Home » High school » แบบฝึกหัดบทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
แบบฝึกหัดบทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
แบบฝึกหัดที่ 1: เลขนัยสำคัญ
- เลข 1 ถึง 9 ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
- 45 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
- 548 มีเลขนัยสำคัญ ตัว
- 656.54 มีเลขนัยสำคัญ ตัว
- เลข 0 อยู่ระหว่างตัวเลข(1-9) ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
- 3005 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
- 50.005 มีเลขนัยสำคัญ ตัว
- 8.0002 มีเลขนัยสำคัญ ตัว
- เลข 0 อยู่หลังตัวเลข(1-9) และมีจุดทศนิยมให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
- 4.0 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
- 180.03 มีเลขนัยสำคัญ ตัว
- 801 มีเลขนัยสำคัญ ตัว
- เลข 0 อยู่ด้านซ้ายมือของตัวเลขไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ
- 007 มีเลขนัยสำคัญ 1 ตัว
- 0.035 มีเลขนัยสำคัญ ตัว
- 0.004004500 มีเลขนัยสำคัญ ตัว
- \(10^n\) เป็นเลขนัยสำคัญหรือไม่
- 0.00000008 มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
- 82.0054 มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
- 0.503 มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
- 3.035 + 5.2 + 8.09 = ?
- 405 + 7.12 + 98.003 = ?
- 62.5 คูณด้วย 0.073 = ?
- 0.024 หารด้วย 0.006 = ?
- จงทำให้จำนวน 86.583219 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตำแหน่ง
- จงทำให้จำนวน 75.9876 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตำแหน่ง
- จงทำให้จำนวน 2.635 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตำแหน่ง
- จงทำให้จำนวน 27.4865 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตำแหน่ง
- หาคำตอบของ 53.27 m + 16.8 m
- หาคำตอบของ 0.9387 mm x 1.542 mm x 1.32 mm
ดูเฉลยคำตอบ
- เลข 1 ถึง 9 ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
- 45 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
- 548 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
- 656.54 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- เลข 0 อยู่ระหว่างตัวเลข(1-9) ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
- 3005 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
- 50.005 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- 8.0002 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- เลข 0 อยู่หลังตัวเลข(1-9) และมีจุดทศนิยมให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
- 4.0 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
- 180.03 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- 801 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
- เลข 0 อยู่ด้านซ้ายมือของตัวเลขไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ
- 007 มีเลขนัยสำคัญ 1 ตัว
- 0.035 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
- 0.004004500 มีเลขนัยสำคัญ 7 ตัว
- 10n
ตอบ ไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ
- 0.00000008 มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
ตอบ 1 ตัว
- 82.0054 มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
ตอบ 6 ตัว
- 0.503 มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
ตอบ 3 ตัว
- 3.035 + 5.2 + 8.09 = ?
วิธีคิด จำนวนที่มีเลขทศนิยมน้อยที่สุด คือ 5.2 มีเลขทศนิยม 1 ตำแหน่ง คำนวณข้อมูลแล้วปัดเศษผลลัพธ์ให้มีเลขทศนิยม 1 ตำแหน่ง
ตอบ 16.3 (ตอบตามจุดทศนิยมน้อยที่สุด)
- 405 + 7.12 + 98.003 = ?
วิธีคิด จำนวนที่มีเลขทศนิยมน้อยที่สุด คือ 405 มีเลขทศนิยม 0 ตำแหน่ง คำนวณข้อมูลแล้วปัดเศษผลลัพธ์ให้มีเลขทศนิยม 0 ตำแหน่ง
ตอบ 510 (ตอบตามจุดทศนิยมน้อยที่สุด)
- 62.5 คูณด้วย 0.073 = ?
วิธีคิด จำนวนที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด คือ 0.073 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว คำนวณข้อมูลแล้วปัดเศษผลลัพธ์ให้มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
ตอบ 4.6 (ตอบตามเลขนัยสำคัญน้อยที่สุดโดยดูทุกตัว)
- 0.024 หารด้วย 0.006 = ?
