Home » High school » รวมข้อสอบ O-NET เรื่อง จำนวนจริง
รวมข้อสอบ O-NET เรื่อง จำนวนจริง
- กำหนดให้ \(a, b, c\) และ \(d\) เป็นจำนวนจริงใดๆ
ข้อใดต่อไปนี้เป็นจริง (O-NET 59 ข้อ 2)
- ถ้า \(a \lt b\) แล้ว \(\frac{1}{a} \gt \frac{1}{b}\)
- ถ้า \(a \lt b\) แล้ว \(a^2 \lt b^2\)
- ถ้า \(a \lt b\) และ \(c \lt d\) แล้ว \(ac \lt bd\)
- \(\sqrt{(a+b)^2} = \lvert a + b\rvert\)
- \(\lvert a + b\rvert = \lvert a\rvert + \lvert b\rvert\)
- กำหนดให้
\(A = \{x \in R \; \bigl| \; \lvert x + 1 \rvert \leq 2\}\)
\(B = \{x \in R \; \bigl| \; x^2 \; – x = 0\}\)
ข้อใดถูกต้อง (O-NET 59 ข้อ 7)
- \(A \cap B = \{0\}\)
- \(A \cup B = B\)
- \(B \; − A = \emptyset\)
- \(A \; − B = A\)
- \(A’ \cup B’ = (1, \infty)\)
- ถ้า \(\lvert x+1 \rvert = 3\) และ \(x\) มีค่าอยู่ระหว่าง \(−5\) กับ \(1\)
แล้ว \(x \lvert x \rvert\) มีค่าเท่าใด (O-NET 59 ข้อ 12)
- \(-16\)
- \(-4\)
- \(4\)
- \(8\)
- \(16\)
- ถ้า \(a\) และ \(b\) เป็นความยาวของด้านของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีพื้นที่ \(9\) ตารางหน่วย และ \(12\) ตารางหน่วย ตามลำดับ แล้วเซต \(\{a, b, ab, a + b ,a \; − b, a^2 + b^2 \}\) มีจำนวนตรรกยะกี่ตัว (O-NET 59 ข้อ 34)
- ข้อใดมีทั้งจำนวนเต็ม, จำนวนตรรกยะ และจำนวนอตรรกยะ (O-NET 58 ข้อ 3)
- \(−7.222\ldots,\sqrt{3},\pi \; – \frac{1}{7}\)
- \(11, \sqrt[3]{-8}, 2.555\)
- \(\frac{1}{2}, -\pi, \sqrt{9} \; – 1\)
- \(-\frac{3}{5}, 6.060060006\ldots, \sqrt{1000}\)
- \(\sqrt{2} \; – 0.414, \pi^2, 4.718\)
- จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. ถ้า \(a, b\) และ \(c\) เป็นจำนวนจริงใดๆ และ \(a \lt b \lt c\) แล้ว \(ab \lt bc\)
ข. ถ้า \(a\) และ \(b\) เป็นจำนวนอตรรกยะ และ \(a \neq b\) แล้ว \(\frac{a}{b}\) เป็นจำนวนอตรรกยะ
ค. ถ้า \(a\) และ \(b\) เป็นจำนวนจริงใดๆ แล้ว \(\lvert a \rvert \; – \lvert b \rvert \leq \lvert a \; – b \rvert\)
ข้อใดถูก (O-NET 58 ข้อ 4)
- ก. และ ข. ถูก แต่ ค. ผิด
- ก. และ ค. ถูก แต่ ข. ผิด
- ข. ถูก แต่ ก. และ ค. ผิด
- ค. ถูก แต่ ข. และ ก. ผิด
- ก., ข. และ ค. ผิด
- กำหนดให้
\(A = \{x \; \bigl| \; 3x^2 + 5x \; – 12 \lt 0 \}\) และ \(B = \{x \; \bigl| \; \frac{1}{x \; – 1} \; – \frac{2}{x} \geq 0\}\)
