ข้อสอบ PAT3 กรกฎาคม 2552

ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ 300 คะแนน

  1. เหรียญถูกกลิ้งไปบนพื้นที่มีความฝืดอย่างเป็นอิสระ โดยไม่มีการไถล ตามรูป ทิศทางของแรงเสียดทานที่พื้นจะไปในทิศทางใด

    1. ไปทางซ้าย
    2. ไปทางขวา
    3. ไม่มีแรงเสียดทาน
    4. ไม่มีข้อมูลพอที่จะเแก้ปัญหาได้
  2. โรงไฟฟ้าใช้เชื้อเพลิงประเภทใดที่ปล่อยมลภาวะทางอากาศในระหว่างการผลิตกระแสไฟฟ้าน้อยที่สุด
    1. โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล
    2. โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
    3. โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน
    4. โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติ
  3. ในกลไกลูกสูบตามรูป การเคลื่อนที่แบบเลื่อนไหลได้แก่

    1. ข้อเหวี่ยง OB
    2. ก้านสูบ AB
    3. ลูกสูบ A
    4. กระบอกสูบ
  4. นาย ก ต้องการพายเรือข้ามฟากคลองแสนแสบไปท่านํ้าที่อยู่ตรงข้ามกันพอดี และมีระยะห่างกัน 60 เมตร นาย ก ประเมินว่าเขาใช้แรงพายเรือทำให้ความเร็วของเรือเท่ากับ 25 เมตรต่อนาที ถ้านาย ก ใช้เวลาในการพายเรือข้ามฟาก 3 นาที ความเร็วน้ำในคลองในขณะนั้นเท่ากับเท่าไร
    1. 10 เมตรต่อนาที
    2. 15 เมตรต่อนาที
    3. 20 เมตรต่อนาที
    4. 25 เมตรต่อนาที
  5. วิศวกรออกแบบเลือกใช้ท่อนเหล็กสำหรับรองรับโครงสร้างที่ไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนรูปแบบถาวรได้ เขาทราบว่าวัสดุที่เขาเลือกใช้สามารถรับความเค้นสูงสุดได้ 400 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร และรับแรงดึงครากได้ 240 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร แรงกระทำที่เกิดขึ้นต่อชิ้นส่วนนี้มีขนาดระหว่าง 120 ถึง 180 กิโลนิวตัน ระหว่างการใช้งานชิ้นส่วนซึ่งมีความยาว 1.5 เมตรนี้ ไม่สามารถยืดหรือหดตัวมากเกินกว่า 1 มิลลิเมตร เพื่อให้การทำงานของโครงสร้างถูกต้อง เหล็กมีโมดูลัสความยืดหยุ่น 200 x 103 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร วิศวกรนายนี้ต้องเลือกใช้เหล็กที่มีขนาดพื้นที่หน้าตัดอย่างน้อยเท่าไร
    1. 450 ตารางมิลลิเมตร
    2. 750 ตารางมิลลิเมตร
    3. 900 ตารางมิลลิเมตร
    4. 1350 ตารางมิลลิเมตร
  6. กล่องหนัก 15 นิวตัน ถูกลากไปตามพื้นลื่นโดยแรง P = 30 นิวตัน ที่ทำมุม θ = 60° ด้วยความเร็ว 3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นเวลา 1 นาที กำลังที่ใช้ในการลากกล่องเป็นเท่าไร

