Home » High school » แนวข้อสอบฟิสิกส์บทที่ 1 และบทที่ 2
แนวข้อสอบฟิสิกส์บทที่ 1 และบทที่ 2
- หน่วย SI ในข้อใดเป็นหน่วยมูลฐานทั้งหมด (โควตา มช)
- แอมแปร์ เคลวิล แคนเดลา โมล
- เมตร องศาเซลเซียส เรเดียน คูลอมบ์
- กิโลกรัม โอห์ม ลูเมน พาสคาล
- วินาที โวลต์ เวเบอร์ ลักซ์
- ข้อใดไม่ใช่หน่วยฐานของระบบหน่วยระหว่างชาติ (SI) ทั้งหมด (มช’ 42)
- วินาที โวลต์ แอมแปร์
- แคนเดลา ลูเมน เฮนรี่
- นิวตัน คูลอมป์ จูล
- โอห์ม โมล ซีเมนต์
- ปริมาณใดไม่ใช่ปริมาณมูลฐาน
- มวล
- ความยาว
- เวลา
- ประจุไฟฟ้า
- คำใดไม่ใช่คำอุปสรรค
- แคนเดลา
- มิลลิ
- ไมโคร
- เดคะ
- ข้อใดต่อไปนี้เป็นหน่วยอนุพัทธ์ในระบบ SI
- แอมแปร์
- จูล
- โมล
- แคนเดลา
- หน่วยในข้อใดเป็นหน่วยเสริม
- เรเดียน
- เมตร/วินาที
- เฮิรตซ์
- เคลวิน
- ในระบบเอสไอ เวลามีหน่วยเป็น
- วินาที
- นาที
- ชั่วโมง
- ถูกทุกข้อ
- ข้อใดต่อไปนี้เป็นความแตกต่างของปริมาณเวกเตอร์ และสเกลาร์
- ปริมาณเวกเตอร์มีทิศทาง แต่สเกลาร์ไม่มี
- ปริมาณสเกลาร์มีทิศทาง แต่เวกเตอร์ไม่มี
- ปริมาณเวกเตอร์มีขนาด แต่สเกลาร์ไม่มี
- ปริมาณสเกลาร์มีทิศขนาด แต่เวกเตอร์ไม่มี
- มวล 500 เมกะกรัม มีค่าเป็นกี่ไมโครกรัม
- \(5 \times 10^2\)
- \(5 \times 10^6\)
- \(5 \times 10^{12}\)
- \(5 \times 10^{14}\)
- ปริมาณในข้อใดที่ได้จากการวัดโดยใช้ไม้บรรทัดที่มีความละเอียดถึง 0.1 เซนติเมตร
- 9 เซนติเมตร
- 9.0 เซนติเมตร
- 9.00 เซนติเมตร
- 9.000 เซนติเมตร
- ปริมาณ \(4 \times 10^{-7}\) เมตร เมื่อใช้คำอุปสรรคที่เหมาะสม ควรเปลี่ยนเป็น
- 40 มิลลิเมตร
- 4 พิโกเมตร
- 0.4 ไมโครเมตร
- 0.4 นาโนเมตร
- พื้นที่ 1.5 ตารางมิลลิเมตร คิดเป็นเท่าไรในหน่วยตารางเมตร
- \(1.5 \times 10^6\)
- \(1.5 \times 10^3\)
- \(1.5 \times 10^{-3}\)
- \(1.5 \times 10^{-6}\)
- น้ำมีความหนาแน่น 1 กรัม/ลบ.ซม. จะมีค่าเท่าใดในหน่วย กิโลกรัม/ลบ.เมตร
- \(10^{-6}\)
- \(10^{-3}\)
- \(10^3\)
- \(10^6\)
- จงพิจารณาโจทย์ต่อไปนี้
ก. 1.2 + 62.543 + 10.12
ข. 123.45 x 2.0
จากโจทย์ที่ปรากฏข้างบนนี้ มีข้อความใดบ้างที่ถูกต้อง
- ผลลัพธ์ของข้อ ก. มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว และผลลัพธ์ของข้อ ข. มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
- ผลลัพธ์ของข้อ ก. มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว และผลลัพธ์ของข้อ ข. มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- ทั้งผลลัพธ์ของข้อ ก. และข้อ ข. มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- คำตอบเป็นอย่างอื่น