วิธีคิด จำนวนที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด คือ 6 มีเลขนัยสำคัญ 1 ตัว คำนวณข้อมูลแล้วปัดเศษผลลัพธ์ให้มีเลขนัยสำคัญ 1 ตัว
ตอบ 4 (ตอบตามเลขนัยสำคัญน้อยที่สุดโดยดูทุกตัว)
- จงทำให้จำนวน 86.583219 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตำแหน่ง
วิธีคิด ตัวเลขตัวสุดท้ายของเลขนัยสำคัญตำแหน่งที่ 4 คือ 8 ดังนั้นตัวเลขที่ต้องการปัดเศษคือ 3 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 5 จึงปัดลง โดยการตัดตัวเลขหลัง 8 ทิ้งไป จะได้จำนวนเลขนัยสำคัญ 4 ตำแหน่ง เป็น 86.58
ตอบ 86.58
- จงทำให้จำนวน 75.9876 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตำแหน่ง
วิธีคิด ตัวเลขตัวสุดท้ายของเลขนัยสำคัญตำแหน่งที่ 4 คือ 8 ดังนั้นตัวเลขที่ต้องการปัดเศษคือ 7 ซึ่งมีค่ามากกว่า 5 จึงปัดขึ้น โดยตัดตัวเลขหลัง 8 ออก แล้วเพิ่มค่าของ 8 อีก 1 จะได้จำนวนที่มีเลขนัยสำคัญ 4 ตำแหน่ง เป็น 75.99
ตอบ 75.99
- จงทำให้จำนวน 2.635 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตำแหน่ง
วิธีคิด ตัวเลขตัวสุดท้ายของเลขนัยสำคัญตำแหน่งที่ 3 คือ 3 ดั้งนั้นตัวเลขที่ต้องการปัดเศษคือ 5 จึงพิจารณาตัวเลขตัวสุดท้ายของตำแหน่งที่ต้องการคือ 3 ซึ่งเป็นเลขคี่ จึงปัดขึ้น โดยตัดตัวเลขหลัง 3 ออกแล้วเพิ่มจำนวน 3 อีกหนึ่ง จะได้จำนวนที่มีเลขนัยสำคัญ 3 ตำแหน่ง เป็น 2.64
ตอบ 2.64
- จงทำให้จำนวน 27.4865 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตำแหน่ง
วิธีคิด ตัวเลขตัวสุดท้ายของเลขนัยสำคัญตำแหน่งที่ 5 คือ 6 ดั้งนั้นตัวเลขที่ต้องการปัดเศษคือ 5 จึงพิจารณาตัวเลขตัวสุดท้ายของตำแหน่งที่ต้องการคือ 6 ซึ่งเป็นเลขคู่ จึงปัดลง โดยตัดเลข 5 ทิ้ง จะได้จำนวนที่มีเลขนัยสำคัญ 5 ตำแหน่ง เป็น 27.486
ตอบ 27.486
- หาคำตอบของ 53.27 m + 16.8 m
วิธีคิด จำนวนที่มีเลขทศนิยมน้อยที่สุด คือ 16.8 มีเลขทศนิยม 1 ตำแหน่ง คำนวณข้อมูลแล้วปัดเศษผลลัพธ์ให้มีเลขทศนิยม 1 ตำแหน่ง
ตอบ 70.1 m
- หาคำตอบของ 0.9387 mm3 x 1.542 mm3 x 1.32 mm3
วิธีคิด จำนวนที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด คือ 1.32 ซึ่งมีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว คำนวณข้อมูลแล้วปัดเศษผลลัพธ์ให้มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
ตอบ 2.76 mm3
แบบฝึกหัดที่ 2: หน่วยวัด
จงเติมคำลงในช่องว่างของหน่วยเอสไอพื้นฐานต่อไปนี้
ปริมาณ |
ชื่อหน่วย |
สัญลักษณ์ของหน่วย |
ความยาว (length) |
|
m |
เวลา (time) |
วินาที (second) |
|
มวล (mass) |
|
kg |
อุณหภูมิ (temperature) |
เคลวิน (Kelvin) |
|
กระแสไฟฟ้า (Electric current) |