    1. 3.75 W
    2. 12.50 W
    3. 16.25 W
    4. ไม่เกิดงาน จึงไม่มีการใช้กำลังงาน
  7. เมิ่ออัดประจุเข้าไปเป็นฉนวนตัน จะเกิดอะไรขี้น
    1. ประจุทั้งหมดจะอยู่ที่ตำแหน่งอัดครั้งแรก
    2. ประจุทั้งหมดจะกระจายไปทั่วฉนวนอย่างสม่ำเสมอ
    3. ประจุทั้งหมดจะวิ่งไปอยู่ที่ผิวฉนวนเพื่อให้เกิดสมดุล
    4. สนามไฟฟ้าภายในฉนวนจะเป็นศูนย์
  8. สายไฟฟ้ากระแสตรงที่มีกระแสไหล แรงกระทำต่อสายไฟฟ้าทั้งสองเส้นมีลักษณะใด
    1. เป็นแรงผลักระหว่างสาย
    2. เป็นแรงดูดระหว่างสาย
    3. เป็นแรงขับหมุนตามเข็มนาฬิกา
    4. เป็นแรงขับหมุนทวนเข็มนาฬิกา
  9. จากวงจรในรูปด้านล่าง เป็นสัญลักษณ์ของหม้อแปลงไฟฟ้าอุดมคติ จงคำนวณหาอัตราส่วนจำนวนรอบ (a) ของหม้อแปลงว่าควรมีค่าเท่าไหร่ที่ทำให้โหลดได้รับกำลังไฟฟ้าสูงสุด

    1. \(a = \sqrt{10}\)
    2. \(a = \dfrac{1}{\sqrt{10}}\)
    3. \(a = 10\)
    4. \(a = 1\)
  10. จากจากวงจรไฟฟ้ากระแสตรงดังแสดงในรูปด้านล่าง จงคำนวณหาค่าความต้านทาน R1 ว่ามีค่าเท่าไหร่ที่ทำให้แรงดันที่จุด AB มีค่าเท่ากับศูนย์โวลต์

    1. 10 Ω
    2. 20 Ω
    3. 30 Ω
    4. 40 Ω
  11. จงหาความต้านทานที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสของสายทองแดงขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร ที่มีความยาว 1 กิโลเมตร โดยกำหนดให้ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าเท่ากับ 1.7 x 10-8 โอห์ม เมตร
    1. 0.41 โอห์ม
    2. 0.53 โอห์ม
    3. 0.68 โอห์ม
    4. 0.82 โอห์ม
  12. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถส่งกำลังไฟฟ้าได้ 110 กิโลวัตต์ หากกำหนดให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องนี้ส่งกำลังไฟฟ้าด้วยความต่างศักย์ 220 โวลต์ผ่านสายไฟฟ้าที่มีความยาว 200 เมตร เป็นเวลานาน 50 วินาที โดยที่สายไฟฟ้ามีค่าความต้านทานเท่ากับ 0.2 โอห์มต่อกิโลเมดร จงคำนวณหาค่าพลังงานความร้อนที่สูญเสียในสายไฟฟ้า
    1. 500 กิโลจูล
    2. 800 กิโลจูล
    3. 2500 กิโลจูล
    4. 8000 กิโลจูล
  13. ถ้าแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่จ่ายให้วงจร R มีสมการเป็น
    $$ v(t) = 100 \cos(300 \pi t + 50^{\circ}) $$
    ความถี่ของแรงดันนี้คือ

    1. 100 Hz
    2. 50 Hz
    3. 300 Hz
    4. 150 Hz
  14. สำหรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ข้อความใดถูกต้องที่สุด
    1. สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กเป็นสัญญาณรูปไซน์
    2. คลื่นมีความเร็วเท่ากับความเร็วแสง
    3. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามยาว
    4. สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กมีความถี่เดียวกัน
  15. เครื่องวัดชนิดหนี่งมีค่าความต้านทานภายใน 1 kΩ สามารถวัดแรงดันไฟฟ้าได้สูงสุด 2 kV เมื่อต้องนำไปวัดแรงดันไฟฟ้า 20 kV ต้องนำตัวต้านทานค่าเท่าไหร่มาต่ออนุกรม
    1. 1 kΩ
    2. 9 kΩ
    3. 10 kΩ
    4. 18 kΩ
  16. จากรูปด้านล่าง จงหาค่า L ที่ทำให้กระแสมีค่า \(i(t) = 2 \sin (50t + 90^{\circ}) \ A\)

