค้าเสรีของอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย ถ้าเราเตรียมการไว้พร้อม ผลของการเปลี่ยนแปลงนี้ก็จะเป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศ แต่หากเราไม่พร้อมก็ย่อมเป็นความเสี่ยงที่น่าวิตก

ปัญหาสำคัญระดับโลกประการต่อมาคือปัญหาความมั่นคงทางด้านอาหาร ความต้องการสินค้าอาหารจะสูงขึ้นจากการเพิ่มประชากรโลก แต่การผลิตจะลดลงด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ในฐานะที่ไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลกก็ควรมีผลเป็นโอกาส แต่หากเราประมาทโอกาสก็จะกลายเป็นความเสี่ยง เพราะต้องแข่งขันกับประเทศในอาเซียนด้วยกันเช่นเวียดนาม

สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจของไทย แนวโน้มอัตราการขยายตัวและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการท่องเที่ยว มีการเชื่อมโยงทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะด้านการค้าและการลงทุน ถ้าเราสามารถแก้ไขจุดอ่อนเช่น กฎหมายกติกา และระเบียบทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการจัดระบบการแข่งขันที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจก็จะเกิดเป็นโอกาส แต่ถ้าทำไม่ได้หรือทำล่าช้า ก็ย่อมเป็นความเสี่ยง

เพื่อให้เราสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องเสริมสร้างภูมิคุ้นกันประเทศ ได้แก่ ยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งยึดโยงคนในชาติให้เกาะเกี่ยวกันอย่างแน่นแฟ้น วิจัยและพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาประเทศและการพัฒนาศักยภาพของคนไทย ส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงามซึ่งยึดโยงคนไทยให้เป็นปึกแผ่นและลดความขัดแย้งในสังคมไทย ส่งเสริมภาคการเกษตรซึ่งเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นให้เป็นพลังหลักในการ
พัฒนาฐานรากของประเทศให้มั่นคง ภูมิคุ้มกันดังกล่าวจะช่วยทำให้เกิดโอกาสและลดความเสี่ยงในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

เลขกำกับ ข้อความที่กำหนด ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ
01 การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจของไทย
02 ความเสี่ยงในการพัฒนาประเทศ
03 ปัญหาความมั่นคงทางด้านอาหาร
04 พัฒนาความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
05 เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลาง
06 ส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม
07 ส่งเสริมภาคการเกษตร
08 สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต
09 สร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น
10 โอกาสในการพัฒนาประเทศ

บทความที่ 2 – แผนป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย

เมื่อกลางเดือนมกราคม พ.ศ.2555 เลขาธิการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อวางระบบและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ให้สัมภาษณ์ สื่อมวลชนเรื่องแผนระยะสั้นและระยะยาวเพื่อป้องกันและและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซึ่งที่ประชุม กยน. ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 6 มกราคม โดยอธิบายว่าเริ่มต้นด้วยการพิจารณาปัญหาที่ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปีที่แล้ว ที่สาคัญได้แก่ ปริมาณน้ำฝนมากขึ้นถึงร้อยละ 40 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาในการกำหนดปริมาณน้ำในเขื่อนที่จะกักเก็บไว้ใช้ในหน้าแล้ง ปัญหาต่อมาคือพื้นที่แถบต้นน้ำถูกบุกรุกทำลาย จนไม่มีป่าไม้เพียงพอที่จะดูดซับและชะลอน้ำ ปัญหาอีกอย่างหนึ่งซึ่งเห็นได้ชัดเมื่อปีที่แล้วคือ ไม่มีระบบฐานข้อมูลน้ำที่ชัดเจนและแม่นยำว่าจะมีน้ำมากน้อยเพียงใด จะไหลท่วมท้นไปที่ไหนบ้าง ปัญหาสุดท้ายคือแหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติถูกบุกรุก ซึ่งนอกจากจะทำให้พื้นที่รองรับน้ำลดลง ยังกีดขวางทางไหลของน้ำอีกด้วย เลขาธิการ กยน.กล่าวว่าปัญหาสำคัญทั้ง 4 อย่างนี่เองคือที่มาของแผนระยะสั้นและแผนระยะยาวซึ่งประกอบด้วยแผนงาน 8 แผน บางแผนจัดเป็นแผนระยะยาวอย่างเดียว บางแผนจัดเป็นทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว กล่าวคือ