แอมแปร์ (Ampere) |
|
ปริมาณของสาร (Amount of substance) |
|
mol |
ความเข้มของการส่องสว่าง (Lumimous intensity) |
แคนเดลา (candela) |
|
ดูเฉลยคำตอบ
ปริมาณ |
ชื่อหน่วย |
สัญลักษณ์ของหน่วย |
ความยาว (length) |
เมตร (meter) |
m |
เวลา (time) |
วินาที (second) |
s |
มวล (mass) |
กิโลกรัม (kilogram) |
kg |
อุณหภูมิ (temperature) |
เคลวิน (Kelvin) |
K |
กระแสไฟฟ้า (Electric current) |
แอมแปร์ (Ampere) |
A |
ปริมาณของสาร (Amount of substance) |
โมล (mole) |
mol |
ความเข้มของการส่องสว่าง (Lumimous intensity) |
แคนเดลา (candela) |
cd |
จงเติมคำลงในช่องว่างของหน่วยนอกระบบเอสไอพื้นฐานต่อไปนี้
ปริมาณ |
ชื่อหน่วย |
สัญลักษณ์ของหน่วย |
ค่าเทียบกับหน่วย SI พื้นฐาน |
ปริมาตร |
ลิตร |
|
|
มวล |
กรัม |
|
|
ดอลตัน |
|
|
หน่วยมวลอะตอม |
|
|
ความดัน |
บาร์ |
|
|
มิลลิเมตรปรอท |
|
|
บรรยากาศ |
|
|
ความยาว |
อังสตรอม |
|
|
พลังงาน |
แคลอรี่ |
|
|
อุณหภูมิ |
องศาเซลเซียส |
|
|
ดูเฉลยคำตอบ
ปริมาณ |
ชื่อหน่วย |
สัญลักษณ์ของหน่วย |
ค่าเทียบกับหน่วย SI พื้นฐาน |
ปริมาตร |
ลิตร |
L |
1 L = 10-3 m3 |
มวล |
กรัม |
g |
1 g = 10-3 kg |
ดอลตัน |
Da |
1 Da = 1.66 x 10-27 kg |
หน่วยมวลอะตอม |
u |
1 u = 1 Da |
ความดัน |
บาร์ |
bar |
1 bar = 105 Pa |
มิลลิเมตรปรอท |
mmHg |
1 mmHg = 133.322 Pa |
บรรยากาศ |
atm |
1 atm = 1.013 x 105 Pa |
ความยาว |
อังสตรอม |
Å |
1 Å = 10-10 m |
พลังงาน |
แคลอรี่ |
cal |
1 cal = 4.2 J |
อุณหภูมิ |
องศาเซลเซียส |
℃ |
℃ = K – 273 |
แบบฝึกหัดที่ 3: แฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย
จากโจทย์ที่กำหนด ให้แสดงวิธีทำพร้อมใส่หน่วยต่างๆให้เรียบร้อย
- ข้าวสารถุงหนึ่งมีมวล 0.85 กิโลกรัม ข้าวสารนี้จะมีมวลเป็นกี่กรัม (1 kg = 1000 g)
- นักวิ่งคนหนึ่งวิ่งได้ 100 เมตร ในเวลา 11.00 วินาที ความเร็วของนักวิ่งคนนี้คิดเป็นกี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง (1000 m = 1 km, 60 s = 1 min , 60 min = 1 h)
- มีเหรียญ 50 สตางค์ จำนวน 250 เหรียญ จะแลกเหรียญ 5 บาทได้กี่เหรียญ (2 เหรียญ 50 สตางค์ = 1 เหรียญ 1 บาท, 1 เหรียญ 5 บาท = 5 เหรียญ 1 บาท)
- ถ้าแก๊สมีเทน (CH4) มีมวลโมเลกุล = 16 แก๊สมีเทนที่มีปริมาตร 112 cm3 ที่ STP จะมีจำนวนอนุภาคกี่โมเลกุล (1 โมลโมเลกุลของสาร = 6.02 x 1023 โมเลกุล, 1 โมลโมเลกุลของสาร = 22.4 dm3 ที่ STP, 1 dm3 = 1,000 cm3
- แต่ละวันต้องหุงข้าว 420 กรัม ข้าวสารกระสอบละ 140 กิโลกรัม บริโภคข้าวกี่กระสอบต่อปี
- แท่งแก้วยาว 1.25 เมตร มีความยาวเท่าใดในหน่วยมิลลิเมตร (1 cm = 10 mm, 1 m = 100 cm)
