การจัดรูปกำลังสองสมบูรณ์

\((หน้า + หลัง)^2 = (หน้า)^2 + 2(หน้า)(หลัง) + (หลัง)^2 \)
“หน้ากำลังสอง บวกสองหน้าหลัง บวกหลังกำลังสอง”

\((หน้า – หลัง)^2 = (หน้า)^2 – 2(หน้า)(หลัง) + (หลัง)^2\)
“หน้ากำลังสอง ลบสองหน้าหลัง บวกหลังกำลังสอง”

ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนพหุนาม \(x^2 + 4x + 5\) ให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์
วิธีทำ

  1. จัดตัวหน้าให้อยู่ในรูปกำลังสอง
    \(\Rightarrow x^2\) อยู่ในรูปกำลังสองอยู่แล้ว แสดงว่าตัวหน้าของเราคือ \(x\)
  2. จัดรูป “บวกสองหน้าหลัง” เพื่อหาว่าหลังคืออะไร
    \(\Rightarrow\) ตัวหน้าของเราคือ \(x\) ดังนั้น สองหน้าหลังก็จะเป็น \(4x = 2x(2)\) แสดงว่าหลังคือ \(2\)
  3. จัดรูป “บวกหลังกำลังสอง”
    \(\Rightarrow\) หลังของเราคือ \(2\) เราจึงใส่ \(2^2\) เพิ่มเข้าไปเพื่อให้เป็นกำลังสองสมบูรณ์ แล้วต้องลบออกด้วย เพื่อให้ค่าเท่าเดิม
    \(\begin{align*}x^2 + 4x + 5 &= [x^2 + 2x(2) \bbox[yellow]{+ 2^2 – 2^2}] + 5 \\
    &= [x^2 + 2x(2) + 2^2] – 2^2 + 5 \\
    &= [x^2 + 2x(2) + 2^2] – 4 + 5\end{align*}\)
  4. จัดรูปเป็นกำลังสองสมบูรณ์ \((หน้า + หลัง)^2\)
    \( x^2 + 4x + 5 = [x + 2]^2 + 1\)
ตัวอย่างที่ 2 จงเขียนพหุนาม \(4x^2 + 4x – 7\) ให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์
วิธีทำ ถ้าสัมประสิทธิ์หน้า \(x^2\) ไม่ใช่ 1 ให้ดึงสัมประสิทธิ์หน้า \(x^2\) ออกก่อนโดยไม่เกี่ยวกับเลขตัวสุดท้าย

  1. จัดสัมประสิทธิ์หน้า \(x^2\)
    \(4x^2 + 4x – 7 = 4(x^2 + x) – 7 \)
  2. จัดตัวหน้าให้อยู่ในรูปกำลังสอง
    \(\Rightarrow x^2\) อยู่ในรูปกำลังสองอยู่แล้ว แสดงว่าตัวหน้าของเราคือ \(x\)
  3. จัดรูป “บวกสองหน้าหลัง” เพื่อหาว่าหลังคืออะไร
    \(\Rightarrow\) ตัวหน้าของเราคือ \(x\) ดังนั้น สองหน้าหลังก็จะเป็น \(x = 2(x)(\frac{1}{2})\) แสดงว่าหลังคือ \(\frac{1}{2}\)
  4. จัดรูป “บวกหลังกำลังสอง”
    \(\Rightarrow\) หลังของเราคือ \(\frac{1}{2}\) เราจึงใส่ \((\frac{1}{2})^2\) เพิ่มเข้าไปเพื่อให้เป็นกำลังสองสมบูรณ์ แล้วต้องลบออกด้วย เพื่อให้ค่าเท่าเดิม
    \(\begin{align*}4(x^2 + x) – 7 &= 4[x^2 + 2(x)(\frac{1}{2}) \bbox[yellow]{+ (\frac{1}{2})^2 – (\frac{1}{2})^2}] – 7 \\
    &= 4[x^2 + 2(x)(\frac{1}{2}) + (\frac{1}{2})^2] – 4(\frac{1}{4}) – 7 \\
    &= 4[x^2 + 2(x)(\frac{1}{2}) + (\frac{1}{2})^2] – 8\end{align*}\)
  5. จัดรูปเป็นกำลังสองสมบูรณ์ \((หน้า + หลัง)^2\)
    \(4x^2 + 4x – 7 = 4(x + \frac{1}{2})^2 – 8\)
ตัวอย่างที่ 3 จงเขียนพหุนาม \(5 + 8x – x^2\) ให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์
วิธีทำ ถ้าสัมประสิทธิ์ของ \(x^2\) มีค่าเป็นลบ ให้ดึงเครื่องหมายลบออกมาก่อนโดยไม่เกี่ยวกับเลขตัวสุดท้าย