- อัตราเร็ว 25 เมตร/วินาที มีค่าเท่าใดในหน่วย กิโลเมตร/ชั่วโมง
- \(10\)
- \(20\)
- \(30\)
- \(90\)
- จงบอกจำนวนเลขนัยสำคัญของปริมาณต่อไปนี้ 105 , 0.0020 , 3500
- 3, 2 และ 4 ตัว
- 3, 4 และ 4 ตัว
- บอกไม่ได้, 1 และ 4ตัว
- 2, 1 และ 3 ตัว
- ปริมาณในข้อใดมีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว ทั้งหมด
- \(0.15, 3 \times 10^{3}, 151\)
- \(1.00, 0.03, 0.12 \times 10^{-3}\)
- \(100.0, 100, 3.06 \times 10^9\)
- \(0.120, 4.32 \times 10^{-21} , 168\)
- นักเรียนคนหนึ่งใช้เครื่องวัดที่มีค่าความละเอียด 0.01 เซนติเมตร วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหรียญบาทได้ 2.59 เซนติเมตร เมื่อพิจารณาเลขนัยสำคัญ เขาควรจะบันทึกค่าพื้นที่หน้าตัดดังนี้
- 5.27065 ตารางเซนติเมตร
- 5.2707 ตารางเซนติเมตร
- 5.271 ตารางเซนติเมตร
- 5.27 ตารางเซนติเมตร
- ในการทดลองเพื่อคำนวณหาค่า X จากสมการ X = A + BC จำเป็นต้องทำการวัดปริมาณ A, B และ C ด้วยเครื่องวัด ถ้าสมมุติว่าวัดปริมาณดังกล่าวได้ดังนี้ A = 0.7 หน่วย, B = 2.05 หน่วย และ C = 10.50 หน่วย ดังนั้น X จะมีค่าเท่ากับกี่หน่วย
- 22
- 22.2
- 22.22
- 22.225
- นักเรียนคนหนึ่งวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมวงหนึ่งได้ 5.27 เซนติเมตร เขาควรจะบันทึกรัศมีวงกลมวงนี้เป็นกี่เซนติเมตร (PAT2′ 52)
- 3
- 2.6
- 2.64
- 2.635
- ชายคนหนึ่งขับเรือได้ระยะทาง 88.00 กิโลเมตร ในเวลา 3.50 ชั่วโมง (3 ชั่วโมง 30 นาที) เขาขับเรือด้วยอัตราเร็วเท่าใดในหน่วยกิโลเมตรต่อชั่วโมง
- 25.1
- 25.14
- 25.143
- 25.1429
- จากความสัมพันธ์ของปริมาณ 2 ปริมาณ เขียนเป็นสมการได้ว่า 2x + 3y = 6 เมื่อนำไปเขียนกราฟระบบพิกัดฉากจะได้กราฟมีค่าความชันเท่าไร
- \(-\frac{2}{3}\)
- \(\frac{2}{3}\)
- \(-\frac{2}{3}\)
- \(\frac{2}{3}\)
- วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่เป็นวงกลมรัศมี 7 เมตร เมื่อวัตถุเคลื่อนที่กลับมาที่เดิมจะได้การกระจัดเท่าใด
- 0
- 7
- 14
- 49
- เด็กคนหนึ่งออกกำลังกายด้วยการวิ่งด้วยอัตราเร็ว 6 เมตรต่อวินาที เป็นเวลา 1 นาที วิ่งด้วยอัตราเร็ว 5 เมตรต่อวินาที อีก 1 นาที แล้วเดินด้วยอัตราเร็ว 1 เมตรต่อวินาที อีก 1 นาที จงหาอัตราเฉลี่ยในช่วงเวลา 3 นาทีนี้
- 3.0 เมตรต่อวินาที
- 3.5 เมตรต่อวินาที
- 4.0 เมตรต่อวินาที
- 4.5 เมตรต่อวินาที
- คลองที่ตัดตรงจากเมือง A ไปเมือง B มีความยาว 65 กิโลเมตร ขณะที่ถนนจากเมือง A ไปเมือง B มีระยะทาง 79 กิโลเมตร ถ้าชายคนหนึ่งขนสินค้าจากเมือง A ไปเมือง B โดยรถยนต์ ถามว่าสินค้านั้นมีขนาดการกระจัดเท่าใด
- 14 กิโลเมตร
- 65 กิโลเมตร