- ระยะทาง 10 เซนติเมตร มีความยาวเท่ากับกี่ pm (1 cm = 10-2 m, 1 pm = 10-12 m)
- ฟาร์มโคนมแห่งหนึ่ง มีโคนม 200 ตัว โคนมหนึ่งตัว ให้นมได้เฉลี่ยสัปดาห์ละ 5 ลิตร บรรจุใส่ขวด ขวดละ 500 cm3 ขายได้กำไรขวดละ 1.40 บาท ฟาร์มนี้ได้กำไรวันละกี่บาท
- รถแล่นด้วยความเร็ว 90 km/hr จงเปลี่ยนหน่วยจาก km/hr ให้เป็น m/s (1000 m = 1 km, 60 s = 1 min, 60 min = 1 h)
ดูเฉลยคำตอบ
- ข้าวสารถุงหนึ่งมีมวล 0.85 กิโลกรัม ข้าวสารนี้จะมีมวลเป็นกี่กรัม (1 kg = 1000 g)
วิธีทำ
- เขียนแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วยได้ดังนี้ \(\quad \frac{1 \, kg}{1000 \, g} \;\) หรือ \(\; \frac{1000 \, g}{1 \, kg}\)
- เลือกใช้อัตราส่วนที่มีเศษเป็นหน่วยที่ต้องการ (g) และมีส่วนเป็นหน่วยที่โจทย์กำหนด (kg) คือ \(\frac{1000 \, g}{1 \, kg}\) เพื่อให้ส่วนที่เป็น kg ตัดกับหน่วย kg ที่โจทย์กำหนด และให้ได้หน่วยเป็น g ตามที่ต้องการ
เราจะได้มวลข้าวสารถุงนี้ \(\require{cancel} \begin{aligned}[t] &= 0.85 \, \cancel{kg} \times \frac{1000 \,g}{1 \, \cancel{kg}} \\
&= 850 \, g \end{aligned}\)
\(\therefore\) ข้าวสารมวล 0.85 กิโลกรัม คิดเป็น 850 กรัม
- นักวิ่งคนหนึ่งวิ่งได้ 100 เมตร ในเวลา 11.00 วินาที ความเร็วของนักวิ่งคนนี้คิดเป็นกี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง (1000 m = 1 km, 60 s = 1 min , 60 min = 1 h)
วิธีทำ
- เขียนแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วยได้ดังนี้
- \(\frac{1000 \, m}{1 \, km} \;\) หรือ \(\; \frac{1 \, km}{1000 \, m}\)
- \( \frac{60 \, s}{1 \, min} \;\) หรือ \(\; \frac{1 \, min}{60 \, s}\;\)
- \(\frac{60 \, min}{1 \, h} \;\) หรือ \(\; \frac{1 \, h}{60 \, min}\)
- เลือกใช้อัตราส่วนที่มีเศษเป็นหน่วยระยะทางที่ต้องการ (km) และมีส่วนเป็นหน่วยที่โจทย์กำหนด (m) คือ \(\frac{1 \, km}{1000 \, m}\;\) เพื่อให้ส่วนที่เป็น m ตัดกับหน่วย m ที่โจทย์กำหนด และให้ได้หน่วยเป็น km ตามที่ต้องการ
และเลือกใช้อัตราส่วนที่มีเศษเป็นหน่วยเวลาที่ต้องการ (hr) และมีส่วนเป็นหน่วยที่โจทย์กำหนด (s) คือ \(\; \frac{1 \, min}{60 \, s} \times \frac{1 \, h}{60 \, min}\) เพื่อให้ได้หน่วยเป็น hr ตามที่ต้องการ แต่หน่วยเวลาที่โจทย์ต้องการเป็นตัวส่วน (ต่อชั่วโมง) ดังนั้น เราจะกลับเศษส่วน
เราจะได้ว่านักวิ่งคนนี้วิ่งได้ \(\begin{aligned}[t] &= \frac{100 \, \cancel{m}}{11 \, \cancel{s}} \times \frac{1 \, km}{1000 \, \cancel{m}} \times \frac{60 \, \cancel{s}}{1 \, \cancel{min}} \times \frac{60 \, \cancel{min}}{1 \, h} \\