  1. ดึงเครื่องหมายลบออกมา
    \(5 + 8x – x^2 = -(x^2 – 8x) + 5\)
  2. จัดตัวหน้าให้อยู่ในรูปกำลังสอง
    \(\Rightarrow x^2\) อยู่ในรูปกำลังสองอยู่แล้ว แสดงว่าตัวหน้าของเราคือ \(x\)
  3. จัดรูป “ลบสองหน้าหลัง” เพื่อหาว่าหลังคืออะไร
    \(\Rightarrow\) ตัวหน้าของเราคือ \(x\) ดังนั้น สองหน้าหลังก็จะเป็น \(-8x = -2(x)(4)\) แสดงว่าหลังคือ \(4\)
  4. จัดรูป “บวกหลังกำลังสอง”
    \(\Rightarrow\) หลังของเราคือ \(4\) เราจึงใส่ \(4^2\) เพิ่มเข้าไปเพื่อให้เป็นกำลังสองสมบูรณ์ แล้วต้องลบออกด้วย เพื่อให้ค่าเท่าเดิม
    \(\begin{align*}-(x^2 – 8x) + 5 &= -[x^2 – 2(x)(4) \bbox[yellow]{+ 4^2 – 4^2}] + 5 \\
    &= -[(x^2 – 2(x)(4) + 4^2)] -(-16) + 5 \\
    &= -[x^2 – 2(x)(4) + 4^2] + 16 + 5\end{align*}\)
  5. จัดรูปเป็นกำลังสองสมบูรณ์ \((หน้า – หลัง)^2\)
    \(\begin{align*}5 + 8x – x^2 &= -[(x-4)^2] + 21 \\
    &= 21 – (x – 4)^2\end{align*}\)
ตัวอย่างที่ 4 จงเขียนพหุนาม \(1 – 2x – 2x^2\) ให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์
วิธีทำ ถ้าสัมประสิทธิ์ของ \(x^2\) มีค่าเป็นลบ ให้ดึงเครื่องหมายลบออกมาก่อน และถ้าสัมประสิทธิ์หน้า \(x^2\) ไม่ใช่ 1 ให้ดึงสัมประสิทธิ์หน้า \(x^2\) ออกโดยไม่เกี่ยวกับเลขตัวสุดท้าย