แล้ว \(A \; – B\) มีสมาชิกที่เป็นจำนวนเต็มกี่ตัว (O-NET 58 ข้อ 9)
- \(0\)
- \(1\)
- \(2\)
- \(3\)
- \(4\)
- ให้ \( I = \) เซตของจำนวนเต็ม
ถ้า \(A = \{x \; \bigl| \; x \in I \; \text{และ} \; \lvert x−2 \rvert \leq 7\}\)
และ \(B = \{x \; \bigl| \; x \in I \; \text{และ} \; \lvert x+1 \rvert \gt 2\}\)
แล้วข้อใดถูก (O-NET 58 ข้อ 10)
- \(A \cap B\) มีสมาชิก 12 ตัว
- สมาชิกของ \(A \cap B\) ที่เป็นจำนวนคู่และเป็นบวกมี \(3\) ตัว
- สมาชิกของ \(A \cap B\) ที่เป็นจำนวนเฉพาะที่มีค่ามากที่สุด คือ \(5\)
- สมาชิกของ \(A \cap B\) ที่มีค่าน้อยที่สุด คือ \(-4\)
- ผลบวกของสมาชิกทุกตัวของ \(A \cap B\) เท่ากับ \(35\)
- จำนวนเต็ม \(x\) ที่สอดคล้องกับอสมการ
\(\frac{5}{12} \leq \frac{2x + 1}{4} \; – \frac{x + 2}{3} \leq \frac{11}{12}\)
มีจำนวนทั้งหมดเท่ากับข้อใด (O-NET 61 ข้อ 5)
- \(3\) จำนวน
- \(4\) จำนวน
- \(5\) จำนวน
- \(6\) จำนวน
- \(7\) จำนวน
- กำหนดให้ \(f(x) = \lvert x \; – 5 \rvert \; – 5\)
ข้อใดไม่ถูกต้อง (O-NET 61 ข้อ 9)
- \(f(-6) = 6\)
- \(f(-5) = 5\)
- \(f(0) = 0\)
- \(f(5) = -5\)
- \(f(6) = -6\)
ดูคำตอบ
- กำหนดให้ \(a, b, c\) และ \(d\) เป็นจำนวนจริงใดๆ
ข้อใดต่อไปนี้เป็นจริง (O-NET 59 ข้อ 2)
- ถ้า \(a \lt b\) แล้ว \(\frac{1}{a} \gt \frac{1}{b}\)
- ถ้า \(a \lt b\) แล้ว \(a^2 \lt b^2\)
- ถ้า \(a \lt b\) และ \(c \lt d\) แล้ว \(ac \lt bd\)
- \(\sqrt{(a+b)^2} = \lvert a + b\rvert\)
- \(\lvert a + b\rvert = \lvert a\rvert + \lvert b\rvert\)
วิธีคิด
- ไม่เป็นจริง ถ้า \(a\) หรือ \(b\) เท่ากับ \(0\)
เราจะหาค่า \(\frac{1}{0}\) ไม่ได้ (ไม่นิยาม)
- ไม่เป็นจริง ถ้า \(a = -2\) และ \(b = -1\)
เราจะได้ว่า \(a \lt b\) แต่ \(a^2 \gt b^2\)
- ไม่เป็นจริง ถ้า \(a = -2, b = -1, c = -4,\) และ \(d = -3\)
เราจะได้ว่า \(ac \gt bd\)
- เป็นจริง จากนิยามค่าสัมบูร์ \(\sqrt{x^2} = \lvert x \rvert\)
ดังนั้น \(\sqrt{(a + b)^2} = \lvert a + b \rvert\)
- ไม่เป็นจริง ถ้า \(a = 1\) และ \(b = -1\)
เราจะได้ว่า \(\lvert a + b \rvert = \lvert 1 – 1 \rvert = 0\) แต่ \(\lvert a \rvert + \lvert b \rvert = \lvert 1 \rvert + \lvert -1 \rvert = 2\)
- กำหนดให้
\(A = \{x \in R \; \bigl| \; \lvert x + 1 \rvert \leq 2\}\)
\(B = \{x \in R \; \bigl| \; x^2 \; – x = 0\}\)
ข้อใดถูกต้อง (O-NET 59 ข้อ 7)
- \(A \cap B = \{0\}\)
