การแยกตัวประกอบพหุนามที่ควรรู้จัก 4 แบบ
- การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
- การแยกตัวประกอบของผลต่างกําลังสอง
- การแยกตัวประกอบของผลต่างกําลังสาม
- การแยกตัวประกอบของผลบวกกําลังสาม
1. การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่เขียนได้ในรูป \(ax^2 + bx + c\) เมื่อ \(a, b, c\) เป็นค่าคงตัว ที่ \(a \neq 0\) และ \(x\) เป็นตัวแปร โดยในที่นี้ จะขอเรียก \(ax^2\) ว่า พจน์หน้า, เรียก \(bx\) ว่า พจน์กลาง, และเรียก \(c\) ว่า พจน์หลัง
เราต้องการแยกตัวประกอบออกมาในรูป
\(\begin{align*} ax^2 + bx + c = (\Box x \pm \Box)(\Box x \pm \Box)
\end{align*}\)
- แยกพจน์หน้าเป็นสองพจน์
\(\Rightarrow(5x \ldots)(x \ldots)\) - แยกพจน์หลังออกเป็นสองจำนวนคูณกัน คือ \((-2)(-1)\) หรือ \((2)(1)\) นำไปใส่ในขั้นตอนที่ \(1\) สามารถใส่ได้ \(2\) แบบ คือ
\(\begin{align*} &\Rightarrow(5x – 2)(x – 1) \\
&\Rightarrow(5x – 1)(x – 2)
\end{align*}\) - หาพจน์กลางจากขั้นตอนที่ 2 โดยนำ \((ใกล้ \times ใกล้) + (ไกล \times ไกล)\) ถ้าได้ผลลัพธ์เป็น \(-11x\) แสดงว่าการแยกตัวประกอบนั้นถูกต้อง
\(\begin{align*} &\Rightarrow (-2x) + (-5x) = -7x \\
&\Rightarrow (-x) + (-10x) = -11x
\end{align*}\)
ดังนั้น \(5x^2 – 11x + 2 = (5x – 1)(x – 2)\)
แบบฝึกหัดที่ 1 จงแยกตัวประกอบพหุนามต่อไปนี้
- \( 12x^2 – 31x + 9\)
- \( 3x^2 – 4x – 4\)
- \( 8x^2 – 26x + 15\)
- \( 4x^2 + x – 3\)
- \( 6x^2 – 10x – 4\)
- \( 12x^2 – 56x + 9\)
ถ้าสัมประสิทธิ์ของ \(x^2\) เป็นลบ ให้ดึงลบออกมาก่อน แล้วแยกตัวประกอบด้วยวิธีข้างต้น
- ทำสัมประสิทธิ์ของ \(x^2\) ให้เป็นบวก
\(\Rightarrow 8 + 10x – 3x^2 = -(3x^2 – 10x – 8)\) - แยกพจน์หน้าเป็นสองพจน์
\(\Rightarrow(3x \ldots)(x \ldots)\) - แยกพจน์หลังออกเป็นสองจำนวนคูณกัน คือ \((-4)(2)\) หรือ \((4)(-2)\) นำไปใส่ในขั้นตอนที่ \(2\) สามารถใส่ได้ \(4\) แบบ คือ
\(\begin{align*} &\Rightarrow(3x – 4)(x + 2) \\
&\Rightarrow(3x + 4)(x – 2) \\
&\Rightarrow(3x – 2)(x + 4) \\
&\Rightarrow(3x + 2)(x – 4)
\end{align*}\) - หาพจน์กลางจากขั้นตอนที่ 2 โดยนำ \((ใกล้ \times ใกล้) + (ไกล \times ไกล)\) ถ้าได้ผลลัพธ์เป็น \(-10x\) แสดงว่าการแยกตัวประกอบนั้นถูกต้อง
\(\begin{align*} &\Rightarrow (-4x) + (6x) = 2x \\
&\Rightarrow (4x) + (-6x) = -2x \\
&\Rightarrow (-2x) + (12x) = 10x \\
&\Rightarrow (2x) + (-12x) = -10x
\end{align*}\)
ดังนั้น \(8 + 10x – 3x^2 = -(3x + 2)(x – 4) \)
แบบฝึกหัดที่ 2 จงแยกตัวประกอบพหุนามต่อไปนี้
- \( 6 + x – x^2\)
- \( 4 + 3x – x^2\)
- \( 4 – 11x – 3x^2\)
- \( 5 + 8x – 4x^2\)
- \( 12 – 16x – 3x^2\)
2. การแยกตัวประกอบของผลต่างกําลังสอง
ผลต่างกำลังสอง