- 72 กิโลเมตร
- 79 กิโลเมตร
- รถยนต์คันหนึ่งวิ่งด้วยอัตราเร็วคงที่ 20 เมตรต่อวินาที นานเท่าใดจึงจะเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 500 เมตร
- 10 วินาที
- 15 วินาที
- 20 วินาที
- 25 วินาที
- เด็กคนหนึ่งเดินไปทางทิศเหนือได้ระยะทาง 300 เมตร จากนั้นเดินทางไปทางทิศตะวันออกได้ระยะทาง 400 เมตร ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 500 วินาที เด็กคนนี้เดินทางด้วยอัตราเร็วเฉลี่ยกี่เมตรต่อวินาที
- 0.2 เมตรต่อวินาที
- 1.0 เมตรต่อวินาที
- 1.4 เมตรต่อวินาที
- 2.0 เมตรต่อวินาที
- รถยนต์คันหนึ่งวิ่งด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากเมือง A ไปเมือง B ที่อยู่ห่างกัน 200 กิโลเมตร ถ้าออกเดินทางเวลา 06.00 น. จะถึงปลายทางเวลาเท่าใด
- 07.50 น.
- 08.05 น.
- 08.30 น.
- 08.50 น.
- วัตถุชนิดหนึ่งเคลื่อนที่จากจุด A ไปจุด B ด้วยอัตราเร็ว 6.0 เมตรต่อวินาที ใช้เวลา 20 วินาที หลังจากนั้นเคลื่อนที่จากจุด B ไปจุด C ด้วยอัตราเร็ว 4.0 เมตรต่อวินาที ใช้เวลา 10 วินาที จงหาอัตราเร็วเฉลี่ยของวัตถุนี้ในการเคลื่อนที่จากจุด A ไปจุด C
- 3.3 เมตรต่อวินาที
- 5.3 เมตรต่อวินาที
- 8.3 เมตรต่อวินาที
- 10 เมตรต่อวินาที
- จากรูปแสดงจุดห่างสม่ำเสมอกันบนแถบกระดาษที่ผ่านเครื่องเคาะสัญญาณเวลา 50 ครั้ง/วินาที ข้อความใดถูกต้องสำหรับการเคลื่อนที่นี้
- ความเร็วเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ
- ความเร่งเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ
- ความเร่งคงตัวและไม่เป็นศูนย์
- ระยะทางเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ
- ในการทดลองปล่อยถุงทรายให้ตกแบบเสรี โดยลากแถบกระดาษผ่านเครื่องเคาะสัญญาณ เวลาที่เคาะจุดทุกๆ 1/50 วินาที จุดบนแถบกระดาษปรากฏดังรูป ถ้าระยะระหว่าง จุดที่ 9 ถึงจุดที่ 10 วัดได้ 3.80 เซนติเมตร และระยะระหว่างจุดที่ 10 ถึงจุดที่ 11 วัดได้ 4.20 เซนติเมตร ความเร็วเฉลี่ยที่จุดที่ 10 จะเป็นกี่เมตรต่อวินาที (O-NET’ 49)
- 1.0 เมตรต่อวินาที
- 1.5 เมตรต่อวินาที
- 2.0 เมตรต่อวินาที
- 2.5 เมตรต่อวินาที
- ถ้าปล่อยให้ก้อนหินตกจากยอดตึกสู่พื้น การเคลื่อนที่ของก้อนหินก่อนจะกระทบพื้นจะเป็นตามข้อใด ถ้าไม่คิดแรงต้านของอากาศ (O-NET’ 49)
- ความเร็วคงที่
- ความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
- ความเร็วลดลงอย่างสม่ำเสมอ
- ความเร็วเพิ่มขึ้นแล้วลดลง
ดูเฉลยคำตอบ
- หน่วย SI ในข้อใดเป็นหน่วยมูลฐานทั้งหมด
- แอมแปร์ เคลวิล แคนเดลา โมล
- เมตร องศาเซลเซียส เรเดียน คูลอมบ์
- กิโลกรัม โอห์ม ลูเมน พาสคาล
