ข้อสอบ ความถนัดทั่วไป (GAT1)
คะแนนเต็ม 150 คะแนน เวลาในการทำข้อสอบ 1 ชั่วโมง 30 นาที
บทความที่ 1 – อนาคตของประเทศ บทวิเคราะห์จากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑
ขณะนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 สำหรับช่วงปี พ.ศ. 2555-2559 ได้ประกาศออกมาแล้ว แผนฉบับนี้วิเคราะห์ว่าสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตจะมีอะไรบ้างเกิดขึ้น ซึ่งที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงระดับโลกและระดับประเทศที่มีผลกระทบต่อไทย การเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็ทำให้เกิดความเสี่ยงในการพัฒนาประเทศ เช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่ทำให้เกิดภัยพิบัติรุนแรง ซึ่งเราเองก็โดนเรื่องน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปีที่แล้ว บางอย่างก็ทำให้เกิดทั้งความเสี่ยงและโอกาสในการพัฒนาประเทศ
ในฐานะเยาวชนของชาติ นักเรียนจำเป็นต้องรู้ว่าอนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไร จึงขอนำสาระสำคัญบางส่วนที่วิเคราะห์ไว้ในแผนฉบับนี้มาถ่ายทอดให้ทราบ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงบางประการที่ทำให้เกิดทั้งโอกาสและความเสี่ยงในการพัฒนาประเทศ ได้แก่ การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลาง ปัญหาความมั่นคงทางอาหารและพลังงานของโลก และการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเรา เป็นต้น
การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลาง เช่น การรวมกลุ่มภายใต้กรอบการค้าเสรีของอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย ถ้าเราเตรียมการไว้พร้อม ผลของการเปลี่ยนแปลงนี้ก็จะเป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศ แต่หากเราไม่พร้อมก็ย่อมเป็นความเสี่ยงที่น่าวิตก
ปัญหาสำคัญระดับโลกประการต่อมาคือปัญหาความมั่นคงทางด้านอาหาร ความต้องการสินค้าอาหารจะสูงขึ้นจากการเพิ่มประชากรโลก แต่การผลิตจะลดลงด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ในฐานะที่ไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลกก็ควรมีผลเป็นโอกาส แต่หากเราประมาทโอกาสก็จะกลายเป็นความเสี่ยง เพราะต้องแข่งขันกับประเทศในอาเซียนด้วยกันเช่นเวียดนาม
สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจของไทย แนวโน้มอัตราการขยายตัวและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการท่องเที่ยว มีการเชื่อมโยงทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะด้านการค้าและการลงทุน ถ้าเราสามารถแก้ไขจุดอ่อนเช่น กฎหมายกติกา และระเบียบทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการจัดระบบการแข่งขันที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจก็จะเกิดเป็นโอกาส แต่ถ้าทำไม่ได้หรือทำล่าช้า ก็ย่อมเป็นความเสี่ยง
เพื่อให้เราสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องเสริมสร้างภูมิคุ้นกันประเทศ ได้แก่ ยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งยึดโยงคนในชาติให้เกาะเกี่ยวกันอย่างแน่นแฟ้น วิจัยและพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาประเทศและการพัฒนาศักยภาพของคนไทย ส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงามซึ่งยึดโยงคนไทยให้เป็นปึกแผ่นและลดความขัดแย้งในสังคมไทย ส่งเสริมภาคการเกษตรซึ่งเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นให้เป็นพลังหลักในการ
พัฒนาฐานรากของประเทศให้มั่นคง ภูมิคุ้มกันดังกล่าวจะช่วยทำให้เกิดโอกาสและลดความเสี่ยงในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | ||
---|---|---|---|---|
01 | การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจของไทย | |||
02 | ความเสี่ยงในการพัฒนาประเทศ | |||
03 | ปัญหาความมั่นคงทางด้านอาหาร | |||
04 | พัฒนาความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย | |||
05 | เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลาง | |||
06 | ส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม | |||
07 | ส่งเสริมภาคการเกษตร | |||
08 | สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต | |||
09 | สร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น | |||
10 | โอกาสในการพัฒนาประเทศ |
บทความที่ 2 – แผนป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย
เมื่อกลางเดือนมกราคม พ.ศ.2555 เลขาธิการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อวางระบบและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ให้สัมภาษณ์ สื่อมวลชนเรื่องแผนระยะสั้นและระยะยาวเพื่อป้องกันและและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซึ่งที่ประชุม กยน. ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 6 มกราคม โดยอธิบายว่าเริ่มต้นด้วยการพิจารณาปัญหาที่ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปีที่แล้ว ที่สาคัญได้แก่ ปริมาณน้ำฝนมากขึ้นถึงร้อยละ 40 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาในการกำหนดปริมาณน้ำในเขื่อนที่จะกักเก็บไว้ใช้ในหน้าแล้ง ปัญหาต่อมาคือพื้นที่แถบต้นน้ำถูกบุกรุกทำลาย จนไม่มีป่าไม้เพียงพอที่จะดูดซับและชะลอน้ำ ปัญหาอีกอย่างหนึ่งซึ่งเห็นได้ชัดเมื่อปีที่แล้วคือ ไม่มีระบบฐานข้อมูลน้ำที่ชัดเจนและแม่นยำว่าจะมีน้ำมากน้อยเพียงใด จะไหลท่วมท้นไปที่ไหนบ้าง ปัญหาสุดท้ายคือแหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติถูกบุกรุก ซึ่งนอกจากจะทำให้พื้นที่รองรับน้ำลดลง ยังกีดขวางทางไหลของน้ำอีกด้วย เลขาธิการ กยน.กล่าวว่าปัญหาสำคัญทั้ง 4 อย่างนี่เองคือที่มาของแผนระยะสั้นและแผนระยะยาวซึ่งประกอบด้วยแผนงาน 8 แผน บางแผนจัดเป็นแผนระยะยาวอย่างเดียว บางแผนจัดเป็นทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว กล่าวคือ
- แผนงานฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าและระบบนิเวศน์ โดยเฉพาะป่าไม้ในพื้นที่ตอนบนซึ่งเป็นแหล่งต้นน้้ำสาคัญและช่วยชะลอน้ำฝนไม่ให้ไหลหลากลงมาอย่างรวดเร็ว แผนนี้เป็นแผนระยะยาว
- แผนบริหารจัดการเขื่อนเก็บน้ำและการจัดการน้ำของประเทศ ในระยะสั้นถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องนำข้อมูลน้ำปีที่แล้วมาใช้ในการพิจารณาปริมาณน้ำที่จะกักเก็บไว้ในเขื่อนให้เหมาะสม ส่วนระยะยาวต้องบริหารจัดการลุ่มน้ำและแหล่งน้ำทั้งหมดในประเทศ
- แผนฟื้นฟูและปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างเดิม คือปรับปรุงคันกั้นน้ำและประตูระบายน้ำที่ชำรุด ขุดลอกคูคลองและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำขวางทางน้ำ แผนนี้เป็นทั้งแผนระยะสั้นและยาว
- แผนพัฒนาคลังข้อมูลระบบพยากรณ์ และเตือนภัย เรื่องข้อมูลเป็นปัญหามากเมื่อปีกลาย ระยะสั้นต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วนให้ทันปีนี้ ส่วนระยะยาวต้องปรับปรุงให้เป็นระบบและทันสมัย
- แผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่สำคัญ เช่นเขตเศรษฐกิจในตัวเมือง เขตนิคมอุตสาหกรรม และเขตโบราณสถานของชาติ แผนนี้จัดเป็นแผนระยะสั้นและระยะยาวเช่นกัน
- แผนกำหนดพื้นที่รองรับน้ำนอง เป็นแผนทั้งสองระยะ ปีนี้ตั้งเป้าว่าต้องเร่งหาพื้นที่รองรับน้ำให้ได้ถึงสองล้านไร่ ระยะยาวต้องพัฒนาแก้มลิงเพิ่มเติม รวมทั้งสร้าง flood way ให้ได้
- แผนปรับปรุงองค์กรบริหารจัดการน้ำ ระยะสั้นต้องรวมศูนย์การบริหารและตัดสินใจสั่งการเรื่องน้ำ ส่วนระยะราวต้องปรับปรุงองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดซึ่งขณะนี้มีหลากหลายองค์กรมาก
- แผนงานสร้างความเข้าใจ ยอมรับและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม เข้าใจ และยอมรับแผนต่างๆ จะได้ลดความขัดแย้งซึ่งเกิดขึ้นมากเมื่อปีกลาย
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเองก็บอกว่าถึงจะมีหลายแผนที่เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว แต่ก็ไม่อาจรับประกันได้ว่าจะไม่มีปัญหาน้ำท่วม แต่ถึงมีก็จะไม่รุนแรงเหมือนปีที่แล้ว ดังนั้นเราจะต้องไม่ประมาท ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด จะได้วางแผนเตรียมการรับมือได้ทันท่วงที
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | ||
---|---|---|---|---|
11 | น้ำฝนมากขึ้นถึงร้อยละ 40 | |||
12 | ปัญหาที่ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ | |||
13 | แผนกาหนดพื้นที่รองรับน้ำนอง | |||
14 | แผนงานฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าและระบบนิเวศน์ | |||
15 | แผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่ | |||
16 | แผนฟื้นฟูและปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างเดิม | |||
17 | แผนระยะยาว | |||
18 | แผนระยะสั้น | |||
19 | พื้นที่แถบต้นน้ำถูกบุกรุกทำลาย | |||
20 | แหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติถูกบุกรุก |
เฉลย
บทความที่ 1 – อนาคตของประเทศ บทวิเคราะห์จากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | |||
---|---|---|---|---|---|
01 | การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจของไทย | 02A | 10A | ||
02 | ความเสี่ยงในการพัฒนาประเทศ | 99H | |||
03 | ปัญหาความมั่นคงทางด้านอาหาร | 02A | 10A | ||
04 | พัฒนาความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย | 02F | 10A | ||
05 | เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลาง | 02A | 10A | ||
06 | ส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม | 02F | 10A | ||
07 | ส่งเสริมภาคการเกษตร | 02F | 10A | ||
08 | สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต | 01D | 03D | 05D | |
09 | สร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น | 02F | 10A | ||
10 | โอกาสในการพัฒนาประเทศ | 99H |
บทความที่ 2 – แผนป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | |||
---|---|---|---|---|---|
11 | น้ำฝนมากขึ้นถึงร้อยละ 40 | 17A | 18A | ||
12 | ปัญหาที่ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ | 11D | 19D | 20D | |
13 | แผนกาหนดพื้นที่รองรับน้ำนอง | 99H | |||
14 | แผนงานฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าและระบบนิเวศน์ | 99H | |||
15 | แผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่ | 99H | |||
16 | แผนฟื้นฟูและปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างเดิม | 99H | |||
17 | แผนระยะยาว | 13D | 14D | 15D | 16D |
18 | แผนระยะสั้น | 13D | 15D | 16D | |
19 | พื้นที่แถบต้นน้ำถูกบุกรุกทำลาย | 17A | 18A | ||
20 | แหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติถูกบุกรุก | 17A | 18A |