\(หน้า^2 – หลัง^2 = (หน้า – หลัง)(หน้า + หลัง) \)
- \(\begin{aligned}[t]x^2 – 25 &= (x)^2 – (5)^2 \\
&= (x – 5)(x + 5) \end{aligned}\) - \(\begin{aligned}[t]49x^2 – 36 &= (7x)^2 – (6)^2 \\
&= (7x + 6)(7x – 6) \end{aligned}\) - \(\begin{aligned}[t]121 – 4x^2 &= (11)^2 – (2x)^2 \\
&= (11 – 2x)(11 + 2x) \end{aligned}\) - \(\begin{aligned}[t](3x – 2)^2 – (x – 5)^2 &= [(3x – 2) – (x + 5)][(3x – 2) + (x + 5)] \\
&= (4x + 3)(2x – 7) \end{aligned}\)
3. การแยกตัวประกอบของผลต่างกําลังสาม
ผลต่างกำลังสาม
\(หน้า^3 – หลัง^3 = (หน้า – หลัง)(หน้า^2 + หน้า \cdot หลัง + หลัง^2) \)
- \(\begin{aligned}[t] x^3 – 8 &= (x)^3 – (2)^3 \\
&= (x – 2)(x^2 + 2x + 2^2) \\
&= (x – 2)(x^2 + 2x + 4) \end{aligned}\) - \(\begin{aligned}[t] 3x^3 – \frac{3}{8} &= 3(x^3 – \frac{1}{8}) \\
&= 3[x^3 – (\frac{1}{2})^3] \\
&= 3(x – \frac{1}{2})(x^2 + \frac{1}{2}x + \frac{1}{4}) \end{aligned}\) - \(\begin{aligned}[t] 27 – 8x^3 &= (3)^3 – (2x)^3 \\
&= (3 – 2x)[(3)^2 + (3)(2x) + (2x)^2] \\
&= (3 – 2x)[4x^2 + 6x + 9] \end{aligned}\) - \(\begin{aligned}[t] (x + 2)^3 – 1 &= (x + 2)^3 – (1)^3 \\
&= [(x + 2) – 1][(x + 2)^2 + (x + 2)(1) + 1^2] \\
&= (x + 1)[(x^2 + 4x + 4) + x + 2 + 1] \\
&= (x + 1)(x^2 + 5x + 7) \end{aligned}\)
4. การแยกตัวประกอบของผลบวกกําลังสาม
ผลบวกกำลังสาม
\(หน้า^3 + หลัง^3 = (หน้า + หลัง)(หน้า^2 – หน้า \cdot หลัง + หลัง^2) \)
- \(\begin{aligned}[t] x^3 + 64 &= (x)^3 + (4)^3 \\
&= (x + 4)(x^2 – 4x + 4^2) \\
&= (x + 4)(x^2 – 4x + 16) \end{aligned}\) - \(\begin{aligned}[t] 27x^3 + 125 &= (3x)^3 + (5)^3 \\
&= (3x + 5)[(3x)^2 – (3x)(5) + 5^2] \\
&= (3x + 5)[9x^2 – 15x + 25] \end{aligned}\) - \(\begin{aligned}[t] (x – 1)^3 + 8 &= (x – 1)^3 + (2)^3 \\
&= [(x – 1) + 2][(x – 1)^2 – (x – 1)(2) + 2^2] \\
&= (x + 1)[x^2 – 2x + 1) – (2x – 2) + 4] \\
&= (x + 1)(x^2 – 4x + 7) \end{aligned}\) - \(\begin{aligned}[t] (2x – 3)^3 + (x + 5)^3 &= [(2x – 3)(x + 5)][(2x – 3)^2 – (2x – 3)(x + 5) + (x + 5)^2] \\
&= (3x + 2)[(4x^2 – 12x + 9) – (2x^2 + 7x – 15) + (x^2 + 10x + 25)] \\
&= (3x + 2)(3x^2 – 9x + 49) \end{aligned}\)
แบบฝึกหัดที่ 3 จงแยกตัวประกอบพหุนามต่อไปนี้
- \( 9x^2 – 25y^4\)
- \( x^2 + xy – 2y^2\)
- \( 2x^2 – 5xy + 2y^2\)
- \( x^3 – 8y^3\)
- \( x^4 – 16\)
- \( x^6 – 1\)
- \( x^6 – 64\)
- \( x^2 – 5x – 6\)
- \( x^2 – 81\)
- \( (x + 1)^3 + 64\)
- \( x^2 + 3xy – 4y^2\)
- \( (x +1)^4 – 16\)
- \( 64x^6 – 1\)
- \( 6x^2 + 5xy – 6y^2\)
- \( x^4 – 13x^2 + 36\)
- \( 343 – (3x – 7)^3\)