- วินาที โวลต์ เวเบอร์ ลักซ์
- ข้อใดไม่ใช่หน่วยฐานของระบบหน่วยระหว่างชาติ (SI) ทั้งหมด (มช’42)
- วินาที โวลต์ แอมแปร์
- แคนเดลา ลูเมน เฮนรี่
- นิวตัน คูลอมป์ จูล
- โอห์ม โมล ซีเมนต์
- ปริมาณใดไม่ใช่ปริมาณมูลฐาน
- มวล
- ความยาว
- เวลา
- ประจุไฟฟ้า
- คำใดไม่ใช่คำอุปสรรค
- แคนเดลา
- มิลลิ
- ไมโคร
- เดคะ
- ข้อใดต่อไปนี้เป็นหน่วยอนุพัทธ์ในระบบ SI
- แอมแปร์
- จูล
- โมล
- แคนเดลา
- หน่วยในข้อใดเป็นหน่วยเสริม
- เรเดียน
- เมตร/วินาที
- เฮิรตซ์
- เคลวิน
- ในระบบเอสไอ เวลามีหน่วยเป็น
- วินาที
- นาที
- ชั่วโมง
- ถูกทุกข้อ
- ข้อใดต่อไปนี้เป็นความแตกต่างของปริมาณเวกเตอร์ และสเกลาร์
- ปริมาณเวกเตอร์มีทิศทาง แต่สเกลาร์ไม่มี
- ปริมาณสเกลาร์มีทิศทาง แต่เวกเตอร์ไม่มี
- ปริมาณเวกเตอร์มีขนาด แต่สเกลาร์ไม่มี
- ปริมาณสเกลาร์มีทิศขนาด แต่เวกเตอร์ไม่มี
- มวล 500 เมกะกรัม มีค่าเป็นกี่ไมโครกรัม
- \(5 \times 10^2\)
- \(5 \times 10^6\)
- \(5 \times 10^{12}\)
- \(5 \times 10^{14}\)
แนวคิด
- \(\begin{align*}
500 \;\; Mg &= 500 \times 10^6 \;\; g \\[6pt]
&= \frac{500 \times 10^6}{10^{-6}} \;\; \mu g \\[6pt]
&= 500 \times 10^{12} \;\; \mu g \\[6pt]
&= 5 \times 10^{14} \;\; \mu g
\end{align*}\)
- ปริมาณในข้อใดที่ได้จากการวัดโดยใช้ไม้บรรทัดที่มีความละเอียดถึง 0.1 เซนติเมตร
- 9 เซนติเมตร
- 9.0 เซนติเมตร
- 9.00 เซนติเมตร
- 9.000 เซนติเมตร
แนวคิด
- การบันทึกตัวเลขที่เหมาะสม ต้องบันทึกตามค่าที่อ่านได้จริงจากเครื่องมือวัด และประมาณตัวเลขต่อท้ายอีก 1 ตัว เพื่อให้ผลการวัดใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
- ปริมาณ \(4 \times 10^{-7}\) เมตร เมื่อใช้คำอุปสรรคที่เหมาะสม ควรเปลี่ยนเป็น
- 40 มิลลิเมตร
- 4 พิโกเมตร
- 0.4 ไมโครเมตร
- 0.4 นาโนเมตร
แนวคิด
- \(\begin{align*}
4 \times 10^{-7} \;\; m &= 4 \times 10^{-4} \;\; mm \\
&= 4 \times 10^{5} \;\; pm \\
&= 4 \times 10^{-1} = 0.4 \;\; \mu m \\
&= 4 \times 10^{2} \;\; nm
\end{align*}\)
- พื้นที่ 1.5 ตารางมิลลิเมตร คิดเป็นเท่าไรในหน่วยตารางเมตร
- \(1.5 \times 10^6\)
- \(1.5 \times 10^3\)
- \(1.5 \times 10^{-3}\)
- \(1.5 \times 10^{-6}\)
แนวคิด
- \(1.5 \;\; mm^2 = 1.5 \times 10^{-6} \;\; m^2 \)
- น้ำมีความหนาแน่น 1 กรัม/ลบ.ซม. จะมีค่าเท่าใดในหน่วย กิโลกรัม/ลบ.เมตร
- \(10^{-6}\)
- \(10^{-3}\)
- \(10^3\)
- \(10^6\)
แนวคิด
- \(\begin{align*}
1 \;\; g/cm^3 &= 1 \times 10^{-3} \;\; kg/cm^3 \\[6pt]
&= 1 \times 10^{-3} \times 10^6 \;\; kg/m^3 \\[6pt]
&= 1 \times 10^{3} \;\; kg/m^3
