- การทำให้วัฏจักรของคัลวินดำเนินไป 1 รอบ (หรือเทียบได้เท่ากับการตรึง \(\ce{CO2}\) 1 โมเลกุล) ใช้พลังงานโดยเฉลี่ยเท่ากับ
- 3 NADPH + 3 ATP
- 3 NADPH + 2 ATP
- 2 NADPH + 3 ATP
- 12 ATP
- ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้ปริมาณแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้น นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าในอนาคต แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศอาจเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า สภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อพืชอย่างไร
- พืชทุกชนิดจะมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มสูงขึ้น
- ส่งผลให้พืช C3 เจริญเติบโตดีขึ้น แต่ส่งผลน้อยมากต่อพืช C4
- ส่งผลให้พืช C4 เจริญเติบโตดีขึ้น แต่ส่งผลน้อยมากต่อพืช C3
- ส่งผลให้พืช C3 เจริญเติบโตดีขึ้น แต่ส่งผลให้พืช C4 เจริญเติบโตน้อยลง
- การทดลองโดยใช้สาหร่ายสีเขียวชื่อ Chlorella ใส่ในน้ำผ่านแสงและให้คาร์บอนกัมมันตรังสี เพื่อให้เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง แล้วหยุดปฏิกิริยาของการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นระยะๆ เมื่อตรวจดูสารประกอบที่เกิดขึ้น พบว่า
- เกิดน้ำตาลกลูโคสขึ้นก่อนออกซิเจน
- เกิดสารประกอบที่มีคาร์บอน 2 อะตอมขึ้น
- เกิด PGA ก่อน แล้วจึงเกิดน้ำตาลกลูโคส
- เกิด G3P ก่อน แล้วจึงเกิด PGA
- ข้อใดกล่าวถูกต้อง
- การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฎจักรเกี่ยวข้องกับระบบแสง 1 และ 2
- การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฎจักรเกี่ยวข้องกับระบบแสง 1 เท่านั้น
- การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฎจักรได้ ATP และ NADPH
- การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฎจักรจะไม่เกิด \(\ce{O2}\)
- \(\ce{CO2}\) เข้ามาร่วมในปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงในช่วงใด
- วัฏจักรคัลวิน
- การถ่ายทอดอิเล็กตรอน
- Hill reaction
- Light reaction
- ข้อใดเป็นจริงเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของข้าวโพด
- พบ RuBP เฉพาะในเซลล์ชั้นมีโซฟิลล์
- มีการตรึง \(\ce{O2}\) ครั้งแรกที่บันเดิลชีท
- มีการผลิตสาร \(\ce{C4}\) ในมีโซฟิลล์ และผลิตสาร \(\ce{C3}\) ในเซลล์บันเดิลชีท
- ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
- ส่วนใดของคลอโรพลาสต์ที่มีเอนไซม์เกี่ยวกับกระบวนการสังเคราห์ด้วยแสง
- คลอโรฟิลล์
- กรานุม
- เยื่อไทลาคอยด์
- สโตรมา
- พืชดอกสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีที่สุด เมื่อได้รับแสงสีใด
- สีส้มและสีเหลือง
- สีน้ำเงินและสีเขียว
- สีน้ำเงินและสีแดง
- สีแดงและสีเหลือง
- จากแผนภาพคลอโรพลาสต์ การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักรเกิดขึ้นที่บริเวณใด (a – d)
- a แห่งเดียว
- d แห่งเดียว
- c และ d
- a และ b
- หน้าที่พื้นฐานของปฏิกิริยาแสงในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคือข้อใด
- สร้าง \(\ce{NADPH}\) เพื่อใช้สำหรับหายใจ
- สร้าง \(\ce{ATP}\) และ \(\ce{NADPH+}\)
- เปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานแสง
- ผลิตสร้างน้ำตาลจาก \(\ce{CO2}\)
- กระบวนการใดเกิดขึ้นทั้งในพืช C3 พืช C4 และ CAM
- Calvin cycle
- Photorespiration
- Hatch – Slack pathway
- Crassulacean acid metabolism
- ข้อใดเป็นผลผลิตของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
- แป้ง และ น้ำตาล
- น้ำ และ ออกซิเจน
- ออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์
- น้ำตาล และ ออกซิเจน
- ในวัฏจักรคัลวินของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้น \(\ce{CO2}\) ทำปฏิกิริยากับสารใด
- \(\ce{RuBP}\)
- \(\text{G3P}\)
- \(\ce{PGA}\)