    1. 2000 H
    2. 4000 H
    3. 6000 H
    4. 8000 H
  17. แสงเดินทางออกจากวัตถุชนิดหนี่งเข้าสู่อากาศ ทำมุมตกกระทบ 45 องศาโดยที่มุมหักเหที่ผิวรอยต่อระหว่างวัตถุกับอากาศมีค่า 60 องศา จงคำนวณหาอัตราเร็วของแสงในวัตถุดังกล่าว
    1. 1.63 x 108 เมตรต่อวินาที
    2. 2.45 x 108 เมตรต่อวินาที
    3. 3.67 x 108 เมตรต่อวินาที
    4. 4.24 x 108 เมตรต่อวินาที
  18. เครื่องปรับอากาศสามารถทำความเย็นได้ 12,000 บีทียูต่อชั่วโมงซึ่งมีความต่างศักย์ 220 โวลต์ มีค่าตัวประกอบกำลังเท่ากับ 0.9 หากเครื่องปรับอากาศดังกล่วงมีค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ (EER) เท่ากับ 12 จงคำนวณหากระแสไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศนี้
    1. 4.09 แอมแปร์
    2. 4.54 แอมแปร์
    3. 5.05 แอมแปร์
    4. 5.56 แอมแปร์
  19. ความเร็วของคลื่นเสียงในตัวกลางต่างๆเป็นอย่างไร
    1. เสียงมีความเร็วต่ำในตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่ำและมีอุณหภูมิต่ำ
    2. เสียงมีความเร็วต่ำในตัวกลางที่มีความหนาแน่นสูงและมีอุณหภูมิสูง
    3. เสียงมีความเร็วสูงในตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่ำและมีอุณหภูมิต่ำ
    4. เสียงมีความเร็วสูงในตัวกลางที่มีความหนาแน่นสูงและมีอุณหภูมิสูง
  20. การเพิ่มความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้าทำได้โดย
    1. เพิ่มสนามแม่เหล็กในมอเตอร์
    2. เพิ่มกระแสไฟฟ้าให้มอเตอร์
    3. เพิ่มทั้งสนามแม่เหล็กและกระแสไฟฟ้าให้มอเตอร์
    4. ลดสนามแม่เหล็กและเพิ่มกระแสไฟฟ้าให้มอเตอร์
  21. วงจรไฟฟ้าในรูปด้านล่าง ถ้าไดโอด D4 ขาดจะวัดค่าแรงดันเฉลี่ยคร่อม RL ได้เท่าไร

    1. 99 โวลต์
    2. 110 โวลต์
    3. 220 โวลต์
    4. 0 โวลต์
  22. มอเตอร์เหนี่ยวนำ (Induction Motor) ขณะทำงานที่สลิปเท่ากับหนึ่ง (Slip = 1) หมายความว่าอย่างไร
    1. มอเตอร์จะไม่หมุน
    2. มอเตอร์หมุนสูงกว่าความเร็วปรกติ
    3. มอเตอร์หมุนต่ำกว่าความเร็วปรกติ
    4. ผิดทุกข้อ
  23. หม้อแปลงไฟฟ้า 1 เฟส ขนาด 30 กิโลวา (kVA) หากความต่างศักย์ระหว่างปลายทั้งสองของขดลวดปฐมภูมิมีค่าเท่ากับ 33 กิโลโวลต์ และความต่างศักย์ระหว่างปลายทั้งสองของขดลวดทุติยภูมิมีค่าเท่ากับ 240 โวลต์ จงคำนวณหาค่าพิกัดกระแสไฟฟ้าของขดลวดปฐมภูมิและทุติยภูมิ
    1. 0.91 แอมแปร์ และ 125 แอมแปร์
    2. 1.1 แอมแปร์ และ 800 แอมแปร์
    3. 125 แอมแปร์ และ 0.91 แอมแปร์
    4. 800 แอมแปร์ และ 1.1 แอมแปร์
  24. จงหากำลังไฟฟ้าสูญเสียไปในตัวต้านทาน 3 โอห์ม

