แนวข้อสอบ ชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง

  1. การทำให้วัฏจักรของคัลวินดำเนินไป 1 รอบ (หรือเทียบได้เท่ากับการตรึง \(\ce{CO2}\) 1 โมเลกุล) ใช้พลังงานโดยเฉลี่ยเท่ากับ
    1. 3 NADPH + 3 ATP
    2. 3 NADPH + 2 ATP
    3. 2 NADPH + 3 ATP
    4. 12 ATP
  2. ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้ปริมาณแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้น นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าในอนาคต แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศอาจเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า สภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อพืชอย่างไร
    1. พืชทุกชนิดจะมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มสูงขึ้น
    2. ส่งผลให้พืช C3 เจริญเติบโตดีขึ้น แต่ส่งผลน้อยมากต่อพืช C4
    3. ส่งผลให้พืช C4 เจริญเติบโตดีขึ้น แต่ส่งผลน้อยมากต่อพืช C3
    4. ส่งผลให้พืช C3 เจริญเติบโตดีขึ้น แต่ส่งผลให้พืช C4 เจริญเติบโตน้อยลง
  3. การทดลองโดยใช้สาหร่ายสีเขียวชื่อ Chlorella ใส่ในน้ำผ่านแสงและให้คาร์บอนกัมมันตรังสี เพื่อให้เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง แล้วหยุดปฏิกิริยาของการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นระยะๆ เมื่อตรวจดูสารประกอบที่เกิดขึ้น พบว่า
    1. เกิดน้ำตาลกลูโคสขึ้นก่อนออกซิเจน
    2. เกิดสารประกอบที่มีคาร์บอน 2 อะตอมขึ้น
    3. เกิด PGA ก่อน แล้วจึงเกิดน้ำตาลกลูโคส
    4. เกิด G3P ก่อน แล้วจึงเกิด PGA
  4. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
    1. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฎจักรเกี่ยวข้องกับระบบแสง 1 และ 2
    2. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฎจักรเกี่ยวข้องกับระบบแสง 1 เท่านั้น
    3. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฎจักรได้ ATP และ NADPH
    4. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฎจักรจะไม่เกิด \(\ce{O2}\)
  5. \(\ce{CO2}\) เข้ามาร่วมในปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงในช่วงใด
    1. วัฏจักรคัลวิน
    2. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน
    3. Hill reaction
    4. Light reaction
  6. ข้อใดเป็นจริงเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของข้าวโพด
    1. พบ RuBP เฉพาะในเซลล์ชั้นมีโซฟิลล์
    2. มีการตรึง \(\ce{O2}\) ครั้งแรกที่บันเดิลชีท
    3. มีการผลิตสาร \(\ce{C4}\) ในมีโซฟิลล์ และผลิตสาร \(\ce{C3}\) ในเซลล์บันเดิลชีท
    4. ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
  7. ส่วนใดของคลอโรพลาสต์ที่มีเอนไซม์เกี่ยวกับกระบวนการสังเคราห์ด้วยแสง
    1. คลอโรฟิลล์
    2. กรานุม
    3. เยื่อไทลาคอยด์
    4. สโตรมา
  8. พืชดอกสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีที่สุด เมื่อได้รับแสงสีใด
    1. สีส้มและสีเหลือง
    2. สีน้ำเงินและสีเขียว
    3. สีน้ำเงินและสีแดง
    4. สีแดงและสีเหลือง
  9. จากแผนภาพคลอโรพลาสต์ การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักรเกิดขึ้นที่บริเวณใด (a – d)