- \(A \cup B = B\)
- \(B \; − A = \emptyset\)
- \(A \; − B = A\)
- \(A’ \cup B’ = (1, \infty)\)
วิธีคิด
- แก้อสมการเซต \(A\)
\(\begin{align*}
x + 1 &\leq 2 \\
x &\leq 1
\end{align*}\)
และ
\(\begin{align*}
x + 1 &\geq -2 \\
x &\geq -3
\end{align*}\)
ดังนั้น \(A = [-3, 1] \)
- แก้สมการเซต \(B\)
\(\begin{align*}
x^2 \; – x &= 0 \\
x(x \; – 1) &= 0 \\
x &= 0, 1
\end{align*}\)
ดังนั้น \(B = \{0, 1\} \)
- พิจารณาข้อ 1
\(\begin{align*}
A \cap B &= [-3, 1] \cap \{0, 1\} \\
&= \{0, 1\} \\
&\neq \{0\}
\end{align*}\)
- พิจารณาข้อ 2
\(\begin{align*}
A \cup B &= [-3, 1] \cup \{0, 1\} \\
&= [-3, 1] \\
&\neq B
\end{align*}\)
- พิจารณาข้อ 3
\(\begin{align*}
B \; – A &= \{0, 1\} \; – [-3, 1] \\
&= \emptyset
\end{align*}\)
ดังนั้น ข้อ 3 ถูกต้อง
- พิจารณาข้อ 4
\(\begin{align*}
A \; – B &= [-3, 1] \; – \{0, 1\} \\
&= [-3, 0) \cup (0, 1)
&\neq A
\end{align*}\)
- พิจารณาข้อ 5
\(\begin{align*}
A’ \cup B’ &= (-\infty, -3) \cup (1, \infty) \cup (-\infty, 0) \cup (0, 1) \cup (1, \infty) \\
&= (-\infty, 0) \cup (0, 1) \cup (1, \infty) \\
&\neq (1, \infty)
\end{align*}\)
- ถ้า \(\lvert x+1 \rvert = 3\) และ \(x\) มีค่าอยู่ระหว่าง \(−5\) กับ \(1\)
แล้ว \(x \lvert x \rvert\) มีค่าเท่าใด (O-NET 59 ข้อ 12)
- \(-16\)
- \(-4\)
- \(4\)
- \(8\)
- \(16\)
วิธีคิด
- แก้สมการหาค่า \(x\)
\(\begin{align*}
x + 1 &= 3 \\
x &= 2
\end{align*}\)
และ
\(\begin{align*}
x + 1 &= -3 \\
x &= -4
\end{align*}\)
ค่าของ \(x\) คือ \(\{2, -4\}\)
แต่โจทย์กำหนดว่า \(x\) มีค่าอยู่ระหว่าง \(−5\) กับ \(1\)
ดังนั้น \(x = -4\) เท่านั้น
- แทนค่า \(x = -4\)
\(\begin{align*}
x \lvert x \rvert &= -4 \lvert -4 \rvert \\
&= (-4)(4) \\
&= 16
\end{align*}\)
คำตอบ คือ \(-16\)
- ถ้า \(a\) และ \(b\) เป็นความยาวของด้านของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีพื้นที่ \(9\) ตารางหน่วย และ \(12\) ตารางหน่วย ตามลำดับ แล้วเซต \(\{a, b, ab, a + b ,a \; − b, a^2 + b^2 \}\) มีจำนวนตรรกยะกี่ตัว (O-NET 59 ข้อ 34)
คำตอบ คือ 2 ตัว
วิธีคิด
- พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สามารถคำนวนหาได้จากความยาวด้านยกกำลังสอง
\(\begin{align*}
a^2 &= 9 \\
a &= 3
\end{align*}\)
และ