    1. 3 วัตต์
    2. 6 วัตต์
    3. 12 วัตต์
    4. 24 วัตต์
  25. บนชั้นวางสารมีสารเคมีวางอยู่ 2 ขวด มีสถานะเป็นของเหลว และฉลากบอกชื่อหลุดอยู่ข้างๆ 2 แผ่นเขียนว่า cyclohexene และ benzene ท่านมีวิธีทดสอบต่อไปนี้
    ก. ทำปฏิกิริยากับ \(\ce{KMnO4} \ \) 1 %
    ข. ทำปฏิกิริยากับ \(\ce{Br2}\) ใน \(\ce{CCl4}\)
    ค. ทำปฏิกิริยากับ \(\ce{HI}\)
    ง. หยดด้วยฟีนอฟทาลีน
    จ. ทำปฏิกิริยากับ \(\ce{NaHSO3}\)
    ดังนั้น วิธึการในการทดสอบเพื่อบอกความแตกต่างของ cyclohexene และ benzene ที่ท่านเลือกใช้ได้ คือ

    1. ข้อ ก ข และ ค
    2. ข้อ ก ค และ ง
    3. ข้อ ข ค และ ง
    4. ข้อ ก ค และ จ
  26. วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิตต้องการรู้ความเป็นกรดของกรดคาร์บอกซิลิกต่อไปนี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ข้อใดเรียงลำดับความเป็นกรดจากมากไปหาน้อยได้ถูกต้อง

    1. A > B > C > D
    2. B > A > C > D
    3. C > A > B > D
    4. C > B > A > D
  27. จากข้อมูลต่อไปนี้ พลังงานที่ใช้เพื่อเอาชนะแรงระหว่างโมเลกุลในการทำให้เอทานอลเดือดกลายเป็นไอ เป็นไปตามข้อใด
    ก. แรงดึงดูดระหว่างขั้ว
    ข. พันธะไฮโดรเจน
    ค. แรงลอนดอน
    ง. แรงระหว่างประจุไฟฟ้า