    1. a แห่งเดียว
    2. d แห่งเดียว
    3. c และ d
    4. a และ b
  10. หน้าที่พื้นฐานของปฏิกิริยาแสงในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคือข้อใด
    1. สร้าง \(\ce{NADPH}\) เพื่อใช้สำหรับหายใจ
    2. สร้าง \(\ce{ATP}\) และ \(\ce{NADPH+}\)
    3. เปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานแสง
    4. ผลิตสร้างน้ำตาลจาก \(\ce{CO2}\)
  11. กระบวนการใดเกิดขึ้นทั้งในพืช C3 พืช C4 และ CAM
    1. Calvin cycle
    2. Photorespiration
    3. Hatch – Slack pathway
    4. Crassulacean acid metabolism
  12. ข้อใดเป็นผลผลิตของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
    1. แป้ง และ น้ำตาล
    2. น้ำ และ ออกซิเจน
    3. ออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์
    4. น้ำตาล และ ออกซิเจน
  13. ในวัฏจักรคัลวินของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้น \(\ce{CO2}\) ทำปฏิกิริยากับสารใด
    1. \(\ce{RuBP}\)
    2. \(\text{G3P}\)
    3. \(\ce{PGA}\)
    4. \(\ce{Hydrogen}\)
  14. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับพืช C3 C4 และ CAM
    1. พืช CAM จะปิดปากใบตอนกลางวัน
    2. กระบองเพชร เป็นพืช C3
    3. ผักกาด ผักคะน้า ใช้ \(\ce{PEP}\) ในการตรึง \(\ce{CO2}\)
    4. พืช C3 เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี
  15. สารอินทรีย์ชนิดแรกที่เป็นผลลัพธ์ของการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C4 คือข้อใด
    1. กรดออกซาโลแอซีติก (OAA)
    2. กรดฟอสโฟกลีเซอริก (PGA)
    3. กรดฟอสโฟกลีเซอรัลดีไฮด์ (PGAL)
    4. กรดมาลิก (Malic acid) หรือ แอสปาร์ติก (Aspartic acid)
  16. ข้อใดคือสิ่งที่ไม่จำเป็นในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักรของปฏิกิริยาใช้แสง
    1. ADP
    2. น้ำ
    3. ไซโตโครม
    4. คลอโรฟิลล์
  17. ข้อใดกล่าวถึงพืช CAM ไม่ถูกต้อง
    1. พืช CAM มีความเข้มข้นของ \(\ce{CO2}\) เกิดโฟโตเรสไพเรชันได้มาก
    2. พืช CAM ปิดปากใบเวลากลางวันและเปิดปากใบเวลากลางคืน
    3. พืช CAM จะเกิดวัฏจักรคัลวินในเซลล์มีโซฟิลล์เวลากลางวัน
    4. พืช CAM มีการตรึง \(\ce{CO2}\) 2 ครั้ง ในเซลล์มีโซฟิลล์ทั้งสองครั้ง
  18. ข้อใดกล่าวถูกต้องสำหรับปฏิกิริยาแสง (light reaction)
    1. กลุ่มโปรตีนสำคัญในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในปฏิกิริยาแสงมีเพียง 2 กลุ่ม คือ ระบบแสง I ระบบแสง II
    2. คลอโรฟิลล์ทุกโมเลกุลในระบบแสง สามารถเป็นตัวให้อิเล็กตรอนในปฏิกิริยาแสง หากได้รับคลื่นแสงที่เหมาะสม
    3. ATP synthase ที่อยู่บริเวณเนื้อเยื่อไทลาคอยด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการสร้าง ATP ในปฏิกิริยาแสง
    4. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักรทำให้ได้ NADH
  19. ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
    1. PGA ในใบคงที่ เมื่อใบได้รับแสง และ \(\ce{CO2}\) เพียงพอ
    2. PGA ในใบลดลง เมื่อใบได้รับแสง แต่มี \(\ce{CO2}\) ไม่เพียงพอ
    3. PGA ในใบคงที่ เมื่อใบไม่ได้รับแสง ขณะที่มี \(\ce{CO2}\) เพียงพอ
    4. PGA ในใบเพิ่มขึ้น เมื่อใบไม่ได้รับแสง ขณะที่มี \(\ce{CO2}\) เพียงพอ
  20. จากการทดสอบหาแป้งในใบชบาด่างพบว่า บริเวณสีเขียวมีแป้ง บริเวณสีขาวไม่มีแป้ง ผลการทดลองนี้อธิบายได้ในข้อใด
    1. บริเวณสีขาวไม่มีแป้ง
    2. คลอโรฟิลล์จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง
    3. บริเวณที่มีการสังเคราะห์แสงคือใบ
    4. แสงจำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง
  21. สารที่ทําหน้าที่รับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายของการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร (Non-cyclic electron transfer) ของปฏิกิริยาใช้แสง คือสารใด
    1. \(\ce{ATP}\)
    2. \(\ce{Ferredoxin}\)
    3. \(\ce{NADP+}\)
    4. \(\ce{NADPH + H+}\)
  22. โปรตีนเชิงซ้อนที่ไม่ได้ทำหน้าที่ในขั้นตอนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในคลอโรพลาสต์ คือข้อใด
    1. ATP synthase
    2. Photosystem I
    3. Photosystem I
    4. Cytochrome b6f complex
  23. ข้อใดเปรียบเทียบการตรึง \(\ce{CO2}\) จากอากาศของพืชไม่ถูกต้อง
    การตรึง \(\ce{CO2}\) จากอากาศ พืช \(\ce{C3}\) พืช \(\ce{C4}\) พืช \(\ce{CAM}\)
    1. เอนไซม์ที่ใช้ Rubisco PEP carboxylase PEP carboxylase
    2. สารที่ใช้ในการตรึง \(\ce{CO2}\) \(\ce{RuBP}\) \(\ce{PEP}\) \(\ce{PEP}\)
    3. ช่วงเวลาที่เกิด กลางวัน กลางคืน กลางวัน
    4. ผลิตภัณฑ์ที่เกิดตัวแรก \(\ce{PGA}\) \(\ce{OAA}\) \(\ce{OAA}\)
  24. จากภาพ ข้อใดถูกต้อง