&= \frac{100 \times 60 \times 60}{11 \times 1000} \;\; km/h \\[6pt]
&= 32.72 \;\; km/h \end{aligned}\)
\(\therefore\) ความเร็วของนักวิ่งคนนี้คิดเป็น 32.72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- มีเหรียญ 50 สตางค์ จำนวน 250 เหรียญ จะแลกเหรียญ 5 บาทได้กี่เหรียญ (2 เหรียญ 50 สตางค์ = 1 เหรียญ 1 บาท, 1 เหรียญ 5 บาท = 5 เหรียญ 1 บาท)
วิธีทำ
- เขียนแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วยได้ดังนี้
- \( \frac{2 \; \text{เหรียญ}\, 50 \; \text{สตางค์}}{1 \; \text{เหรียญ} \, 1 \; \text{บาท}} \;\) หรือ \(\; \frac{1 \; \text{เหรียญ} \, 1 \; \text{บาท}}{2 \; \text{เหรียญ}\, 50 \; \text{สตางค์}}\;\)
- \(\; \frac{1 \; \text{เหรียญ}\, 5 \; \text{บาท}}{5 \; \text{เหรียญ} \, 1 \; \text{บาท}} \;\) หรือ \(\; \frac{5 \; \text{เหรียญ} \, 1 \; \text{บาท}}{1 \; \text{เหรียญ}\, 5 \; \text{บาท}}\)
- เลือกใช้อัตราส่วนที่มีเศษเป็นหน่วยที่ต้องการ (เหรียญ 5 บาท) และมีส่วนเป็นหน่วยที่โจทย์กำหนด (เหรียญ 50 สตางค์) คือ \(\frac{1 \; \text{เหรียญ} \, 1 \; \text{บาท}}{2 \; \text{เหรียญ}\, 50 \; \text{สตางค์}}\;\) และ \(\;\frac{1 \; \text{เหรียญ}\, 5 \; \text{บาท}}{5 \; \text{เหรียญ} \, 1 \; \text{บาท}}\) เพื่อให้ได้หน่วยเป็นเหรียญ 5 บาทตามที่ต้องการ
เราจะได้ \( \begin{aligned}[t] &= 250 \; \text{เหรียญ}\, \cancel{50 \; \text{สตางค์}} \times \frac{1 \; \text{เหรียญ} \, \cancel{1 \; \text{บาท}}}{2 \; \text{เหรียญ}\, \cancel{50 \; \text{สตางค์}}} \times \frac{1 \; \text{เหรียญ}\, 5 \; \text{บาท}}{5 \; \text{เหรียญ} \, \cancel{1 \; \text{บาท}}} \\
&= \frac{250}{2 \times 5} \, \;\; \text{เหรียญ} \; 5 \; บาท \\[6pt]
&= 25 \;\; \text{เหรียญ} \; 5 \; บาท \end{aligned}\)
\(\therefore\) เหรียญ 50 สตางค์ จำนวน 250 เหรียญ จะแลกเหรียญ 5 บาทได้ 25 เหรียญ
- ถ้าแก๊สมีเทน (CH4) มีมวลโมเลกุล = 16 แก๊สมีเทนที่มีปริมาตร 112 cm3 ที่ STP จะมีจำนวนอนุภาคกี่โมเลกุล (1 โมลโมเลกุลของสาร = 6.02 x 1023 โมเลกุล, 1 โมลโมเลกุลของสาร = 22.4 dm3 ที่ STP, 1 dm3 = 1,000 cm3
วิธีทำ
- เขียนแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วยได้ดังนี้
- \(\frac{1 \; \text{โมลโมเลกุล}}{6.02 \times 10^{23} \; \text{โมเลกุล}} \;\) หรือ \(\; \frac{6.02 \times 10^{23} \; \text{โมเลกุล}}{1 \; \text{โมลโมเลกุล}}\;\)
- \( \frac{1 \; \text{โมลโมเลกุล}}{22.4 \; dm^{3}} \;\) หรือ \(\; \frac{22.4 \; dm^{3}}{1 \; \text{โมลโมเลกุล}}\;\)