    1. ก ข
    2. ก ค
    3. ก ง
    4. ก ข ค
  28. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ NGV และ LPG ที่ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกแทนแก๊สโซลีน
    1. NGV เบากว่าอากาศ ส่วน LPG หนักกว่าอากาศ
    2. NGV ในถังมีความดันมากกว่า LPG
    3. NGV และ LPG ในถังที่ติดอยู่ท้ายรถยนต์มีสถานะเป็นของเหลว
    4. NGV มีมีเทนเป็นองค์ประกอบหลัก ส่วน LPG มีโพรเพนและบิวเทนเป็นองค์ประกอบหลัก
  29. สารละลาย \(\ce{NaOH}\) เข้มข้น 2 โมล/ลิตร ปริมาตร 200 มิลลิลิตร เมื่อนำมาเติมน้ำกลั่นจนมีปริมาตรเป็น 500 มิลลิลิตร จะทำให้สารละลายใหม่ที่ได้มีความเข้มข้นเท่าใด (Na=23, H=1, 0=16)
    1. 0.2 โมล/ลิตร
    2. 0.4 โมล/ลิตร
    3. 0.8 โมล/ลิตร
    4. 1.0 โมล/ลิตร
  30. ปฏิกิริยา \(\ce{2SO2(g) + O2(g) <=> 2SO3(g)}\) ในการผลิตกรดซัลฟิวริกเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน ถ้าระบบอยู่ในภาวะสมดุล มีการรบกวนสมดุลนั้น การเปลี่ยนแปลงของข้อใดถูกต้อง
    1. เติมตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้ปฏิกิริยาเลื่อนไปข้างหน้ามากขึ้น ค่าคงที่ของสมดุลคงเดิม
    2. เพิ่มอุณหภูมิทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น ค่าคงที่ของสมดุลลดลง
    3. เติมแก๊ส \(\ce{O2}\) อุณหภูมิคงที่ ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาข้างหน้ามากขี้น ค่าคงที่ของสมดุลเพิ่มขึ้น
    4. เติมแก๊ส \(\ce{SO3}\) อุณหภูมิคงที่ ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ ค่าคงที่ของสมดุลลดลง
  31. บ้านหลังหนึ่งทำการติดตั้งอุปกรณ์ทำน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ พบว่า ประสิทธิภาพเชิงความร้อนเฉลี่ยเป็น 35% ถ้าพลังงานตกกระทบแผ่นรับรังสีความร้อนในหนึ่งชั่วโมงมีค่า 106 จูลต่อตารางเมตร ถามว่าถ้าวิศวกรต้องการออกแบบให้อุปกรณ์ที่มีขนาด 3 ตารางเมตร โดยต้องการทำน้ำ 200 กิโลกรัม จากอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ให้มีอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ภายในหนึ่งชั่วโมง จะต้องให้ปั๊มทำการหมุนเวียนน้ำอย่างน้อยกี่รอบ (ความจุความร้อนของนํ้า = 4.2 กิโลจูล/กิโลกรัม-เคลวิน)
    1. 6 รอบ
    2. 16 รอบ
    3. 24 รอบ
    4. 48 รอบ
  32. ระบบทำความเย็นให้กับอากาศชนิดหนึ่ง ใช้หลักการดึงความร้อนออกจากอากาศในขณะที่อากาศไหลผ่านม่านละอองน้ำ ความร้อนที่ถูกดึงออกจากอากาศจะใช้ไปในการทำให้น้ำระเหย ถ้าใช้ระบบดังกล่าวทำความเย็นให้กับอากาศมวล 550 กิโลกรัม อากาศไหลเข้าสู่ม่านละอองน้ำที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และออกที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส ถามว่าจะต้องใช้น้ำไปในการระเหยปริมาณเท่าใด (ค่าความจุความร้อนจำเพาะของนํ้ามิค่าคงที่ = 4.2 กิโลจูล/กิโลกรัม-องศาเซลเซียส ค่าความจุความร้อนจำเพาะของอากาศมีค่าคงที่ = 1.0 กิโลจูล/กิโลกรัม-องศาเซลเซียส และความร้อนแฝงในการกลายเป็นไอของน้ำ 2200 กิโลจูล/กิโลกรัม)
    1. 0.5 กิโลกรัม
    2. 0.8 กิโลกรัม
    3. 2.1 กิโลกรัม
    4. 3.0 กิโลกรัม
  33. นักดำน้ำลึกคนหนึ่งมีถังอากาศ 2 ถัง (แบบถังอากาศคู่) โดยในแต่ละถังมีปริมาตร 0.15 ลูกบาศก์เมตร และส่วนผสมระหว่างแก๊สออกซิเจนและฮีเลียมที่มีสัดส่วนโดยปริมาตร 20:80 ความดันของแก๊สเมื่ออยู่ใต้นํ้าที่อุณหภูมิ 300 องศาเคลวิน มีค่า 900 กิโลปาสคาล ถามว่า นักดำนํ้าคนดังกล่าวจะต้องแบกน้ำหนักแก๊สรวมกี่กิโลกรัม (ค่าคงตัวแก๊ส \(\ce{O2}\) = 0.2 กิโลจูล/กิโลกรัม-เคลวิน และค่าคงตัวแก๊ส \(\ce{He}\) = 2.0 กิโลจูล/กิโลกรัม-เคลวิน)
    1. 0.18 กิโลกรัม
    2. 0.63 กิโลกรัม
    3. 1.26 กิโลกรัม
    4. 2.5 กิโลกรัม
  34. พิจารณาขั้นตอนการบรรจุแก๊สออกซิเจนลงในถังพบว่า ครั้งแรกพนักงานบรรจุแก๊สจนถังดังกล่าวมีความดัน 150 กิโลปาสคาล อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส และมีน้ำหนักแก๊สเป็น 30 กิโลกรัม แต่เนื่องจากพบว่าความดันสูงสุดที่ถังทนได้คือ 250 กิโลปาสคาล จึงได้ทำการเติมแก๊สเพิ่ม ในขณะที่เติมพบว่าอุณหภูมิของแก๊สออกซิเจนเป็น 30 องศาเซลเซียส ถามว่าน้ำหนักแก๊สเติมเข้าไปภายหลังมีค่ากี่กิโลกรัม (ค่าคงตัวแก๊ส \(\ce{O2}\) = 0.2 กิโลจูล/กิโลกรัม-เคลวิน)
    1. 19.5 กิโลกรัม
    2. 25.5 กิโลกรัม
    3. 30 กิโลกรัม
    4. 49.5 กิโลกรัม
  35. ลูกสูบที่มีภาระเป็นสปริงดังรูปบรรจุแก๊สฮีเลียม เมื่อลูกสูบยังไม่สัมผัสกับสปริงพบว่า แก๊สมีความดันและปริมาตรเป็น 150 กิโลปาสคาล และ 0.4 ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เมื่อให้ความร้อนกับลูกสูบทำให้ฝาสูบเริ่มสัมผัสกับสปริงจนแก๊สภายในกระบอกสูบมีความดันและปริมาตรสุดท้ายเป็น 300 กิโลปาสคาล และ 0.8 ลูกบาศก์เมตร จงหางานรวมของทั้งระบบ