    1. พืช ก ปรับตัวต่อความเข้มแสงต่ำได้ดีกว่าพืช ข
    2. พืช ข ปรับตัวต่อความเข้มแสงสูงได้ดีกว่าพืช ก
    3. จุดอิ่มตัวของแสง (Light saturation point) ของพืช ก สูงกว่าพืช ข
    4. เมื่อปลูกพืชทั้งสองชนิดในที่ที่มีความเข้มของแสงลดลงเป็นลำดับพืชทั้งสองชนิดจะตายพร้อมกัน
  25. เราสามารถพบคลอโรฟิลล์ได้ที่ส่วนประกอบใดของคลอโรพลาสต์
    1. Inner-membrane
    2. Lumen
    3. Stroma
    4. Thylakoid membrane
  26. รงควัตถุชนิดใดที่สามารถพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้
    1. คลอโรฟิลล์
    2. แคโรทีนอยด์
    3. แบคทีริโอคลอโรฟิลล์
    4. ไฟโคบิลิน
  27. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักรในปฏิกิริยาใช้แสงเกี่ยวข้องกับระบบแสงใด
    1. P450
    2. P680
    3. P700
    4. ทั้ง P680 และ P700
  28. จากกราฟ แสดงอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเมื่ออุณหภูมิของใบเพิ่มขึ้น ข้อใดถูกต้อง