- \(\ce{Hydrogen}\)
- ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับพืช C3 C4 และ CAM
- พืช CAM จะปิดปากใบตอนกลางวัน
- กระบองเพชร เป็นพืช C3
- ผักกาด ผักคะน้า ใช้ \(\ce{PEP}\) ในการตรึง \(\ce{CO2}\)
- พืช C3 เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี
- สารอินทรีย์ชนิดแรกที่เป็นผลลัพธ์ของการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C4 คือข้อใด
- กรดออกซาโลแอซีติก (OAA)
- กรดฟอสโฟกลีเซอริก (PGA)
- กรดฟอสโฟกลีเซอรัลดีไฮด์ (PGAL)
- กรดมาลิก (Malic acid) หรือ แอสปาร์ติก (Aspartic acid)
- ข้อใดคือสิ่งที่ไม่จำเป็นในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักรของปฏิกิริยาใช้แสง
- ADP
- น้ำ
- ไซโตโครม
- คลอโรฟิลล์
- ข้อใดกล่าวถึงพืช CAM ไม่ถูกต้อง
- พืช CAM มีความเข้มข้นของ \(\ce{CO2}\) เกิดโฟโตเรสไพเรชันได้มาก
- พืช CAM ปิดปากใบเวลากลางวันและเปิดปากใบเวลากลางคืน
- พืช CAM จะเกิดวัฏจักรคัลวินในเซลล์มีโซฟิลล์เวลากลางวัน
- พืช CAM มีการตรึง \(\ce{CO2}\) 2 ครั้ง ในเซลล์มีโซฟิลล์ทั้งสองครั้ง
- ข้อใดกล่าวถูกต้องสำหรับปฏิกิริยาแสง (light reaction)
- กลุ่มโปรตีนสำคัญในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในปฏิกิริยาแสงมีเพียง 2 กลุ่ม คือ ระบบแสง I ระบบแสง II
- คลอโรฟิลล์ทุกโมเลกุลในระบบแสง สามารถเป็นตัวให้อิเล็กตรอนในปฏิกิริยาแสง หากได้รับคลื่นแสงที่เหมาะสม
- ATP synthase ที่อยู่บริเวณเนื้อเยื่อไทลาคอยด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการสร้าง ATP ในปฏิกิริยาแสง
- การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักรทำให้ได้ NADH
- ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
- PGA ในใบคงที่ เมื่อใบได้รับแสง และ \(\ce{CO2}\) เพียงพอ
- PGA ในใบลดลง เมื่อใบได้รับแสง แต่มี \(\ce{CO2}\) ไม่เพียงพอ
- PGA ในใบคงที่ เมื่อใบไม่ได้รับแสง ขณะที่มี \(\ce{CO2}\) เพียงพอ
- PGA ในใบเพิ่มขึ้น เมื่อใบไม่ได้รับแสง ขณะที่มี \(\ce{CO2}\) เพียงพอ
- จากการทดสอบหาแป้งในใบชบาด่างพบว่า บริเวณสีเขียวมีแป้ง บริเวณสีขาวไม่มีแป้ง ผลการทดลองนี้อธิบายได้ในข้อใด
- บริเวณสีขาวไม่มีแป้ง
- คลอโรฟิลล์จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง
- บริเวณที่มีการสังเคราะห์แสงคือใบ
- แสงจำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง
- สารที่ทําหน้าที่รับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายของการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร (Non-cyclic electron transfer) ของปฏิกิริยาใช้แสง คือสารใด
- \(\ce{ATP}\)
- \(\ce{Ferredoxin}\)
- \(\ce{NADP+}\)
- \(\ce{NADPH + H+}\)
- โปรตีนเชิงซ้อนที่ไม่ได้ทำหน้าที่ในขั้นตอนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในคลอโรพลาสต์ คือข้อใด
- ATP synthase
- Photosystem I
- Photosystem I
- Cytochrome b6f complex
- ข้อใดเปรียบเทียบการตรึง \(\ce{CO2}\) จากอากาศของพืชไม่ถูกต้อง
การตรึง \(\ce{CO2}\) จากอากาศ พืช \(\ce{C3}\) พืช \(\ce{C4}\) พืช \(\ce{CAM}\) 1. เอนไซม์ที่ใช้ Rubisco PEP carboxylase PEP carboxylase 2. สารที่ใช้ในการตรึง \(\ce{CO2}\) \(\ce{RuBP}\) \(\ce{PEP}\) \(\ce{PEP}\) 3. ช่วงเวลาที่เกิด กลางวัน กลางคืน กลางวัน 4. ผลิตภัณฑ์ที่เกิดตัวแรก \(\ce{PGA}\) \(\ce{OAA}\) \(\ce{OAA}\) - จากภาพ ข้อใดถูกต้อง
- พืช ก ปรับตัวต่อความเข้มแสงต่ำได้ดีกว่าพืช ข
- พืช ข ปรับตัวต่อความเข้มแสงสูงได้ดีกว่าพืช ก
- จุดอิ่มตัวของแสง (Light saturation point) ของพืช ก สูงกว่าพืช ข
- เมื่อปลูกพืชทั้งสองชนิดในที่ที่มีความเข้มของแสงลดลงเป็นลำดับพืชทั้งสองชนิดจะตายพร้อมกัน
- เราสามารถพบคลอโรฟิลล์ได้ที่ส่วนประกอบใดของคลอโรพลาสต์
- Inner-membrane
- Lumen
- Stroma
- Thylakoid membrane