  1. ดึงเครื่องหมายลบออกมา และจัดสัมประสิทธิ์หน้า \(x^2\)
    \(\begin{align*}1 – 2x – 2x^2 &= -(2x^2 + 2x) + 1 \\
    &= -2(x^2 + x) + 1 \end{align*}\)
  2. จัดตัวหน้าให้อยู่ในรูปกำลังสอง
    \(\Rightarrow x^2\) อยู่ในรูปกำลังสองอยู่แล้ว แสดงว่าตัวหน้าของเราคือ \(x\)
  3. จัดรูป “บวกสองหน้าหลัง” เพื่อหาว่าหลังคืออะไร
    \(\Rightarrow\) ตัวหน้าของเราคือ \(x\) ดังนั้น สองหน้าหลังก็จะเป็น \(x = 2(x)(\frac{1}{2})\) แสดงว่าหลังคือ \(\frac{1}{2}\)
  4. จัดรูป “บวกหลังกำลังสอง”
    \(\Rightarrow\) หลังของเราคือ \(\frac{1}{2}\) เราจึงใส่ \((\frac{1}{2})^2\) เพิ่มเข้าไปเพื่อให้เป็นกำลังสองสมบูรณ์ แล้วต้องลบออกด้วย เพื่อให้ค่าเท่าเดิม
    \(\begin{align*}-2(x^2 + x) + 1 &= -2[x^2 + 2(x)(\frac{1}{2}) \bbox[yellow]{+ (\frac{1}{2})^2 – (\frac{1}{2})^2}] + 1 \\
    &= -2[(x^2 + 2(x)(\frac{1}{2}) + (\frac{1}{2})^2)] – 2(-\frac{1}{4}) + 1 \\
    &= -2[(x^2 + 2(x)(\frac{1}{2}) + (\frac{1}{2})^2)] + (\frac{3}{2})\end{align*}\)
  5. จัดรูปเป็นกำลังสองสมบูรณ์ \((หน้า – หลัง)^2\)
    \(\begin{align*}1 – 2x – 2x^2 &= -2[x + (\frac{1}{2})]^2 + (\frac{3}{2}) \\
    &= (\frac{3}{2}) – 2[x + (\frac{1}{2})]^2\end{align*}\)
ตัวอย่างที่ 5 จงเขียนพหุนาม \(7 + 5x – 3x^2\) ให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์
วิธีทำ ถ้าสัมประสิทธิ์ของ \(x^2\) มีค่าเป็นลบ ให้ดึงเครื่องหมายลบออกมาก่อน และถ้าสัมประสิทธิ์หน้า \(x^2\) ไม่ใช่ 1 ให้ดึงสัมประสิทธิ์หน้า \(x^2\) ออกโดยไม่เกี่ยวกับเลขตัวสุดท้าย

  1. ดึงเครื่องหมายลบออกมา และจัดสัมประสิทธิ์หน้า \(x^2\)
    \(\begin{align*}7 + 5x – 3x^2 &= -(3x^2 – 5x) + 7 \\
    &= -3(x^2 – \frac{5}{3}x) + 7 \end{align*}\)
  2. จัดตัวหน้าให้อยู่ในรูปกำลังสอง
    \(\Rightarrow x^2\) อยู่ในรูปกำลังสองอยู่แล้ว แสดงว่าตัวหน้าของเราคือ \(x\)
  3. จัดรูป “ลบสองหน้าหลัง” เพื่อหาว่าหลังคืออะไร
    \(\Rightarrow\) ตัวหน้าของเราคือ \(x\) ดังนั้น สองหน้าหลังก็จะเป็น \(-\frac{5}{3}x = -2(x)(\frac{5}{6})\) แสดงว่าหลังคือ \(\frac{5}{6}\)
  4. จัดรูป “บวกหลังกำลังสอง”
    \(\Rightarrow\) หลังของเราคือ \(\frac{5}{6}\) เราจึงใส่ \((\frac{5}{6})^2\) เพิ่มเข้าไปเพื่อให้เป็นกำลังสองสมบูรณ์ แล้วต้องลบออกด้วย เพื่อให้ค่าเท่าเดิม
    \(\begin{align*}-3(x^2 – \frac{5}{3}x) + 7 &= -3[x^2 – 2(x)(\frac{5}{6}) \bbox[yellow]{+(\frac{5}{6})^2 – (\frac{5}{6})^2}] + 7 \\
    &= -3[x^2 – 2(x)(\frac{5}{6}) +(\frac{5}{6})^2] -(-3)(\frac{25}{36}) + 7 \\
    &= -3[x^2 – 2(x)(\frac{5}{6}) +(\frac{5}{6})^2] + (\frac{75}{36}) + \frac{252}{36}\end{align*}\)
  5. จัดรูปเป็นกำลังสองสมบูรณ์ \((หน้า – หลัง)^2\)
    \(\begin{align*}7 + 5x – 3x^2 &= -3(x – \frac{5}{6})^2 + \frac{109}{12} \\
    &= \frac{109}{12} – 3(x – \frac{5}{6})^2 \end{align*}\)