\(\begin{align*}
b^2 &= 12 \\
b &= \sqrt{12} \\
&= 2\sqrt{3}
\end{align*}\)
- แทนค่า \(a\) และ \(b\) ในเซตที่โจทย์กำหนด
\(\begin{align*}
a &= 3 \\
b &= 2\sqrt{3} \\
ab &= 3(2\sqrt{3}) = 6\sqrt{3} \\
a + b &= 3 + 2\sqrt{3} \\
a \; – b &= 3 \; – 2\sqrt{3} \\
a^2 + b^2 &= (3)^2 + (2\sqrt{3})^2 = 9 + 12 = 21 \\[6pt]
\end{align*}\)
สมาชิกที่เป็นจำนวนตรรกยะ คือ \(3\) และ \(21\)
คำตอบ คือ \(2\) ตัว
- ข้อใดมีทั้งจำนวนเต็ม, จำนวนตรรกยะ และจำนวนอตรรกยะ (O-NET 58 ข้อ 3)
- \(−7.222\ldots,\sqrt{3},\pi \; – \frac{1}{7}\)
- \(11, \sqrt[3]{-8}, 2.555\)
- \(\frac{1}{2}, -\pi, \sqrt{9} \; – 1\)
- \(-\frac{3}{5}, 6.060060006\ldots, \sqrt{1000}\)
- \(\sqrt{2} \; – 0.414, \pi^2, 4.718\)
วิธีคิด
- พิจารณาข้อ 1
\(−7.222\ldots\) เป็นทศนิยมซ้ำ จึงเป็นจำนวนตรรกยะ
\(\sqrt{3}\) ไม่สามารถถอดรากได้ จึงเป็นจำนวนอตรรกยะ
\(\pi\) เป็นจำนวนอตรรกยะ
ข้อนี้ไม่ถูกต้องเพราะขาดจำนวนเต็ม
- พิจารณาข้อ 2
\(11\) เป็นจำนวนเต็ม
\(\sqrt[3]{-8} = -2\) เป็นจำนวนเต็ม
\(2.555\) เป็นทศนิยม จึงเป็นจำนวนตรรกยะ
ข้อนี้ไม่ถูกต้องเพราะขาดจำนวนอตรรกยะ
- พิจารณาข้อ 3
\(\frac{1}{2}\) เป็นเศษส่วน จึงเป็นจำนวนตรรกยะ
\(\pi\) เป็นจำนวนอตรรกยะ
\(\sqrt{9} \; – 1 = 3 \; – 2 = 1\) เป็นจำนวนเต็ม
ข้อนี้ถูกต้อง
- พิจารณาข้อ 4
\(-\frac{3}{5}\) เป็นเศษส่วน จึงเป็นจำนวนตรรกยะ
\(6.060060006\ldots\) เป็นทศนิยมที่ไม่สามารถเขียนในรูปทศนิยมซ้ำได้ จึงเป็นจำนวนอตรรกยะ
\(\sqrt{1000} = 10\sqrt{10}\) เป็นจำนวนอตรรกยะ
ข้อนี้ไม่ถูกต้องเพราะขาดจำนวนเต็ม
- พิจารณาข้อ 5
\(\sqrt{2} \; – 0.414\) เป็นจำนวนอตรรกยะ
\(\pi^2\) เป็นจำนวนอตรรกยะ
\(4.718\) เป็นจำนวนตรรกยะ
ข้อนี้ไม่ถูกต้องเพราะขาดจำนวนเต็ม
- จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. ถ้า \(a, b\) และ \(c\) เป็นจำนวนจริงใดๆ และ \(a \lt b \lt c\) แล้ว \(ab \lt bc\)
ข. ถ้า \(a\) และ \(b\) เป็นจำนวนอตรรกยะ และ \(a \neq b\) แล้ว \(\frac{a}{b}\) เป็นจำนวนอตรรกยะ
ค. ถ้า \(a\) และ \(b\) เป็นจำนวนจริงใดๆ แล้ว \(\lvert a \rvert \; – \lvert b \rvert \leq \lvert a \; – b \rvert\)
ข้อใดถูก (O-NET 58 ข้อ 4)
- ก. และ ข. ถูก แต่ ค. ผิด
- ก. และ ค. ถูก แต่ ข. ผิด
- ข. ถูก แต่ ก. และ ค. ผิด
- ค. ถูก แต่ ข. และ ก. ผิด
- ก., ข. และ ค. ผิด
วิธีคิด
- พิจารณาข้อ ก.