    1. A คือ อ้อย
    2. A คือ ข้าวฟ่าง
    3. B คือ ข้าวเจ้า
    4. B คือ ข้าวโพด
  29. หากน้ำในสระที่มีพืชน้ำขึ้นอยู่ตามปกติ ในวันหนึ่งจะมีสภาพความเป็นกรดสูงสุดเมื่อใด
    1. เช้า
    2. เย็น
    3. กลางวัน
    4. กลางคืน
  30. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นในเวลาใด
    1. กลางวันเท่านั้น
    2. กลางคืนเท่านั้น
    3. ทั้งกลางวันและกลางคืน
    4. ตลอดเวลาที่มีแสงสว่าง
  31. เซลล์ที่สังเคราะห์อาหารต้องการพลังงานจากแสงเพื่ออะไร
    1. สร้างคลอโรฟิลล์เพิ่มขึ้น
    2. ส่งไฮโดรเจนไปให้ \(\ce{NADP+}\)
    3. กระตุ้นให้อิเล็กตรอนในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์หลุดออกจากคลอโรฟิลล์
    4. ถ่ายทอดพลังงานจากคลอโรฟิลล์ให้กับน้ำ
  32. ออกซิเจนที่เกิดขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นมาจากที่ใด
    1. \(\ce{H2O}\)
    2. \(\ce{CO2}\)
    3. โมเลกุลของคลอโรฟิลล์
    4. อากาศ
  33. คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้น ทําหน้าที่อะไร
    1. จับคาร์บอนไดออกไซด์
    2. ดูดกลืนพลังงานแสง
    3. รีดิวซ์คาร์บอนไดออกไซด์
    4. สร้างกลูโคส
  34. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
    1. เฉพาะพืชเท่านั้นที่สามารถเกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงได้
    2. ปากใบทำหน้าที่ให้ \(\ce{CO2}\) ผ่านเข้าสู่ใบ และปล่อย \(\ce{O2}\) ออกสู่บรรยากาศ
    3. ใบพืชมีสีเขียวเนื่องจากมีรงควัตถุดูดกลืนแสงสีเขียว
    4. ออกซิเจนที่เป็นองค์ประกอบของน้ำตาลกลูโคสได้มาจากโมเลกุลน้ำ
  35. การสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียบางชนิดแตกต่างจากพืชทั่วไป คือ
    1. แบคทีเรียไม่ต้องอาศัยพลังงานแสง
    2. แบคทีเรียไม่ได้ใช้น้ำเป็นวัตถุดิบ
    3. แบคทีเรียไม่ใช้คลอโรฟิลล์
    4. แบคทีเรียไม่ต้องใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
  36. พืชที่อยู่แถบทะเลทรายจะไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีในตอนเที่ยงวัน ทั้งนี้เพราะ
    1. คลื่นแสงไม่เหมาะสมสำหรับสังเคราะห์ด้วยแสง
    2. เอนไซม์ในกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ถูกห้าม
    3. \(\ce{CO2}\) มีโอกาสผ่านเข้าสู่ใบได้ยาก
    4. ขาดน้ำที่จะไปทำปฏิกิริยาใน Light Reaction
  37. ข้อใดไม่ใช่พืช \(\ce{C4}\)
    1. ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
    2. อ้อย บานไม่รู้โรย
    3. ผักโขมจีน ข้าวฟ่าง
    4. หญ้าแห้วหมู กล้วยไม้
  38. การสร้าง PGA ของพืช CAM เกิดขึ้นที่ใด
    1. Mesophyll
    2. Sponge cell
    3. Palisade cell
    4. Bundle sheath
  39. ข้อใดเป็นจริงเกี่ยวกับการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช CAM
    1. ตรึง \(\ce{CO2}\) ครั้งเดียวในเวลากลางวัน เกิดที่มีโซฟิลล์
    2. ตรึง \(\ce{CO2}\) ครั้งเดียวในเวลากลางคืน เกิดที่บันเดิลชีท
    3. ตรึง \(\ce{CO2}\) 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ในเวลากลางวัน เกิดที่มีโซฟิลล์ ครั้งที่ 2 ในเวลากลางคืน เกิดที่บันเดิลชีท
    4. ตรึง \(\ce{CO2}\) 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ในเวลากลางคืน เกิดที่มีโซฟิลล์ ครั้งที่ 2 ในเวลากลางวัน เกิดที่บันเดิลชีท
  40. ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
    1. พืชแต่ละชนิดมีความต้องการแสงในช่วงเวลาต่างๆเหมือนกัน
