ข้อสอบ ความถนัดทั่วไป (GAT1)
คะแนนเต็ม 150 คะแนน เวลาในการทำข้อสอบ 1 ชั่วโมง 30 นาที
บทความที่ 1 – ลุยฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก สศก.แนะทางสว่างแก้ปัญหาสินค้าเกษตร
ในภาวะที่ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกแทบจะมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เศรษฐกิจของไทยก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกด้วย จนหน่วยงานต่างๆได้ออกมาปรับลดประมาณการการขยายตัวเศรษฐกิจของปีนี้ลงไปตามกัน ผลกระทบย่อมเกิดขึ้นตามมาเป็นระลอก และที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือกลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาอันเป็นระยะที่ย่างเข้าไตรมาสที่สองของปีนี้ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้สรุปสถานการณ์ภาคการเกษตรของไทยว่า ไตรมาสแรกของปี 2552 นี้ อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรลดลง 1.6 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551
ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง ที่สำคัญต่อภาคการเกษตรของไทยก็คือทำให้ทั่วโลกลดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคลง รวมทั้งทำให้ภาพรวมของการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารลดลง นอกจากนี้วิกฤตเศรษฐกิจโลกยังทำให้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและประเทศไทยชะลอตัวด้วย การชะลอตัวของเศรษฐกิจดังกล่าวก็ส่งผลโดยตรงอีกทางหนึ่งที่ทำให้ปัญหาการลดค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและปัญหาการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารลดลงมีความรุนแรงยิ่งขึ้น
เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ เกษตรกรไทยก็ต้องลำบากแน่นอน เมื่อการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารลดลง สิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือผลกระทบต่อราคาพืชผลการเกษตรของไทย คือทำให้ราคาข้าวลดลง รวมทั้งราคายางพารา น้ำมันปาล์ม และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง นอกจากนี้การที่ภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและของไทยชะลอตัว ยังทำให้การลงทุนภาคการเกษตรลดลงด้วย จากการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในภาคสินค้าเกษตรในช่วงไตรมาสแรกนี้ พบว่าลดลงถึง 3.73%
เลขาธิการ สศก.ยังได้วิเคราะห์แนวโน้มการส่งออกและราคาสินค้าในปีนี้ พร้อมกับแนะมาตรการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำด้วย ตัวอย่างเช่น
มาตรการในการลดปัญหาข้าวและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังราคาตกต่ำ คือ ต้องเร่งส่งเสริมการส่งออกไปยังตลาดที่ยังมีศักยภาพ เช่น ตลาดแอฟริกายังคงมีความต้องการนำเข้าข้าวจำนวนมาก ส่วนมันสำปะหลังก็ควรขยายการส่งออกสู่อินเดีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย รัสเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดที่ยังมีศักยภาพ อีกมาตรการหนึ่งคือ ส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรคุณภาพดี ไปยังประเทศที่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ เช่น ส่งเสริมตลาดข้าวคุณภาพดีในตะวันออกกลางและจีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่ยังมีกำลังซื้อ ส่วนผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังนอกจากขยายการส่งออกดังกล่าว ก็ต้องเน้นการทำให้มีคุณภาพที่ดี สะอาด และลดการปลอมปน รวมทั้งผลักดันการแปรรูปในประเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมด้วย ที่สำคัญคือการขยายการผลิตเอทานอลในประเทศ เพราะจะช่วยดึงผลผลิตเข้าสู่การแปรรูปได้มากขึ้น