\end{align*}\)
- จงพิจารณาโจทย์ต่อไปนี้
ก. 1.2 + 62.543 + 10.12
ข. 123.45 x 2.0
จากโจทย์ที่ปรากฏข้างบนนี้ มีข้อความใดบ้างที่ถูกต้อง
- ผลลัพธ์ของข้อ ก. มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว และผลลัพธ์ของข้อ ข. มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
- ผลลัพธ์ของข้อ ก. มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว และผลลัพธ์ของข้อ ข. มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- ทั้งผลลัพธ์ของข้อ ก. และข้อ ข. มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- คำตอบเป็นอย่างอื่น
แนวคิด
- การบวกและการลบเลขนัยสำคัญ ให้บวกลบแบบวิธีการทางคณิตศาสตร์ก่อน แล้วพิจารณาผลลัพธ์ที่ได้ โดยผลลัพธ์ของเลขนัยสำคัญที่ได้ต้องมีตำแหน่งทศนิยมละเอียดเท่ากับปริมาณที่มีความละเอียดน้อยที่สุด
ข้อ ก. คำนวนผลบวกได้ 1.2 + 62.543 + 10.12 = 73.863 โดยมีเลขที่มีทศนิยมน้อยที่สุดคือ 1.2 มีเลขทศนิยม 1 ตำแหน่ง แต่ให้พิจารณาถึงตำแหน่งที่ 2 ว่าถึง 5 หรือไม่ ถ้าถึงก็ให้เพิ่มค่าทศนิยมตำแหน่งที่ 1 อีก 1
ดังนั้นคำตอบที่ได้ คือ 73.4
- การคูณและการหารเลขนัยสำคัญ ให้ใช้วิธีการคูณและหารเหมือนทางคณิตศาสตร์ก่อน แล้วพิจารณาผลลัพธ์ที่ได้ โดยผลลัพธ์จะต้องมีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับจำนวนเลขนัยสำคัญของตัวคูณหรือตัวหารที่น้อยที่สุด
ข้อ ก. คำนวนผลคูณได้ 123.45 x 2.0 = 246.9 โดยมีเลขที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุดคือ 2.0 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว แต่ตัวที่ 3 คือเลข 6 ให้เพิ่มค่าตัวหน้าคือ 4 อีก 1 เป็น 5 จะได้ 250 แต่ต้องจัดให้มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว จึงจัดได้เป็น 2.5 x 102
- อัตราเร็ว 25 เมตร/วินาที มีค่าเท่าใดในหน่วย กิโลเมตร/ชั่วโมง
- \(10\)
- \(20\)
- \(30\)
- \(90\)
แนวคิด
- \(\begin{align*}
25 \;\; m/s &= \frac{25}{10^{-3}} \;\; km/s \\[6pt]
&= 25 \times 10^{-3} \;\; km/s \\[6pt]
&= 25 \times 10^{-3} \times 60 \times 60 \;\; km/hr \\[6pt]
&= 90 \;\; km/h
\end{align*}\)
- จงบอกจำนวนเลขนัยสำคัญของปริมาณต่อไปนี้ 105 , 0.0020 , 3500
- 3, 2 และ 4 ตัว
- 3, 4 และ 4 ตัว
- บอกไม่ได้, 1 และ 4ตัว
- 2, 1 และ 3 ตัว
- ปริมาณในข้อใดมีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว ทั้งหมด
- \(0.15, 3 \times 10^{3}, 151\)
- \(1.00, 0.03, 0.12 \times 10^{-3}\)
- \(100.0, 100, 3.06 \times 10^9\)
- \(0.120, 4.32 \times 10^{-21} , 168\)