    2. อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแต่ละชนิดจะแปรผันตามปริมาณของแสงสีต่างๆ
    3. พืชทุกชนิดมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเหมือนกัน
    4. พืชมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงในแสงสีเข้มมากกว่าแสงสีอ่อน
ดูเฉลยคำตอบ
  1. การทำให้วัฏจักรของคัลวินดำเนินไป 1 รอบ (หรือเทียบได้เท่ากับการตรึง \(\ce{CO2}\) 1 โมเลกุล) ใช้พลังงานโดยเฉลี่ยเท่ากับ
    1. 3 NADPH + 3 ATP
    2. 3 NADPH + 2 ATP
    3. 2 NADPH + 3 ATP
    4. 12 ATP
  2. ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้ปริมาณแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้น นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าในอนาคต แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศอาจเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า สภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อพืชอย่างไร
    1. พืชทุกชนิดจะมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มสูงขึ้น
    2. ส่งผลให้พืช C3 เจริญเติบโตดีขึ้น แต่ส่งผลน้อยมากต่อพืช C4
    3. ส่งผลให้พืช C4 เจริญเติบโตดีขึ้น แต่ส่งผลน้อยมากต่อพืช C3
    4. ส่งผลให้พืช C3 เจริญเติบโตดีขึ้น แต่ส่งผลให้พืช C4 เจริญเติบโตน้อยลง
  3. การทดลองโดยใช้สาหร่ายสีเขียวชื่อ Chlorella ใส่ในน้ำผ่านแสงและให้คาร์บอนกัมมันตรังสี เพื่อให้เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง แล้วหยุดปฏิกิริยาของการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นระยะๆ เมื่อตรวจดูสารประกอบที่เกิดขึ้น พบว่า
    1. เกิดน้ำตาลกลูโคสขึ้นก่อนออกซิเจน
    2. เกิดสารประกอบที่มีคาร์บอน 2 อะตอมขึ้น
    3. เกิด PGA ก่อน แล้วจึงเกิดน้ำตาลกลูโคส
    4. เกิด G3P ก่อน แล้วจึงเกิด PGA
  4. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
    1. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฎจักรเกี่ยวข้องกับระบบแสง 1 และ 2
    2. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฎจักรเกี่ยวข้องกับระบบแสง 1 เท่านั้น
    3. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฎจักรได้ ATP และ NADPH
    4. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฎจักรจะไม่เกิด \(\ce{O2}\)
  5. \(\ce{CO2}\) เข้ามาร่วมในปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงในช่วงใด
    1. วัฏจักรคัลวิน
    2. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน
    3. Hill reaction
    4. Light reaction
  6. ข้อใดเป็นจริงเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของข้าวโพด
    1. พบ RuBP เฉพาะในเซลล์ชั้นมีโซฟิลล์
    2. มีการตรึง \(\ce{O2}\) ครั้งแรกที่บันเดิลชีท
    3. มีการผลิตสาร \(\ce{C4}\) ในมีโซฟิลล์ และผลิตสาร \(\ce{C3}\) ในเซลล์บันเดิลชีท
    4. ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
  7. ส่วนใดของคลอโรพลาสต์ที่มีเอนไซม์เกี่ยวกับกระบวนการสังเคราห์ด้วยแสง
    1. คลอโรฟิลล์
    2. กรานุม
    3. เยื่อไทลาคอยด์
    4. สโตรมา
  8. พืชดอกสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีที่สุด เมื่อได้รับแสงสีใด
    1. สีส้มและสีเหลือง
    2. สีน้ำเงินและสีเขียว
    3. สีน้ำเงินและสีแดง
    4. สีแดงและสีเหลือง
  9. จากแผนภาพคลอโรพลาสต์ การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักรเกิดขึ้นที่บริเวณใด (a – d)