นอกจากมาตรการดังกล่าวข้างต้น ยังมีอีกมาตรการหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาราคาข้าวและราคา มันสำปะหลังตกต่ำคือ การประกันราคาพืชผลการเกษตร แต่เนื่องจากประเทศไทยก็ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก รายได้ภาครัฐก็ลดลงอย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาหลายๆ วิธีไปพร้อมกัน
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | |||
---|---|---|---|---|---|
01 | การลดค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค | ||||
02 | การส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารลดลง | ||||
03 | ประกันราคาพืชผลการเกษตร | ||||
04 | ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังราคาตกต่ำ | ||||
05 | มาตรการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ | ||||
06 | ราคาข้าวลดลง | ||||
07 | วิกฤตเศรษฐกิจโลก | ||||
08 | เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและประเทศไทยชะลอตัว | ||||
09 | ส่งเสริมการส่งออกไปตลาดที่ยังมีศักยภาพ | ||||
10 | ส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรคุณภาพดี |
บทความที่ 2 – นกในอเมริกาหลายชนิดเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมมือกันสำรวจและเสนอมาตรการในการอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนนกหลายชนิดที่กำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และได้สรุปออกมาเป็นรายงานชื่อ The State of the Birds, United States of America, 2009 ซึ่งมีข้อมูลและข้อเสนอที่น่าสนใจมาก
ผลการสำรวจพบว่านกในสหรัฐฯ ซึ่งมีอยู่มากมายหลากหลายพันธุ์กว่า 800 ชนิด ทั้งนกป่า นกบ้าน นกในทุ่งหญ้า นกชายฝั่งทะเล นกในพื้นที่แห้งแล้ง รวมทั้งนกในเกาะฮาวาย ปรากฏว่าประมาณ 67 ชนิด กำลังถูกคุกคามอย่างหนักจนอาจสูญพันธุ์ และอีก 187 ชนิดมีจำนวนลดลงจนน่าเป็นห่วง ต้นเหตุที่ทำให้นกเหล่านี้ลดจำนวนลงมีหลายอย่าง เช่น การขยายพื้นที่ก่อสร้างอาคารบ้านเรือน การขยายพื้นที่ทำการเกษตรและปศุสัตว์ การปลูกพืชทดแทนพลังงาน การตัดไม้ทำลายป่า การก่อมลพิษเพิ่มขึ้น ตลอดจนภาวะโลกร้อน รายงานฉบับนี้ได้วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้นกแต่ละประเภทมีจำนวนน้อยลง และได้เสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาไว้ด้วย ในบทความนี้จะเลือกกรณีของนกที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้ามานำเสนอ
ในขณะนี้พบว่ามีนกในทุ่งหญ้า 4 ชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เมื่อเทียบกับปีค.ศ. 1968 ปรากฏว่าจำนวนนก Northern Bobwhite ลดลง และพบว่านกกระจอก Grasshopper มีจำนวนน้อยลงอย่างชัดเจน ส่วนที่น่าห่วงคือนก Greater Prairie-Chicken รวมทั้งเหยี่ยว Aplomado กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
สาเหตุที่ทำให้นกในทุ่งหญ้าทั้งสี่ชนิดลดจำนวนลง และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มีอยู่สองประการ สาเหตุประการแรกคือการขยายพื้นที่ทำการเกษตรและปศุสัตว์ เพราะการขยายพื้นที่เพื่อการนี้ทำให้พื้นที่ทุ่งหญ้าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกเหล่านี้น้อยลงๆ ถึงแม้จะมีการทำปศุสัตว์ซึ่งจะต้องมีการปลูกหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์มากพอควร ซึ่งน่าจะช่วยชดเชยพื้นที่ทุ่งหญ้าได้ แต่กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม เพราะหญ้าที่ปลูกไว้ก็ต้องถูกสัตว์ที่เลี้ยงไว้จำนวนมากกินเป็นอาหารไปเรื่อยๆ รวมทั้งมีการเผาหญ้าที่ใช้เลี้ยงสัตว์ค่อนข้างบ่อยเพื่อปลูกใหม่ และที่สำคัญคือเผาหญ้ากันในช่วงที่นกกำลังทำรัง นอกจากการทำการเกษตรพืชพันธุ์ธัญญาหารและปศุสัตว์ดังกล่าว ยังมีการปลูกพืชทดแทนน้ำมันมากขึ้นด้วย ทำให้พื้นที่ทุ่งหญ้าน้อยลง
สาเหตุประการที่สองที่ทำให้นกในทุ่งหญ้าทั้งสี่ชนิดลดจำนวนลงก็คือภาวะโลกร้อน อากาศที่ร้อนขึ้นทำให้เกิดความแห้งแล้ง ทุ่งหญ้าอันเป็นที่อยู่อาศัยรวมทั้งอาหารต่างๆ ของนกเหล่านี้จึงลดลงๆ