วิธีที่ 2

  1. จัดรูปให้สัมประสิทธิ์ของ \(x^2\) เป็นบวก และเป็น \(1\)
  2. นำ \(2\) หารสัมประสิทธิ์ของ \(x\) แล้วยกกำลังสอง และบวกเข้า-ลบออก
  3. ทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์
ตัวอย่างที่ 6 จงเขียนพหุนาม \(x^2 – 10x + 24\) ให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์
วิธีทำ

  1. ไม่ต้องจัดรูปใดๆ เพราะสัมประสิทธิ์ของ \(x^2\) เป็นบวก และเป็น \(1\) แล้ว
  2. นำ \(2\) หารสัมประสิทธิ์ของ \(x\) แล้วยกกำลังสอง และบวกเข้า-ลบออก
    \(\begin{align*}x^2 – 10x + 24 &= [x^2 – 2(x)(5) \bbox[yellow]{+ 5^2 – 5^2}] + 24 \\
    &= [x^2 – 2(x)(5) + 5^2] – 25 + 24 \\
    &= [x^2 – 2(x)(5) + 5^2] – 1 \end{align*}\)
  3. ทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์
    \(x^2 – 10x + 24 = (x-5)^2 – 1 \)
ตัวอย่างที่ 7 จงเขียนพหุนาม \(4x^2 + 12x + 8\) ให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์
วิธีทำ

  1. เราต้องทำสัมประสิทธิ์ของ \(x^2\) ให้เป็น \(1\) ก่อน
    \(4x^2 + 12x + 8 = 4(x^2 + 3x) + 8 \)
  2. นำ \(2\) หารสัมประสิทธิ์ของ \(x\) แล้วยกกำลังสอง และบวกเข้า-ลบออก
    \(\begin{align*}4(x^2 + 3x) + 8 &= 4[x^2 + 2(x)(\frac{3}{2}) \bbox[yellow]{+ (\frac{3}{2})^2 – (\frac{3}{2})^2}] + 8 \\
    &= 4[x^2 + 2(x)(\frac{3}{2}) + (\frac{3}{2})^2] – 4(\frac{9}{4}) + 8 \\
    &= 4[x^2 + 2(x)(\frac{3}{2}) + (\frac{3}{2})^2] – 1
    \end{align*}\)
  3. ทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์
    \(4x^2 + 12x + 8 = 4(x + \frac{3}{2})^2 – 1 \)
ตัวอย่างที่ 8 จงเขียนพหุนาม \(8 – 2x – x^2\) ให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์
วิธีทำ

  1. เราต้องทำสัมประสิทธิ์ของ \(x^2\) ให้เป็นบวก และเป็น \(1\) ก่อน
    \(8 – 2x – x^2 = -(x^2 + 2x) + 8 \)
  2. นำ \(2\) หารสัมประสิทธิ์ของ \(x\) แล้วยกกำลังสอง และบวกเข้า-ลบออก
    \(\begin{align*}-(x^2 + 2x) + 8 &= -[x^2 + 2(x)(1) \bbox[yellow]{+ (1)^2 – (1)^2}] + 8 \\
    &= -[x^2 + 2(x)(1) + (1)^2] + 1 + 8 \\
    &= -[x^2 + 2(x)(1) + (1)^2] + 9
    \end{align*}\)
  3. ทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์
    \(\begin{align*}8 – 2x – x^2 &= – (x + 1)^2 + 9 \\
    &= 9 – (x + 1)^2 \end{align*}\)
ตัวอย่างที่ 9 จงเขียนพหุนาม \(11 – 20x – 4x^2\) ให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์
วิธีทำ