    1. a แห่งเดียว
    2. d แห่งเดียว
    3. c และ d
    4. a และ b
  10. หน้าที่พื้นฐานของปฏิกิริยาแสงในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคือข้อใด
    1. สร้าง \(\ce{NADPH}\) เพื่อใช้สำหรับหายใจ
    2. สร้าง \(\ce{ATP}\) และ \(\ce{NADPH+}\)
    3. เปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานแสง
    4. ผลิตสร้างน้ำตาลจาก \(\ce{CO2}\)
  11. กระบวนการใดเกิดขึ้นทั้งในพืช C3 พืช C4 และ CAM
    1. Calvin cycle
    2. Photorespiration
    3. Hatch – Slack pathway
    4. Crassulacean acid metabolism
  12. ข้อใดเป็นผลผลิตของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
    1. แป้ง และ น้ำตาล
    2. น้ำ และ ออกซิเจน
    3. ออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์
    4. น้ำตาล และ ออกซิเจน
  13. ในวัฏจักรคัลวินของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้น \(\ce{CO2}\) ทำปฏิกิริยากับสารใด
    1. \(\ce{RuBP}\)
    2. \(\text{G3P}\)
    3. \(\ce{PGA}\)
    4. \(\ce{Hydrogen}\)
  14. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับพืช C3 C4 และ CAM
    1. พืช CAM จะปิดปากใบตอนกลางวัน
    2. กระบองเพชร เป็นพืช C3
    3. ผักกาด ผักคะน้า ใช้ \(\ce{PEP}\) ในการตรึง \(\ce{CO2}\)
    4. พืช C3 เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี
  15. สารอินทรีย์ชนิดแรกที่เป็นผลลัพธ์ของการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C4 คือข้อใด
    1. กรดออกซาโลแอซีติก (OAA)
    2. กรดฟอสโฟกลีเซอริก (PGA)
    3. กรดฟอสโฟกลีเซอรัลดีไฮด์ (PGAL)
    4. กรดมาลิก (Malic acid) หรือ แอสปาร์ติก (Aspartic acid)
  16. ข้อใดคือสิ่งที่ไม่จำเป็นในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักรของปฏิกิริยาใช้แสง
    1. ADP
    2. น้ำ
    3. ไซโตโครม
    4. คลอโรฟิลล์
  17. ข้อใดกล่าวถึงพืช CAM ไม่ถูกต้อง
    1. พืช CAM มีความเข้มข้นของ \(\ce{CO2}\) เกิดโฟโตเรสไพเรชันได้มาก
    2. พืช CAM ปิดปากใบเวลากลางวันและเปิดปากใบเวลากลางคืน
    3. พืช CAM จะเกิดวัฏจักรคัลวินในเซลล์มีโซฟิลล์เวลากลางวัน
    4. พืช CAM มีการตรึง \(\ce{CO2}\) 2 ครั้ง ในเซลล์มีโซฟิลล์ทั้งสองครั้ง
  18. ข้อใดกล่าวถูกต้องสำหรับปฏิกิริยาแสง (light reaction)
    1. กลุ่มโปรตีนสำคัญในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในปฏิกิริยาแสงมีเพียง 2 กลุ่ม คือ ระบบแสง I ระบบแสง II
    2. คลอโรฟิลล์ทุกโมเลกุลในระบบแสง สามารถเป็นตัวให้อิเล็กตรอนในปฏิกิริยาแสง หากได้รับคลื่นแสงที่เหมาะสม
    3. ATP synthase ที่อยู่บริเวณเนื้อเยื่อไทลาคอยด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการสร้าง ATP ในปฏิกิริยาแสง
    4. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักรทำให้ได้ NADH
  19. ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
    1. PGA ในใบคงที่ เมื่อใบได้รับแสง และ \(\ce{CO2}\) เพียงพอ
    2. PGA ในใบลดลง เมื่อใบได้รับแสง แต่มี \(\ce{CO2}\) ไม่เพียงพอ
    3. PGA ในใบคงที่ เมื่อใบไม่ได้รับแสง ขณะที่มี \(\ce{CO2}\) เพียงพอ
    4. PGA ในใบเพิ่มขึ้น เมื่อใบไม่ได้รับแสง ขณะที่มี \(\ce{CO2}\) เพียงพอ
  20. จากการทดสอบหาแป้งในใบชบาด่างพบว่า บริเวณสีเขียวมีแป้ง บริเวณสีขาวไม่มีแป้ง ผลการทดลองนี้อธิบายได้ในข้อใด
    1. บริเวณสีขาวไม่มีแป้ง
    2. คลอโรฟิลล์จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง
    3. บริเวณที่มีการสังเคราะห์แสงคือใบ
    4. แสงจำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง
  21. สารที่ทําหน้าที่รับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายของการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร (Non-cyclic electron transfer) ของปฏิกิริยาใช้แสง คือสารใด
    1. \(\ce{ATP}\)
    2. \(\ce{Ferredoxin}\)
    3. \(\ce{NADP+}\)
    4. \(\ce{NADPH + H+}\)
  22. โปรตีนเชิงซ้อนที่ไม่ได้ทำหน้าที่ในขั้นตอนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในคลอโรพลาสต์ คือข้อใด
    1. ATP synthase
    2. Photosystem I
    3. Photosystem I
    4. Cytochrome b6f complex
  23. ข้อใดเปรียบเทียบการตรึง \(\ce{CO2}\) จากอากาศของพืชไม่ถูกต้อง
    การตรึง \(\ce{CO2}\) จากอากาศ พืช \(\ce{C3}\) พืช \(\ce{C4}\) พืช \(\ce{CAM}\)
    1. เอนไซม์ที่ใช้ Rubisco PEP carboxylase PEP carboxylase
    2. สารที่ใช้ในการตรึง \(\ce{CO2}\) \(\ce{RuBP}\) \(\ce{PEP}\) \(\ce{PEP}\)
    3. ช่วงเวลาที่เกิด กลางวัน กลางคืน กลางวัน
    4. ผลิตภัณฑ์ที่เกิดตัวแรก \(\ce{PGA}\) \(\ce{OAA}\) \(\ce{OAA}\)
  24. จากภาพ ข้อใดถูกต้อง