- นักเรียนคนหนึ่งใช้เครื่องวัดที่มีค่าความละเอียด 0.01 เซนติเมตร วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหรียญบาทได้ 2.59 เซนติเมตร เมื่อพิจารณาเลขนัยสำคัญ เขาควรจะบันทึกค่าพื้นที่หน้าตัดดังนี้
- 5.27065 ตารางเซนติเมตร
- 5.2707 ตารางเซนติเมตร
- 5.271 ตารางเซนติเมตร
- 5.27 ตารางเซนติเมตร
แนวคิด
- \(\begin{align*}
area &= \pi r^2 \\[6pt]
&= \frac{22}{7} \times (\frac{2.59}{2})^2 \;\; cm^2 \\[6pt]
&= 5.27065 \;\; cm^2
\end{align*}\)
- ผลลัพธ์จะมีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
ดังนั้น เขาควรจะบันทึกค่าพื้นที่หน้าตัดได้ 5.27 ตารางเซนติเมตร
- ในการทดลองเพื่อคำนวณหาค่า X จากสมการ X = A + BC จำเป็นต้องทำการวัดปริมาณ A, B และ C ด้วยเครื่องวัด ถ้าสมมุติว่าวัดปริมาณดังกล่าวได้ดังนี้ A = 0.7 หน่วย, B = 2.05 หน่วย และ C = 10.50 หน่วย ดังนั้น X จะมีค่าเท่ากับกี่หน่วย
- 22
- 22.2
- 22.22
- 22.225
แนวคิด
- \(\begin{align*}
X &= A + B \times C \\
&= 0.7 + (2.05 \times 10.50) \\
&= 0.7 + 21.5 \\
&= 22.2
\end{align*}
\)
- นักเรียนคนหนึ่งวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมวงหนึ่งได้ 5.27 เซนติเมตร เขาควรจะบันทึกรัศมีวงกลมวงนี้เป็นกี่เซนติเมตร (PAT2′ 52)
- 3
- 2.6
- 2.64
- 2.635
แนวคิด
- \(\begin{align*}
r &= \frac{5.27}{2} \;\; cm \\[6pt]
&= 2.635 \;\; cm
\end{align*}\)
- ผลลัพธ์จะมีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
ดังนั้น เขาควรจะบันทึกรัศมีวงกลมได้ 2.64 เซนติเมตร
- ชายคนหนึ่งขับเรือได้ระยะทาง 88.00 กิโลเมตร ในเวลา 3.50 ชั่วโมง (3 ชั่วโมง 30 นาที) เขาขับเรือด้วยอัตราเร็วเท่าใดในหน่วยกิโลเมตรต่อชั่วโมง
- 25.1
- 25.14
- 25.143
- 25.1429
แนวคิด
- \(\begin{align*}
v &= \frac{s}{t} \\[6pt]
&= \frac{88.00}{3.50} \;\; km/h \\[6pt]
&= 25.142857 \;\; km/h
\end{align*}\)
- ผลลัพธ์จะมีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
ดังนั้น เขาจะขับเรือด้วยอัตราเร็ว 25.1 km/h
- จากความสัมพันธ์ของปริมาณ 2 ปริมาณ เขียนเป็นสมการได้ว่า 2x + 3y = 6 เมื่อนำไปเขียนกราฟระบบพิกัดฉากจะได้กราฟมีค่าความชันเท่าไร
- \(-\frac{2}{3}\)
- \(\frac{2}{3}\)
- \(-\frac{2}{3}\)
- \(\frac{2}{3}\)
แนวคิด
- จัดรูปสมการให้อยู่ในรูป \(y = mx + c\) ซึ่ง \(m\) ค่าความชัน
- \(\begin{align*}
\quad y &= \frac{6-2x}{3} \\[6pt]
\quad y &= -\frac{2}{3}x + 2 \\[6pt]
\therefore m &= -\frac{2}{3}
\end{align*}\)
- วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่เป็นวงกลมรัศมี 7 เมตร เมื่อวัตถุเคลื่อนที่กลับมาที่เดิมจะได้การกระจัดเท่าใด
- 0
- 7
- 14
- 49
แนวคิด
- จากโจทย์ วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมรัศมี 7 เมตร ครบหนึ่งรอบ แสดงว่าวัตถุเคลื่อนที่กลับมายังจุดเริ่มต้น
ดังนั้น การกระจัดของวัตถุจึงมีค่าเป็น 0
- เด็กคนหนึ่งออกกำลังกายด้วยการวิ่งด้วยอัตราเร็ว 6 เมตรต่อวินาที เป็นเวลา 1 นาที วิ่งด้วยอัตราเร็ว 5 เมตรต่อวินาที อีก 1 นาที แล้วเดินด้วยอัตราเร็ว 1 เมตรต่อวินาที อีก 1 นาที จงหาอัตราเฉลี่ยในช่วงเวลา 3 นาทีนี้
- 3.0 เมตรต่อวินาที
- 3.5 เมตรต่อวินาที
- 4.0 เมตรต่อวินาที
- 4.5 เมตรต่อวินาที
แนวคิด
- \(\begin{align*}
v &= \frac{s}{t} \\[6pt]
&= \frac{6 + 5 + 1}{3} \;\; m/s \\[6pt]
&= 4 \;\; m/s \end{align*}\)
- คลองที่ตัดตรงจากเมือง A ไปเมือง B มีความยาว 65 กิโลเมตร ขณะที่ถนนจากเมือง A ไปเมือง B มีระยะทาง 79 กิโลเมตร ถ้าชายคนหนึ่งขนสินค้าจากเมือง A ไปเมือง B โดยรถยนต์ ถามว่าสินค้านั้นมีขนาดการกระจัดเท่าใด
- 14 กิโลเมตร
- 65 กิโลเมตร
- 72 กิโลเมตร
- 79 กิโลเมตร
แนวคิด
- ระยะทาง คือ ระยะที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ทั้งหมด ณ เวลานั้นๆ
- กระจัด คือ ระยะทางที่สั้นที่สุดที่วัตถุนั้นเคลื่อนที่วัดจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้ายเป็นเส้นตรง
- รถยนต์คันหนึ่งวิ่งด้วยอัตราเร็วคงที่ 20 เมตรต่อวินาที นานเท่าใดจึงจะเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 500 เมตร
- 10 วินาที
- 15 วินาที
- 20 วินาที
- 25 วินาที
แนวคิด
- \(\begin{align*}
v &= \frac{s}{t} \\[6pt]
t &= \frac{s}{v} \;\; s \\[6pt]
&= \frac{500}{20} \;\; s \\[6pt]
&= 25 \;\; s \end{align*}\)
- เด็กคนหนึ่งเดินไปทางทิศเหนือได้ระยะทาง 300 เมตร จากนั้นเดินทางไปทางทิศตะวันออกได้ระยะทาง 400 เมตร ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 500 วินาที เด็กคนนี้เดินทางด้วยอัตราเร็วเฉลี่ยกี่เมตรต่อวินาที
- 0.2 เมตรต่อวินาที
- 1.0 เมตรต่อวินาที
- 1.4 เมตรต่อวินาที
- 2.0 เมตรต่อวินาที
แนวคิด
- โจทย์ถามอัตราเร็ว ดังนั้น ระยะทางที่ใช้คำนวน คือ ระยะทางทั้งหมดที่เคลื่อนที่ได้
- \(\begin{align*}
v &= \frac{s}{t} \\[6pt]
&= \frac{(300 + 400)}{500} \;\; m/s \\[6pt]
&= 1.4 \;\; m/s \end{align*}\)
- รถยนต์คันหนึ่งวิ่งด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากเมือง A ไปเมือง B ที่อยู่ห่างกัน 200 กิโลเมตร ถ้าออกเดินทางเวลา 06.00 น. จะถึงปลายทางเวลาเท่าใด
- 07.50 น.
- 08.05 น.
- 08.30 น.
- 08.50 น.