  1. เราต้องทำสัมประสิทธิ์ของ \(x^2\) ให้เป็นบวก และเป็น \(1\) ก่อน
    \(\begin{align*}11 – 20x – 4x^2 &= -(4x^2 + 20x) + 11 \\
    &=-4(x^2 + 5x) + 11 \end{align*}\)
  2. นำ \(2\) หารสัมประสิทธิ์ของ \(x\) แล้วยกกำลังสอง และบวกเข้า-ลบออก
    \(\begin{align*} -4(x^2 + 5x) + 11 &= -4[x^2 + 2(x)(\frac{5}{2}) \bbox[yellow]{+ (\frac{5}{2})^2 – (\frac{5}{2})^2}] + 11 \\
    &= -4[x^2 + 2(x)(\frac{5}{2}) + (\frac{5}{2})^2] – (-4)(\frac{25}{4}) + 11 \\
    &= -4[x^2 + 2(x)(\frac{5}{2}) + (\frac{5}{2})^2] + 25 + 11 \\
    &= 36 – 4[x^2 + 2(x)(\frac{5}{2}) + (\frac{5}{2})^2] \end{align*}\)
  3. ทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์
    \(\begin{align*} 11 – 20x – 4x^2 &= 36 – 4(x + \frac{5}{2})^2 \end{align*}\)
ตัวอย่างที่ 10 จงเขียนพหุนาม \(77 – 12x – 9x^2\) ให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์
วิธีทำ

  1. เราต้องทำสัมประสิทธิ์ของ \(x^2\) ให้เป็นบวก และเป็น \(1\) ก่อน
    \(\begin{align*} 77 – 12x – 9x^2 &= -(9x^2 + 12x) + 77 \\
    &=-9(x^2 + \frac{12}{9}x) + 77 \\
    &=-9(x^2 + \frac{4}{3}x) + 77 \end{align*}\)
  2. นำ \(2\) หารสัมประสิทธิ์ของ \(x\) แล้วยกกำลังสอง และบวกเข้า-ลบออก
    \(\begin{align*} -9(x^2 + \frac{4}{3}x) + 77 &= -9[x^2 + 2(x)(\frac{4}{6}) \bbox[yellow]{+ (\frac{4}{6})^2 – (\frac{4}{6})^2}] + 77 \\
    &= -9[x^2 + 2(x)(\frac{2}{3}) + (\frac{2}{3})^2] -(-9)(\frac{4}{9}) + 77 \\
    &= -9[x^2 + 2(x)(\frac{2}{3}) + (\frac{2}{3})^2] + 81 \\
    &= 81 – 9[x^2 + 2(x)(\frac{2}{3}) + (\frac{2}{3})^2] \end{align*}\)
  3. ทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์
    \(\begin{align*} 77 – 12x – 9x^2 &= 81 – 9(x + \frac{2}{3})^2 \end{align*}\)

แบบฝึกหัด จงเขียนพหุนามต่อไปนี้ให้มีพจน์ของกำลังสองสมบูรณ์

  1. \( x^2 + 2x\)
  2. \( x^2 – 8x + 25\)
  3. \( 45 + 4x – x^2\)
  4. \( 9x^2 – 6x – 8\)
  5. \( 16x^2 – 40x + 61\)
  6. \( 5 – 2x + x^2\)
  7. \( 19 – 36x – 4x^2\)
  8. \( 33 + 24x – 9x^2\)
  9. \( 24 + 14x – 49x^2\)
  10. \( 74 + 10x + x^2\)
ดูเฉลยคำตอบ
  1. \( x^2 + 2x = (x + 1)^2 – 1\)
  2. \( x^2 – 8x + 25 = (x – 4)^2 + 9\)
  3. \( 45 + 4x – x^2 = 49 – (x – 2)^2\)
  4. \( 9x^2 – 6x – 8 = 9(x – \frac{1}{3})^2 – 9\)
  5. \( 16x^2 – 40x + 61 = 16(x – \frac{5}{4})^2 + 36\)
  6. \( 5 – 2x + x^2 = (x – 1)^2 + 4\)
  7. \( 19 – 36x – 4x^2 = 100 – 4(x + \frac{9}{2})^2\)
  8. \( 33 + 24x – 9x^2 = 49 – 9(x – \frac{12}{9})^2\)
  9. \( 24 + 14x – 49x^2 = 25 – 49(x – \frac{1}{7})^2\)
  10. \( 74 + 10x + x^2 = (x + 5)^2 + 49\)

Leave a Reply

Thumbnails managed by ThumbPress