    1. พืช ก ปรับตัวต่อความเข้มแสงต่ำได้ดีกว่าพืช ข
    2. พืช ข ปรับตัวต่อความเข้มแสงสูงได้ดีกว่าพืช ก
    3. จุดอิ่มตัวของแสง (Light saturation point) ของพืช ก สูงกว่าพืช ข
    4. เมื่อปลูกพืชทั้งสองชนิดในที่ที่มีความเข้มของแสงลดลงเป็นลำดับพืชทั้งสองชนิดจะตายพร้อมกัน
  25. เราสามารถพบคลอโรฟิลล์ได้ที่ส่วนประกอบใดของคลอโรพลาสต์
    1. Inner-membrane
    2. Lumen
    3. Stroma
    4. Thylakoid membrane
  26. รงควัตถุชนิดใดที่สามารถพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้
    1. คลอโรฟิลล์
    2. แคโรทีนอยด์
    3. แบคทีริโอคลอโรฟิลล์
    4. ไฟโคบิลิน

    รงควัตถุ (pigments) ที่มีอยู่ทั้งในพืช สาหร่าย และแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ คือแคโรทีนอยด์ (Carotenoid)
    รงควัตถุที่พบเฉพาะในสาหร่ายสีแดง และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ไม่พบในพืชและสาหร่ายชนิดอื่น คือ ไฟโคบิลิน
    แบคทีริโอคลอโรฟิลล์ สามารถพบได้ในสาหร่ายสีแดงและแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้
    พืชทุกชนิด จะมีคลอโรฟิลล์ a และ b
    คลอโรฟิลล์ที่มีอยู่ในพืชและสาหร่ายทุกชนิด คือคลอโรฟิลล์ a

  27. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักรในปฏิกิริยาใช้แสงเกี่ยวข้องกับระบบแสงใด
    1. P450
    2. P680
    3. P700
    4. ทั้ง P680 และ P700

    การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร จะเป็นการถ่ายทอดอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องกับทั้งระบบแสง I และระบบแสง II โดยมี NADP+ เป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายได้เป็น NADPH

  28. จากกราฟ แสดงอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเมื่ออุณหภูมิของใบเพิ่มขึ้น ข้อใดถูกต้อง

    1. A คือ อ้อย
    2. A คือ ข้าวฟ่าง
    3. B คือ ข้าวเจ้า
    4. B คือ ข้าวโพด

    ผลของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจะมีความแตกต่างกันในพืช C3 และ C4 โดยเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช C3 จะลดลง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ photorespiration แต่ในพืช C4 ที่มี photorespiration ที่ต่ำ อุณหภูมิที่สูงขึ้น จึงมีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช C4 น้อยมาก

    ดังนั้น เราจะสรุปได้ว่า A คือ พืช C3 และ B คือ พืช C4

  29. หากน้ำในสระที่มีพืชน้ำขึ้นอยู่ตามปกติ ในวันหนึ่งจะมีสภาพความเป็นกรดสูงสุดเมื่อใด
    1. เช้า
    2. กลางวัน
    3. เย็น
    4. กลางคืน
  30. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นในเวลาใด
    1. กลางวันเท่านั้น
    2. กลางคืนเท่านั้น
    3. ทั้งกลางวันและกลางคืน
    4. ตลอดเวลาที่มีแสงสว่าง
  31. เซลล์ที่สังเคราะห์อาหารต้องการพลังงานจากแสงเพื่ออะไร
    1. สร้างคลอโรฟิลล์เพิ่มขึ้น
    2. ส่งไฮโดรเจนไปให้ \(\ce{NADP+}\)
    3. กระตุ้นให้อิเล็กตรอนในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์หลุดออกจากคลอโรฟิลล์
    4. ถ่ายทอดพลังงานจากคลอโรฟิลล์ให้กับน้ำ
  32. ออกซิเจนที่เกิดขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นมาจากที่ใด
    1. \(\ce{H2O}\)
    2. \(\ce{CO2}\)
    3. โมเลกุลของคลอโรฟิลล์
    4. อากาศ
  33. คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้น ทําหน้าที่อะไร
    1. จับคาร์บอนไดออกไซด์
    2. ดูดกลืนพลังงานแสง
    3. รีดิวซ์คาร์บอนไดออกไซด์
    4. สร้างกลูโคส
  34. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
    1. เฉพาะพืชเท่านั้นที่สามารถเกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงได้
    2. ปากใบทำหน้าที่ให้ \(\ce{CO2}\) ผ่านเข้าสู่ใบ และปล่อย \(\ce{O2}\) ออกสู่บรรยากาศ
    3. ใบพืชมีสีเขียวเนื่องจากมีรงควัตถุดูดกลืนแสงสีเขียว
    4. ออกซิเจนที่เป็นองค์ประกอบของน้ำตาลกลูโคสได้มาจากโมเลกุลน้ำ