- \( \frac{1 \; dm^{3}}{1000 \; cm^{3}} \;\) หรือ \(\; \frac{1000 \; cm^{3}}{1 \; dm^{3}}\;\)
- เลือกใช้อัตราส่วนที่มีเศษเป็นหน่วยที่ต้องการ (โมเลกุล) และมีส่วนเป็นหน่วยที่โจทย์กำหนด (cm3) คือ \(\frac{1 \; \text{โมลโมเลกุล}}{22.4 \; dm^{3}} \times \frac{6.02 \times 10^{23} \; \text{โมเลกุล}}{1 \; \text{โมลโมเลกุล}}\;\) และ \(\;\frac{1 \; dm^{3}}{1000 \; cm^{3}}\) เพื่อให้ได้หน่วยเป็นจำนวนโมเลกุลตามที่ต้องการ
เราจะได้ \( \begin{aligned}[t] &= 112 \; \cancel{cm^{3}} \times \frac{1 \; \cancel{\text{โมลโมเลกุล}}}{22.4 \; \cancel{dm^{3}}} \times \frac{6.02 \times 10^{23} \; \text{โมเลกุล}}{1 \; \cancel{\text{โมลโมเลกุล}}} \times \frac{1 \; \cancel{dm^{3}}}{1000 \; \cancel{cm^{3}}} \\
&= \frac{112 \times 6.02 \times 10^{23}}{22.4 \times 1000} \, \;\; \text{โมเลกุล} \\[6pt]
&= 0.0301 \times 10^{23} \;\; \text{โมเลกุล} \\[6pt]
&= 3.01 \times 10^{23} \;\; \text{โมเลกุล} \end{aligned}\)
\(\therefore\) แก๊สมีเทนที่มีปริมาตร 112 cm3 ที่ STP จะมีจำนวนอนุภาค 3.01 x 1023 โมเลกุล
- แต่ละวันต้องหุงข้าว 420 กรัม ข้าวสารกระสอบละ 140 กิโลกรัม บริโภคข้าวกี่กระสอบต่อปี
วิธีทำ
- แต่ละวันต้องหุงข้าว 420 กรัม แสดงว่า เราหุงข้าว \(\frac{420 \; g}{1 \; \text{วัน}}\)
- เขียนแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วยได้ดังนี้
- \(\frac{1 \; \text{ปี}}{365 \; \text{วัน}} \;\) หรือ \(\; \frac{365 \; \text{วัน}}{1 \; \text{ปี}}\;\)
- \( \frac{1 \; kg}{1{,}000 \; g} \;\) หรือ \(\; \frac{1{,}000 \; g}{1 \; kg}\;\)
- \(\frac{1 \; \text{กระสอบ}}{140 \; kg} \;\) หรือ \(\; \frac{140 \; kg}{1 \; \text{กระสอบ}}\;\)
- เลือกใช้อัตราส่วนที่มีเศษเป็นหน่วยที่ต้องการ (กระสอบ) และมีส่วนเป็นหน่วยที่โจทย์กำหนด (g) คือ \(\frac{365 \; \text{วัน}}{1 \; \text{ปี}} \times \frac{1 \; kg}{1{,}000 \; g} \times \frac{1 \; \text{กระสอบ}}{140 \; kg}\) เพื่อให้ได้หน่วยเป็นกระสอบต่อปีตามที่ต้องการ
เราจะได้ \( \begin{aligned}[t] &= 420 \; \frac{\cancel{g}}{\cancel{\text{วัน}}} \times \frac{365 \; \cancel{\text{วัน}}}{1 \; \text{ปี}} \times \frac{1 \; \cancel{kg}}{1{,}000 \; \cancel{g}} \times \frac{1 \; \text{กระสอบ}}{140 \; \cancel{kg}} \\
&= \frac{420 \times 365}{1{,}000 \times 140} \, \;\; \text{กระสอบ}/\text{ปี} \\[6pt]
&= 1.095 \;\; \text{กระสอบ}/\text{ปี} \end{aligned}\)
\(\therefore\) เราบริโภคข้าว 1.095 กระสอบ/ปี
- แท่งแก้วยาว 1.25 เมตร มีความยาวเท่าใดในหน่วยมิลลิเมตร (1 cm = 10 mm, 1 m = 100 cm)