- รงควัตถุชนิดใดที่สามารถพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้
- คลอโรฟิลล์
- แคโรทีนอยด์
- แบคทีริโอคลอโรฟิลล์
- ไฟโคบิลิน
- การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักรในปฏิกิริยาใช้แสงเกี่ยวข้องกับระบบแสงใด
- P450
- P680
- P700
- ทั้ง P680 และ P700
- จากกราฟ แสดงอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเมื่ออุณหภูมิของใบเพิ่มขึ้น ข้อใดถูกต้อง
- A คือ อ้อย
- A คือ ข้าวฟ่าง
- B คือ ข้าวเจ้า
- B คือ ข้าวโพด
- หากน้ำในสระที่มีพืชน้ำขึ้นอยู่ตามปกติ ในวันหนึ่งจะมีสภาพความเป็นกรดสูงสุดเมื่อใด
- เช้า
- เย็น
- กลางวัน
- กลางคืน
- กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นในเวลาใด
- กลางวันเท่านั้น
- กลางคืนเท่านั้น
- ทั้งกลางวันและกลางคืน
- ตลอดเวลาที่มีแสงสว่าง
- เซลล์ที่สังเคราะห์อาหารต้องการพลังงานจากแสงเพื่ออะไร
- สร้างคลอโรฟิลล์เพิ่มขึ้น
- ส่งไฮโดรเจนไปให้ \(\ce{NADP+}\)
- กระตุ้นให้อิเล็กตรอนในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์หลุดออกจากคลอโรฟิลล์
- ถ่ายทอดพลังงานจากคลอโรฟิลล์ให้กับน้ำ
- ออกซิเจนที่เกิดขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นมาจากที่ใด
- \(\ce{H2O}\)
- \(\ce{CO2}\)
- โมเลกุลของคลอโรฟิลล์
- อากาศ
- คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้น ทําหน้าที่อะไร
- จับคาร์บอนไดออกไซด์
- ดูดกลืนพลังงานแสง
- รีดิวซ์คาร์บอนไดออกไซด์
- สร้างกลูโคส
- ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
- เฉพาะพืชเท่านั้นที่สามารถเกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงได้
- ปากใบทำหน้าที่ให้ \(\ce{CO2}\) ผ่านเข้าสู่ใบ และปล่อย \(\ce{O2}\) ออกสู่บรรยากาศ
- ใบพืชมีสีเขียวเนื่องจากมีรงควัตถุดูดกลืนแสงสีเขียว
- ออกซิเจนที่เป็นองค์ประกอบของน้ำตาลกลูโคสได้มาจากโมเลกุลน้ำ
- การสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียบางชนิดแตกต่างจากพืชทั่วไป คือ
- แบคทีเรียไม่ต้องอาศัยพลังงานแสง
- แบคทีเรียไม่ได้ใช้น้ำเป็นวัตถุดิบ
- แบคทีเรียไม่ใช้คลอโรฟิลล์
- แบคทีเรียไม่ต้องใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
- พืชที่อยู่แถบทะเลทรายจะไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีในตอนเที่ยงวัน ทั้งนี้เพราะ
- คลื่นแสงไม่เหมาะสมสำหรับสังเคราะห์ด้วยแสง
- เอนไซม์ในกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ถูกห้าม
- \(\ce{CO2}\) มีโอกาสผ่านเข้าสู่ใบได้ยาก
- ขาดน้ำที่จะไปทำปฏิกิริยาใน Light Reaction
- ข้อใดไม่ใช่พืช \(\ce{C4}\)
- ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
- อ้อย บานไม่รู้โรย
- ผักโขมจีน ข้าวฟ่าง
- หญ้าแห้วหมู กล้วยไม้
- การสร้าง PGA ของพืช CAM เกิดขึ้นที่ใด
- Mesophyll
- Sponge cell
- Palisade cell
- Bundle sheath
- ข้อใดเป็นจริงเกี่ยวกับการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช CAM
- ตรึง \(\ce{CO2}\) ครั้งเดียวในเวลากลางวัน เกิดที่มีโซฟิลล์
- ตรึง \(\ce{CO2}\) ครั้งเดียวในเวลากลางคืน เกิดที่บันเดิลชีท
- ตรึง \(\ce{CO2}\) 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ในเวลากลางวัน เกิดที่มีโซฟิลล์ ครั้งที่ 2 ในเวลากลางคืน เกิดที่บันเดิลชีท
- ตรึง \(\ce{CO2}\) 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ในเวลากลางคืน เกิดที่มีโซฟิลล์ ครั้งที่ 2 ในเวลากลางวัน เกิดที่บันเดิลชีท
- ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
- พืชแต่ละชนิดมีความต้องการแสงในช่วงเวลาต่างๆเหมือนกัน
- อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแต่ละชนิดจะแปรผันตามปริมาณของแสงสีต่างๆ
- พืชทุกชนิดมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเหมือนกัน
- พืชมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงในแสงสีเข้มมากกว่าแสงสีอ่อน