สาเหตุทั้งสองประการดังกล่าวนี่เองที่ทำให้นกในทุ่งหญ้าทั้งสี่ชนิดลดลงหรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
ในรายงานได้เสนอมาตรการแก้ปัญหา ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์สถานการณ์ของคณะผู้เขียนรายงานอย่างรอบด้าน มาตรการแรกคือการทำการเกษตรแบบอนุรักษ์พื้นที่ทุ่งหญ้า มาตรการที่สองคือการตัดหญ้าหรือการเผาหญ้าให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของนก แนวทางทั้งสองนี้ได้รับการสนับสนุนและชดเชย ค่าใช้จ่ายจากโครงการ Farm Conservation Programs อีกมาตรการหนึ่งที่เสนอไว้คือการขยายโครงการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่ทุ่งหญ้าด้วย เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้งนกในพื้นที่ชุ่มน้ำและในทุ่งหญ้า
คณะผู้เขียนรายงานเชื่อว่ามาตรการทั้ง 2-3 ประการดังกล่าวข้างต้น นอกจากจะช่วยยับยั้งปัญหาที่นกในทุ่งหญ้าทั้งสี่ชนิดมีจำนวนลดลงหรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ยังจะช่วยให้นกเหล่านี้ค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นในเวลาไม่นานเช่นเดียวกับนกอีกหลายชนิดที่เคยช่วยกันอนุรักษ์มาแล้ว
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | ||
---|---|---|---|---|
11 | การขยายพื้นที่ทำการเกษตรและปศุสัตว์ | |||
12 | การทำการเกษตรแบบอนุรักษ์พื้นที่ทุ่งหญ้า | |||
13 | การเผาหญ้าให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของนก | |||
14 | การวิเคราะห์สถานการณ์ของคณะผู้เขียนรายงาน | |||
15 | จำนวนนก Northern Bobwhite ลดลง | |||
16 | นกกระจอก Grasshopper มีจำนวนน้อยลง | |||
17 | ภาวะโลกร้อน | |||
18 | มาตรการแก้ปัญหา | |||
19 | สาเหตุที่ทำให้นกในทุ่งหญ้าทั้งสี่ชนิดลดจำนวนลง | |||
20 | เหยี่ยว Aplomado กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ |
เฉลย
บทความที่ 1 – ลุยฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก สศก.แนะทางสว่างแก้ปัญหาสินค้าเกษตร
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | |||
---|---|---|---|---|---|
01 | การลดค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค | 04A | 06A | ||
02 | การส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารลดลง | 04A | 06A | ||
03 | ประกันราคาพืชผลการเกษตร | 04F | 06F | ||
04 | ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังราคาตกต่ำ | 99H | |||
05 | มาตรการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ | 03D | 09D | 10D | |
06 | ราคาข้าวลดลง | 99H | |||
07 | วิกฤตเศรษฐกิจโลก | 01A | 02A | 08A | |
08 | เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและประเทศไทยชะลอตัว | 01A | 02A | ||
09 | ส่งเสริมการส่งออกไปตลาดที่ยังมีศักยภาพ | 04F | 06F | ||
10 | ส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรคุณภาพดี | 04F | 06F |
บทความที่ 2 – นกในอเมริกาหลายชนิดเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | ||
---|---|---|---|---|
11 | การขยายพื้นที่ทำการเกษตรและปศุสัตว์ | 15A | 16A | 20A |
12 | การทำการเกษตรแบบอนุรักษ์พื้นที่ทุ่งหญ้า | 15F | 16F | 20F |
13 | การเผาหญ้าให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของนก | 15F | 16F | 20F |
14 | การวิเคราะห์สถานการณ์ของคณะผู้เขียนรายงาน | 18A | ||
15 | จำนวนนก Northern Bobwhite ลดลง | 99H | ||
16 | นกกระจอก Grasshopper มีจำนวนน้อยลง | 99H | ||
17 | ภาวะโลกร้อน | 15A | 16A | 20A |
18 | มาตรการแก้ปัญหา | 12D | 13D | |
19 | สาเหตุที่ทำให้นกในทุ่งหญ้าทั้งสี่ชนิดลดจำนวนลง | 11D | 17D | |
20 | เหยี่ยว Aplomado กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ | 99H |