ถ้า \(a = -3, b = -2\) และ \(c = -1\) ซึ่ง \(a \lt b \lt c\)
แต่ \(ab = (-3)(-2) = 6 \gt bc = (-2)(-1) = 2\)
ข้อ ก. ไม่ถูกต้อง
- พิจารณาข้อ ข.
ถ้า \(a = 2\sqrt{2}\) และ \(\sqrt{2}\) ซึ่งตรงตามเงื่อนไขแล้ว
แต่ \(\frac{a}{b} = 2\) ซึ่งเป็นจำนวนตรรกยะ
ข้อ ข. ไม่ถูกต้อง
- พิจารณาข้อ ค.
\(\lvert a \rvert \; – \lvert b \rvert \leq \lvert a \; – b \rvert\) เป็นสมบัติของค่าสัมบูรณ์
ข้อนี้ถูกต้อง
- กำหนดให้
\(A = \{x \; \bigl| \; 3x^2 + 5x \; – 12 \lt 0 \}\) และ \(B = \{x \; \bigl| \; \frac{1}{x \; – 1} \; – \frac{2}{x} \geq 0\}\)
แล้ว \(A \; – B\) มีสมาชิกที่เป็นจำนวนเต็มกี่ตัว (O-NET 58 ข้อ 9)
- \(0\)
- \(1\)
- \(2\)
- \(3\)
- \(4\)
วิธีคิด
- แก้อสมการเซต \(A\)
\(\begin{align*}
3x^2 + 5x \; – 12 &\lt 0 \\
(3x \; – 4)(x + 3) &\lt 0
\end{align*}\)
\(A = (-3,\frac{4}{3})\)
- แก้อสมการเซต \(B\)
\(\begin{align*}
\frac{1}{x \; – 1} \; – \frac{2}{x} &\geq 0 \\
\frac{x}{(x)(x \; – 1)} \; – \frac{2(x \; – 1)}{(x)(x \; – 1)} &\geq 0 \\
\frac{x \; – 2x + 2}{(x)(x \; – 1)} &\geq 0 \\
\frac{(-x + 2)}{(x)(x \; – 1)} &\geq 0 \\
\frac{(x \; – 2)}{(x)(x \; – 1)} &\leq 0 \\
\end{align*}\)
\(B = (-\infty, 0) \cup (1, 2]\)
- \(A \; – B = [0, 1]\) ซึ่งจำนวนเต็ม คือ \(0\) และ \(1\)
ดังนั้น \(A \; – B\) มีสมาชิกที่เป็นจำนวนเต็ม \(2\) ตัว
- ให้ \( I = \) เซตของจำนวนเต็ม
ถ้า \(A = \{x \; \bigl| \; x \in I \; \text{และ} \; \lvert x \; – 2 \rvert \leq 7\}\)
และ \(B = \{x \; \bigl| \; x \in I \; \text{และ} \; \lvert x + 1 \rvert \gt 2\}\)
แล้วข้อใดถูก (O-NET 58 ข้อ 10)
- \(A \cap B\) มีสมาชิก 12 ตัว
- สมาชิกของ \(A \cap B\) ที่เป็นจำนวนคู่และเป็นบวกมี \(3\) ตัว
- สมาชิกของ \(A \cap B\) ที่เป็นจำนวนเฉพาะที่มีค่ามากที่สุด คือ \(5\)
- สมาชิกของ \(A \cap B\) ที่มีค่าน้อยที่สุด คือ \(-4\)
- ผลบวกของสมาชิกทุกตัวของ \(A \cap B\) เท่ากับ \(35\)
วิธีคิด
- แก้อสมการเซต \(A\)
\(\begin{align*}
x \; – 2 &\leq 7 \\
x &\leq 9
\end{align*}\)
และ
\(\begin{align*}
x \; – 2 &\geq -7 \\
x &\geq -5
\end{align*}\)
เนื่องจาก \(A\) เป็นเซตของจำนวนเต็ม
\(A = \{-5, -4, -3, \ldots, 7, 8, 9\}\)
- แก้อสมการเซต \(B\)
\(\begin{align*}
x + 1 &\gt 2 \\
x &\gt 1
\end{align*}\)