วิธีทำ
- เขียนแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วยได้ดังนี้
- \(\frac{1 \; cm}{10 \; mm} \;\) หรือ \(\; \frac{10 \; mm}{1 \; cm}\;\)
- \( \frac{1 \; m}{100 \; cm} \;\) หรือ \(\; \frac{100 \; cm}{1 \; m}\;\)
- เลือกใช้อัตราส่วนที่มีเศษเป็นหน่วยที่ต้องการ (mm) และมีส่วนเป็นหน่วยที่โจทย์กำหนด (m) คือ \(\frac{10 \; mm}{1 \; cm} \times \frac{100 \; cm}{1 \; m}\) เพื่อให้ได้หน่วยเป็นมิลลิเมตรตามที่ต้องการ
เราจะได้ \( \begin{aligned}[t] &= 1.25 \; \cancel{m} \times \frac{10 \; mm}{1 \; \cancel{cm}} \times \frac{100 \; \cancel{cm}}{1 \; \cancel{m}} \\
&= 1.25 \times 10 \times 100 \;\; mm \\[6pt]
&= 1,250 \;\; mm \end{aligned}\)
\(\therefore\) แท่งแก้วยาวเท่ากับ 1,250 มิลลิเมตร
- ระยะทาง 10 เซนติเมตร มีความยาวเท่ากับกี่ pm (1 cm = 10-2 m, 1 pm = 10-12 m)
วิธีทำ
- เขียนแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วยได้ดังนี้
- \(\frac{1 \; cm}{10^{-2} \; m} \;\) หรือ \(\; \frac{10^{-2} \; m}{1 \; cm}\;\)
- \( \frac{1 \; pm}{10^{-12} \; m} \;\) หรือ \(\; \frac{10^{-12} \; m}{1 \; pm}\;\)
- เลือกใช้อัตราส่วนที่มีเศษเป็นหน่วยที่ต้องการ (pm) และมีส่วนเป็นหน่วยที่โจทย์กำหนด (cm) คือ \(\frac{1 \; pm}{10^{-12} \; m} \times \frac{10^{-2} \; m}{1 \; cm}\) เพื่อให้ได้หน่วยเป็น pm ตามที่ต้องการ
เราจะได้ \( \begin{aligned}[t] &= 10 \; \cancel{cm} \times \frac{1 \; pm}{10^{-12} \; \cancel{m}} \times \frac{10^{-2} \; \cancel{m}}{1 \; \cancel{cm}} \\
&= \frac{10 \times 10^{-2}}{10^{-12}} \;\; pm \\[6pt]
&= 10^{11} \;\; pm \end{aligned}\)
\(\therefore\) ระยะทาง 10 เซนติเมตร มีความยาวเท่ากับ 1011 pm
- ฟาร์มโคนมแห่งหนึ่ง มีโคนม 200 ตัว โคนมหนึ่งตัว ให้นมได้เฉลี่ยสัปดาห์ละ 5 ลิตร บรรจุใส่ขวด ขวดละ 500 cm3 ขายได้กำไรขวดละ 1.40 บาท ฟาร์มนี้ได้กำไรวันละกี่บาท
วิธีทำ
- โคนมหนึ่งตัว ให้นมได้เฉลี่ยสัปดาห์ละ 5 ลิตร แสดงว่า ให้นมได้ \(\frac{5 \; \text{ลิตร}}{1 \; \text{สัปดาห์}}\) และ บรรจุใส่ขวด ขวดละ 500 cm3 แสดงว่า \(\frac{500 \; cm^3}{1 \; \text{ขวด}}\)
- เขียนแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วยได้ดังนี้
- \(\frac{5 \; \text{ลิตร}}{1 \; \text{สัปดาห์}} \;\) หรือ \(\; \frac{1 \; \text{สัปดาห์}}{5 \; \text{ลิตร}}\;\)
- \(\frac{7 \; \text{วัน}}{1 \; \text{สัปดาห์}} \;\) หรือ \(\; \frac{1 \; \text{สัปดาห์}}{7 \; \text{วัน}}\;\)
- \( \frac{500 \; cm^3}{1 \; \text{ขวด}} \;\) หรือ \(\; \frac{1 \; \text{ขวด}}{500 \; cm^3}\;\)