แนวคิด
- \(\begin{align*}
v &= \frac{s}{t} \\[6pt]
t &= \frac{s}{v} \\[6pt]
&= \frac{200}{80} \;\; hr \\[6pt]
&= 2.5 \;\; hr \end{align*}\)
- ใช้เวลาเดินทาง 2.5 ชั่วโมง คือ 2 ชั่วโมง 30 นาที
- วัตถุชนิดหนึ่งเคลื่อนที่จากจุด A ไปจุด B ด้วยอัตราเร็ว 6.0 เมตรต่อวินาที ใช้เวลา 20 วินาที หลังจากนั้นเคลื่อนที่จากจุด B ไปจุด C ด้วยอัตราเร็ว 4.0 เมตรต่อวินาที ใช้เวลา 10 วินาที จงหาอัตราเร็วเฉลี่ยของวัตถุนี้ในการเคลื่อนที่จากจุด A ไปจุด C
- 3.3 เมตรต่อวินาที
- 5.3 เมตรต่อวินาที
- 8.3 เมตรต่อวินาที
- 10 เมตรต่อวินาที
แนวคิด
- \(\begin{align*}
v &= \frac{s}{t} \\[6pt]
s_{AB} &= v \times t \\[6pt]
&= 6.0 \times 20 \;\; m \\[6pt]
&= 120 \;\; m \\[6pt]
s_{BC} &= 4.0 \times 10 \;\; m \\[6pt]
&= 40 \;\; m \\[6pt]
v_{AC} &= \frac{s_{AC}}{t_{AC}} \\[6pt]
&= \frac{120 + 40}{20 + 10} \;\; m/s \\[6pt]
&= 5.3 \;\; m/s \end{align*}\)
- จากรูปแสดงจุดห่างสม่ำเสมอกันบนแถบกระดาษที่ผ่านเครื่องเคาะสัญญาณเวลา 50 ครั้ง/วินาที ข้อความใดถูกต้องสำหรับการเคลื่อนที่นี้
- ความเร็วเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ
- ความเร่งเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ
- ความเร่งคงตัวและไม่เป็นศูนย์
- ระยะทางเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ
แนวคิด
- ระยะทางระหว่างจุดคงที่ซึ่งแสดงว่าความเร็วคงที่ ความเร่งมีค่าเท่ากับศูนย์ ส่งผลทำให้ระยะเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ
- ในการทดลองปล่อยถุงทรายให้ตกแบบเสรี โดยลากแถบกระดาษผ่านเครื่องเคาะสัญญาณ เวลาที่เคาะจุดทุกๆ 1/50 วินาที จุดบนแถบกระดาษปรากฏดังรูป ถ้าระยะระหว่าง จุดที่ 9 ถึงจุดที่ 10 วัดได้ 3.80 เซนติเมตร และระยะระหว่างจุดที่ 10 ถึงจุดที่ 11 วัดได้ 4.20 เซนติเมตร ความเร็วเฉลี่ยที่จุดที่ 10 จะเป็นกี่เมตรต่อวินาที (O-NET’ 49)
- 1.0 เมตรต่อวินาที
- 1.5 เมตรต่อวินาที
- 2.0 เมตรต่อวินาที
- 2.5 เมตรต่อวินาที
แนวคิด
- หาความเร็วเฉลี่ยตั้งแต่จุดที่ 9 ถึงจุดที่ 11 เราจะได้ความเร็วเฉลี่ยที่จุดที่ 10
- \(\begin{align*}
v &= \frac{s}{t} \\[6pt]
&= \frac{3.8 + 4.2}{2 \times \frac{1}{50}} \;\; cm/s \\[6pt]
&= 200 \;\; cm/s \\[6pt]
&= 200 \times 10^{-2} \;\; m/s \\[6pt]
&= 2 \;\; m/s
\end{align*}\)
- ถ้าปล่อยให้ก้อนหินตกจากยอดตึกสู่พื้น การเคลื่อนที่ของก้อนหินก่อนจะกระทบพื้นจะเป็นตามข้อใด ถ้าไม่คิดแรงต้านของอากาศ (O-NET’ 49)
- ความเร็วคงที่
- ความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
- ความเร็วลดลงอย่างสม่ำเสมอ
- ความเร็วเพิ่มขึ้นแล้วลดลง