  1. แผนงานฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าและระบบนิเวศน์ โดยเฉพาะป่าไม้ในพื้นที่ตอนบนซึ่งเป็นแหล่งต้นน้้ำสาคัญและช่วยชะลอน้ำฝนไม่ให้ไหลหลากลงมาอย่างรวดเร็ว แผนนี้เป็นแผนระยะยาว
  2. แผนบริหารจัดการเขื่อนเก็บน้ำและการจัดการน้ำของประเทศ ในระยะสั้นถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องนำข้อมูลน้ำปีที่แล้วมาใช้ในการพิจารณาปริมาณน้ำที่จะกักเก็บไว้ในเขื่อนให้เหมาะสม ส่วนระยะยาวต้องบริหารจัดการลุ่มน้ำและแหล่งน้ำทั้งหมดในประเทศ
  3. แผนฟื้นฟูและปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างเดิม คือปรับปรุงคันกั้นน้ำและประตูระบายน้ำที่ชำรุด ขุดลอกคูคลองและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำขวางทางน้ำ แผนนี้เป็นทั้งแผนระยะสั้นและยาว
  4. แผนพัฒนาคลังข้อมูลระบบพยากรณ์ และเตือนภัย เรื่องข้อมูลเป็นปัญหามากเมื่อปีกลาย ระยะสั้นต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วนให้ทันปีนี้ ส่วนระยะยาวต้องปรับปรุงให้เป็นระบบและทันสมัย
  5. แผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่สำคัญ เช่นเขตเศรษฐกิจในตัวเมือง เขตนิคมอุตสาหกรรม และเขตโบราณสถานของชาติ แผนนี้จัดเป็นแผนระยะสั้นและระยะยาวเช่นกัน
  6. แผนกำหนดพื้นที่รองรับน้ำนอง เป็นแผนทั้งสองระยะ ปีนี้ตั้งเป้าว่าต้องเร่งหาพื้นที่รองรับน้ำให้ได้ถึงสองล้านไร่ ระยะยาวต้องพัฒนาแก้มลิงเพิ่มเติม รวมทั้งสร้าง flood way ให้ได้
  7. แผนปรับปรุงองค์กรบริหารจัดการน้ำ ระยะสั้นต้องรวมศูนย์การบริหารและตัดสินใจสั่งการเรื่องน้ำ ส่วนระยะราวต้องปรับปรุงองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดซึ่งขณะนี้มีหลากหลายองค์กรมาก
  8. แผนงานสร้างความเข้าใจ ยอมรับและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม เข้าใจ และยอมรับแผนต่างๆ จะได้ลดความขัดแย้งซึ่งเกิดขึ้นมากเมื่อปีกลาย

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเองก็บอกว่าถึงจะมีหลายแผนที่เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว แต่ก็ไม่อาจรับประกันได้ว่าจะไม่มีปัญหาน้ำท่วม แต่ถึงมีก็จะไม่รุนแรงเหมือนปีที่แล้ว ดังนั้นเราจะต้องไม่ประมาท ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด จะได้วางแผนเตรียมการรับมือได้ทันท่วงที

เลขกำกับ ข้อความที่กำหนด ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ
11 น้ำฝนมากขึ้นถึงร้อยละ 40
12 ปัญหาที่ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่
13 แผนกาหนดพื้นที่รองรับน้ำนอง
14 แผนงานฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าและระบบนิเวศน์
15 แผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่
16 แผนฟื้นฟูและปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างเดิม
17 แผนระยะยาว
18 แผนระยะสั้น
19 พื้นที่แถบต้นน้ำถูกบุกรุกทำลาย
20 แหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติถูกบุกรุก

เฉลย

บทความที่ 1 – อนาคตของประเทศ บทวิเคราะห์จากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑

เลขกำกับ ข้อความที่กำหนด ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ
01 การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจของไทย 02A 10A
02 ความเสี่ยงในการพัฒนาประเทศ 99H
03 ปัญหาความมั่นคงทางด้านอาหาร 02A 10A
04 พัฒนาความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย 02F 10A
05 เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลาง 02A 10A
06 ส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม 02F 10A
07 ส่งเสริมภาคการเกษตร 02F 10A
08 สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต 01D 03D 05D
09 สร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น 02F 10A
10 โอกาสในการพัฒนาประเทศ 99H

บทความที่ 2 – แผนป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย

เลขกำกับ ข้อความที่กำหนด ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ
11 น้ำฝนมากขึ้นถึงร้อยละ 40 17A 18A
12 ปัญหาที่ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ 11D 19D 20D
13 แผนกาหนดพื้นที่รองรับน้ำนอง 99H
14 แผนงานฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าและระบบนิเวศน์ 99H
15 แผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่ 99H
16 แผนฟื้นฟูและปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างเดิม 99H
17 แผนระยะยาว 13D 14D 15D 16D
18 แผนระยะสั้น 13D 15D 16D
19 พื้นที่แถบต้นน้ำถูกบุกรุกทำลาย 17A 18A
20 แหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติถูกบุกรุก 17A 18A

Leave a Reply

Thumbnails managed by ThumbPress