    1. 30 กิโลจูล
    2. 60 กิโลจูล
    3. 90 กิโลจูล
    4. 120 กิโลจูล
  36. ก) เครื่องยนต์ที่ต้องการแรงม้าสูงมักเป็นเครื่องยนต์ดีเซล
    ข) การเติมสารออกเทนมักใช้กับน้ำมันดีเซล
    ค) เครื่องยนต์ดีเซลใช้หลักการอัดอากาศให้มีความดันสูงแล้วจุดระเบิดด้วยการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
    ง) การใช้หัวเทียนในการจุดระเบิดใช้เฉพาะในเครื่องยนต์เบนซิน
    ถามว่าข้อความดังที่กล่าวมา ข้อใดถูกต้อง

    1. ก ข และ ก
    2. ข ค และ ง
    3. ก ค และ ง
    4. ค และ ง
  37. ถังสูง 6 เมตร บรรจุน้ำความหนาแน่น 1000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูง 4 เมตร และด้านบนเป็นน้ำมันความหนาแน่น 800 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เติมจนเต็มความสูงของถัง ถ้าความดันบรรยากาศด้านบนถังมีค่า 100 กิโลปาสคาล จงหาค่าความดันที่ก้นถัง และค่า g = 10 เมตร/วินาที2
    1. 57 กิโลปาสคาล
    2. 116 กิโลปาสคาล
    3. 140 กิโลปาสคาล
    4. 156 กิโลปาสคาล
  38. จากรูป จงหาว่ามาตรวัดควานดัน A อ่านค่าได้เท่าใด กำหนดให้นํ้ามีความหนาแน่น 1000 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร น้ำมันมีความหนาแน่น 800 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปรอทมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ 13.6 เท่า ความดันบรรยากาศ 100 กิโลปาสคาล และค่า g = 10 เมตร/วินาที2

    1. 45 กิโลปาสคาล
    2. 145 กิโลปาสคาล
    3. 91 กิโลปาสคาล
    4. 191 กิโลปาสคาล
  39. กฎของทอร์ริเซลลี กล่าวถึงปรากฏการณ์ของไหลในข้อใด
    1. พลังงานรวมในระหว่างการไหลของของไหลจะคงที่ถ้าไม่พิจารณาแรงเสียดทาน
    2. สำหรับของไหลที่หยุดนิ่ง การเพิ่มความดันให้กับของเหลวที่ตำแหน่งใดๆบนผิวก็ตาม ความดันที่เพิ่มขึ้นนั้นจะแพร่กระจายไปตลอดทุกส่วนของของเหลว
    3. อัตราเร็วของของเหลวที่พุ่งออกจากรูด้านข้างถังจะเท่ากับอัตราเร็วของวัตถุที่ตกแบบเสรีจากระดับสูงที่เท่ากัน และไม่ขึ้นกับชนิดของของเหลว
    4. ของเหลวเมื่อทำให้มีความเร็วสูงขึ้น ความดันในของเหลวนั้นจะลดลง
  40. แผ่นเรียบกลมบางมีรูอยู่ตรงกลางเป็นรูปวงแหวนเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 4.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 2.5 เมตร วางจมในแนวระดับอยู่ในน้ำลึก 20 เมตร จงหาแรงกดที่เกิดจากน้ำบนแผ่นเรียบกลมนี้ กำหนดให้ความหนาแน่นของน้ำเท่ากับ 1000 กิโลกรัม/ลูกบาคก์เมตร และค่า g = 10 เมตร/วินาที2 และให้ใช้ π = 22/7