    แสงสีเขียวนั้นคลอโรฟิลล์ไม่ได้ดูดซับเอาไว้จะสะท้อนออกมาทำให้เห็นคลอโรฟิลล์มีสีเขียว

  35. การสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียบางชนิดแตกต่างจากพืชทั่วไป คือ
    1. แบคทีเรียไม่ต้องอาศัยพลังงานแสง
    2. แบคทีเรียไม่ได้ใช้น้ำเป็นวัตถุดิบ
    3. แบคทีเรียไม่ใช้คลอโรฟิลล์
    4. แบคทีเรียไม่ต้องใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

    แบคทีเรียบางชนิดสารมารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้โดยใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์แทนน้ำ

  36. พืชที่อยู่แถบทะเลทรายจะไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีในตอนเที่ยงวัน ทั้งนี้เพราะ
    1. คลื่นแสงไม่เหมาะสมสำหรับสังเคราะห์ด้วยแสง
    2. เอนไซม์ในกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ถูกห้าม
    3. \(\ce{CO2}\) มีโอกาสผ่านเข้าสู่ใบได้ยาก
    4. ขาดน้ำที่จะไปทำปฏิกิริยาใน Light Reaction
  37. ข้อใดไม่ใช่พืช \(\ce{C4}\)
    1. ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
    2. อ้อย บานไม่รู้โรย
    3. ผักโขมจีน ข้าวฟ่าง
    4. หญ้าแห้วหมู กล้วยไม้

    ตัวอย่างพืช C3 เช่น ข้าว ข้าวสาลีมะม่วง กล้วย เงาะ ทุเรียน
    ตัวอย่างพืช C4 ได้แก่ พืชเมืองร้อน เช่น อ้อย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง หญ้าแพรก หญ้าแห้วหมู ผักโขมจีน และบานไม่รู้โรย
    ต้วอย่างพืช CAM ได้แก่ พืชที่สามารถเจริญเติบโตในที่แห้งแล้ง หรือพืชอิงอาศัย (epiphyte) เช่น กระบองเพชร สับปะรด สับปะรดสีศรนารายณ์กุหลาบหิน กล้วยไม้

  38. การสร้าง PGA ของพืช CAM เกิดขึ้นที่ใด
    1. Mesophyll
    2. Sponge cell
    3. Palisade cell
    4. Bundle sheath
  39. ข้อใดเป็นจริงเกี่ยวกับการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช CAM
    1. ตรึง \(\ce{CO2}\) ครั้งเดียวในเวลากลางวัน เกิดที่มีโซฟิลล์
    2. ตรึง \(\ce{CO2}\) ครั้งเดียวในเวลากลางคืน เกิดที่บันเดิลชีท
    3. ตรึง \(\ce{CO2}\) 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ในเวลากลางวัน เกิดที่มีโซฟิลล์ ครั้งที่ 2 ในเวลากลางคืน เกิดที่บันเดิลชีท
    4. ตรึง \(\ce{CO2}\) 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ในเวลากลางคืน เกิดที่มีโซฟิลล์ ครั้งที่ 2 ในเวลากลางวัน เกิดที่บันเดิลชีท
  40. ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
    1. พืชแต่ละชนิดมีความต้องการแสงในช่วงเวลาต่างๆเหมือนกัน
    2. อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแต่ละชนิดจะแปรผันตามปริมาณของแสงสีต่างๆ
    3. พืชทุกชนิดมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเหมือนกัน
    4. พืชมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงในแสงสีเข้มมากกว่าแสงสีอ่อน

Leave a Reply

Thumbnails managed by ThumbPress