และ
\(\begin{align*}
x + 1 &\lt -2 \\
x &\lt -3
\end{align*}\)
เนื่องจาก \(B\) เป็นเซตของจำนวนเต็ม
\(B = \{\ldots, -6, -5, -4, 2, 3, 4,\ldots\}\)
- \(A \cap B = \{-5, -4 ,2 ,3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8 ,9\}\)
- พิจารณาข้อ 1
ไม่ถูกต้อง เพราะ \(A \cap B\) มีสมาชิก \(10\) ตัว
- พิจารณาข้อ 2
ไม่ถูกต้อง เพราะ \(A \cap B\) มีสมาชิกจำนวนคู่บวก \(4\) ตัว
- พิจารณาข้อ 3
ไม่ถูกต้อง เพราะ \(A \cap B\) มีจำนวนเฉพาะที่มากที่สุด คือ \(7\)
- พิจารณาข้อ 4
ไม่ถูกต้อง เพราะ \(A \cap B\) มีจำนวนที่มีค่าน้อยที่สุด คือ \(-5\)
- พิจารณาข้อ 5
ถูกต้อง เพราะ ผลบวกของสมาชิกใน \(A \cap B\) คือ \(35\)
- จำนวนเต็ม \(x\) ที่สอดคล้องกับอสมการ
\(\frac{5}{12} \leq \frac{2x + 1}{4} \; – \frac{x + 2}{3} \leq \frac{11}{12}\)
มีจำนวนทั้งหมดเท่ากับข้อใด (O-NET 61 ข้อ 5)
- \(3\) จำนวน
- \(4\) จำนวน
- \(5\) จำนวน
- \(6\) จำนวน
- \(7\) จำนวน
วิธีคิด
- แก้อสมการหาค่า \(x\)
\(\begin{align*}
\frac{5}{12} &\leq \frac{2x + 1}{4} \; – \frac{x + 2}{3} \leq \frac{11}{12} \\[6pt]
\frac{5}{12} &\leq \frac{(3)(2x + 1)}{(4)(3)} \; – \frac{(4)(x + 2)}{(4)(3)} \leq \frac{11}{12} \\[6pt]
\frac{5}{12} &\leq \frac{6x + 3 \; – 4x \; – 8}{(12)} \leq \frac{11}{12} \\[6pt]
5 &\leq 2x \; – 5 \leq 11 \\[6pt]
10 &\leq 2x \leq 16 \\[6pt]
5 &\leq x \leq 8 \\
\end{align*}\)
เนื่องจาก \(x\) เป็นเซตของจำนวนเต็ม
\(x = \{5, 6, 7, 8\} = 4\) จำนวน
- กำหนดให้ \(f(x) = \lvert x \; – 5 \rvert \; – 5\)
ข้อใดไม่ถูกต้อง (O-NET 61 ข้อ 9)
- \(f(-6) = 6\)
- \(f(-5) = 5\)
- \(f(0) = 0\)
- \(f(5) = -5\)
- \(f(6) = -6\)
วิธีคิด
- พิจารณาข้อ 1
\(\begin{align*}
f(-6) &= \lvert -6 \; – 5 \rvert \; – 5 \\
&= 11 \; – 5 \\
&= 6
\end{align*}\)
- พิจารณาข้อ 2
\(\begin{align*}
f(-6) &= \lvert -5 \; – 5 \rvert \; – 5 \\
&= 10 \; – 5 \\
&= 5
\end{align*}\)
- พิจารณาข้อ 3
\(\begin{align*}
f(-6) &= \lvert 0 \; – 5 \rvert \; – 5 \\
&= 5 \; – 5 \\
&= 0
\end{align*}\)
- พิจารณาข้อ 4
\(\begin{align*}
f(-6) &= \lvert 5 \; – 5 \rvert \; – 5 \\
&= 0 \; – 5 \\
&= -5
\end{align*}\)
- พิจารณาข้อ 5
\(\begin{align*}
f(-6) &= \lvert 6 \; – 5 \rvert \; – 5 \\
&= 1 \; – 5 \\
&= -4
\end{align*}\)