- \( \frac{1 \; \text{ลิตร}}{1{,}000 \; cm^3} \;\) หรือ \(\; \frac{1{,}000 \; cm^3}{1 \; \text{ลิตร}}\;\)
- \( \frac{1.40 \; \text{บาท}}{1 \; \text{ขวด}} \;\) หรือ \(\; \frac{1 \; \text{ขวด}}{1.40 \; \text{บาท}}\;\)
- เลือกใช้อัตราส่วนที่มีเศษเป็นหน่วยที่ต้องการ (บาท) และมีส่วนเป็นหน่วยที่โจทย์กำหนด (ตัว) คือ \(\frac{5 \; \text{ลิตร}}{1 \; \text{สัปดาห์}} \times \frac{1 \; \text{สัปดาห์}}{7 \; \text{วัน}} \times \frac{1{,}000 \; cm^3}{1 \; \text{ลิตร}} \times \frac{1 \; \text{ขวด}}{500 \; cm^3} \times \frac{1.40 \; \text{บาท}}{1 \; \text{ขวด}}\) เพื่อให้ได้หน่วยเป็นบาทตามที่ต้องการ
เราจะได้ \( \begin{aligned}[t] &= 200 \; \cancel{ตัว} \times \frac{\frac{5 \; \cancel{\text{ลิตร}}}{1 \; \cancel{\text{สัปดาห์}}} \times \frac{1 \; \cancel{\text{สัปดาห์}}}{7 \; \text{วัน}} \times \frac{1{,}000 \; \cancel{cm^3}}{1 \; \cancel{\text{ลิตร}}} \times \frac{1 \; \cancel{\text{ขวด}}}{500 \; \cancel{cm^3}} \times \frac{1.40 \; \text{บาท}}{1 \; \cancel{\text{ขวด}}}}{1 \; \cancel{\text{ตัว}}} \\
&= \frac{200 \times 5 \times 1{,}000 \times 1.40}{7 \times 500}\;\; \text{บาท}/\text{วัน} \\[6pt]
&= 400 \;\; \text{บาท}/\text{วัน} \end{aligned}\)
\(\therefore\) ฟาร์มโคนมแห่งนี้ ได้กำไรวันละ 400 บาท
- รถแล่นด้วยความเร็ว 90 km/hr จงเปลี่ยนหน่วยจาก km/hr ให้เป็น m/s (1000 m = 1 km, 60 s = 1 min, 60 min = 1 h)
วิธีทำ
- เขียนแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วยได้ดังนี้
- \(\frac{1{,}000 \; m}{1 \; km} \;\) หรือ \(\; \frac{1 \; km}{1{,}000 \; m}\;\)
- \( \frac{60 \; s}{1 \; min} \;\) หรือ \(\; \frac{1\; min}{60 \; s}\;\)
- \( \frac{60 \; min}{1 \; hr} \;\) หรือ \(\; \frac{1\; hr}{60 \; min}\;\)
- เลือกใช้อัตราส่วนที่มีเศษเป็นหน่วยที่ต้องการ (m/s) และมีส่วนเป็นหน่วยที่โจทย์กำหนด (km/hr) คือ \(\frac{1{,}000 \; m}{1 \; km} \times \frac{1\; hr}{60 \; min} \times \frac{1\; min}{60 \; s}\) เพื่อให้ได้หน่วยเป็น m/s ตามที่ต้องการ
เราจะได้ \( \begin{aligned}[t] &= 90 \; \frac{\cancel{km}}{\cancel{hr}} \times \frac{1{,}000 \; m}{1 \; \cancel{km}} \times \frac{1\; \cancel{hr}}{60 \; \cancel{min}} \times \frac{1\; \cancel{min}}{60 \; s} \\
&= \frac{90 \times 1{,}000}{60 \times 60} \;\; m/s \\[6pt]
&= 25 \;\; m/s \end{aligned}\)
\(\therefore\) รถแล่นด้วยความเร็ว 90 km/hr คิดเป็น 25 m/s