    1. 7.7 เมกานิวตัน
    2. 4.4 เมกานิวตัน
    3. 3.3 เมกานิวตัน
    4. 2.2 เมกานิวตัน
  41. เครื่องสูบน้ำแบบใช้แรงเหวี่ยงหนีศูนย์เป็นเครื่องสูบน้ำที่นิยมใช้กันตามบ้านทั่วไป ลักษณะการไหลน้ำจะเข้าสู่ส่วนหมุนของเครื่องตรงกลาง ในขณะที่หมุนส่วนหมุนนี้ จะเหวี่ยงนํ้าออกไปทำให้น้ำมีพลังงานสูงขึ้นและไหลออกไปทางด้านข้าง พิจารณาส่วนหมุนของเครื่องสูบน้ำในรูป ถ้าน้ำไหลเข้าด้วยอัตราการไหล 66 ลิตรต่อวินาที ในสภาพการไหลอย่างสม่ำเสมอ ขณะที่น้ำจะไหลออกจากส่วนหมุนทางด้านข้างเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ช่องกว้าง 21 มิลลิเมตร จงหาความเร็วสัมพัทธ์ของน้ำที่ทางออกเทียบกับส่วนหมุน ให้ใช้ π = 22/7

    1. 5 เมตร/วินาที
    2. 8.90 เมตร/วินาที
    3. 15 เมตร/วินาที
    4. 20 เมตร/วินาที
  42. การขึ้นรูปโลหะวิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยมคือ การกด (Press) โดยใช้เครื่องกดไฮดรอลิกส์ ถ้าหากว่าที่หัวกดเราต้องการแรงกดเท่ากับ 1,000 กิโลนิวตัน ซิ่งพื้นที่หน้าตัดของกระบอกสูบหัวกดมีค่าเท่ากับ A ส่วนด้านกระบอกสูบให้แรงลูกสูบมีพื้นที่หน้าตัด \(\dfrac{A}{10}\) จงหาว่าต้องออกแรง F ที่ด้านกระบอกสูบให้แรงเท่าใด

    1. 10 กิโลนิวตัน
    2. 100 กิโลนิวตัน
    3. 10,000 กิโลนิวตัน
    4. 100,000 กิโลนิวตัน
  43. รถโดยสารสายหนึ่งปล่อยรถจากสถานีต้นทางทุกๆ 4 นาที ปล่อยรถจากสถานีปลายทางทุกๆ 5 นาที และปล่อยรถจากสถานีกลางทางทุกๆ 6 นาที ถ้าทุกสถานีเริ่มปล่อยรถคันแรกออกเวลาเดียวกันที่ 14:00 น. ทุกสถานีจะปล่อยรถออกพร้อมกันอีกครั้งที่เวลาใด?
    1. เวลา 14:48 น.
    2. เวลา 15:00 น.
    3. เวลา 15:12 น.
    4. เวลา 15:45 น.
  44. กำหนดให้วงกลมทั้ง 4 วง มีรัศมีเท่ากันและเส้นรอบวงจรดสี่เหลี่ยมจัตุรัสพอดี กำหนดให้พื้นที่ส่วนสีดำตรงกลางมีค่าเท่ากับ 4-π ให้หาพื้นที่ส่วนสีเทา

    1. 16-4 π
    2. 16-3 π
    3. 14-3 π
    4. 12-3 π
  45. ก้านไม้ขีดไฟตรงยาวมากจำนวน 7 ก้าน สามารถวางเกยกันให้ใด้จุดตัดมากที่สุดเท่าไร?
    1. จุดตัด 5,040 จุด
    2. จุดตัด 128 จุด
    3. จุดตัด 49 จุด
    4. จุดตัด 21 จุด
  46. หากจ่ายเงินซื้อสินค้าชิ้นหนึ่งด้วยธนบัตรราคา 20 บาท จะต้องใช้จำนวนธนบัตรมากกว่าการจ่ายเงินซื้อสินค้าชิ้นเดียวกันด้วยธนบัตรราคา 50 บาทอยู่ 9 ฉบับ ให้หาราคาสินค้าชิ้นนี้
    1. ราคา 200 บาท
    2. ราคา 300 บาท
    3. ราคา 400 บาท
    4. ราคา 500 บาท
  47. มีผู้สังเกตว่าปฏิทินเดือนมิถุนายนของปีหนึ่ง มีวันอาทิตย์เพียงสี่ครั้ง ให้หาว่าสองวันใด ไม่มีทางเป็นวันที่ 30 มิถุนายนของปีนั้นได้
    1. วันอาทิตย์และวันจันทร์
    2. วันจันทร์และวันอังคาร
    3. วันอังคารและวันพุธ
    4. วันศุกร์และวันเสาร์
  48. เด็กหญิงฟ้าขณะนี้แก่กว่าเด็กหญิงเขียวอยู่หกปี ในขณะเดียวกันก็นับได้ว่า เด็กหญิงฟ้ามีอายุปัจจุบันนับเป็นสามเท่าของอายุของเด็กหญิงเขียวเมื่อสี่ปีที่แล้ว ให้หาอายุรวมเมื่อสิ่ปีที่แล้วของพี่น้องสองคนนี้
    1. อายุรวม 9 ปี
    2. อายุรวม 11 ปี
    3. อายุรวม 16 ปี
    4. อายุรวม 24 ปี
  49. นายสมโชค เป็นพ่อค้าขายรถมือสอง เมื่อวานนายสมโชคขายรถได้ทั้งสิ้น จำนวน 2 คันในราคาเท่ากันคันละ 700,000 บาท ปรากฏว่า ขายรถคันแรกได้กำไร 25 % และคันที่สองขาดทุน 25% ดังนั้นข้อสรุปใดต่อไปนี้ถูกต้อง
    1. เขาไม่ได้กำไร และไม่ขาดทุน
    2. เขาได้กำไร
    3. เขาขาดทุน
    4. ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง
  50. สาร A มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 70% และสาร B มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 50% ถ้านำสารทั้งสองมาผสมกันในอัตราส่วน 6:4 แล้วของผสมใหม่จะมีน้ำเป็นส่วนผสมอยู่กี่เปอร์เซ็นต์
    1. 52 %
    2. 60 %
    3. 62 %
    4. 70 %
  51. นายดำดี ขับรถจากกรุงเทพไปเชียงใหม่เป็นระยะทาง 650 กิโลเมตร เที่ยวขาไปขับรถด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเที่ยวขากลับขับด้วยความเร็ว 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อยากทราบว่า นายดำดีขับรถทั้งไปและกลับด้วยความเร็วเฉลี่ยกี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    1. \(90\) กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    2. \(80\) กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    3. \(78\dfrac{3}{4}\) กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    4. \(75\dfrac{4}{5}\) กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  52. ในเมืองดูกันดี มีตัวเลขใช้ 2 ตัวเท่านั้น คือ \(\forall\) และ \(\exists\) โดยที่
    \(\exists = 0 \qquad \forall \forall = 3 \qquad \forall \forall \exists = 6 \\
    \forall = 1 \qquad \forall \exists \exists = 4 \qquad \forall \forall \forall = 7 \\
    \forall\exists = 2 \qquad \forall \exists \forall = 5\)
    อยากทราบว่า 20 ในเมืองดูกันดีเขียนอย่างโร

    1. \(\forall \exists \exists \forall\)
    2. \(\forall \forall \exists \forall\)
    3. \(\exists \exists \exists \exists\)
    4. \(\forall \forall \forall \forall\)
  53. ถ้านายสมชาติสอบวิชาคณิตศาตร์ได้ 61 คะแนน เคมีได้ 55 คะแนน และภาษาไทย 62 คะแนน จากคะแนนเต็มของแต่ละวิชาคือ 100 คะแนน ถ้าค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของทั้ง 3 วิชา คือ 58, 52, 58 และ 3, 2, 6 ตามลำดับ
    ข้อสรุปใดถูกด้อง

    1. นายสมชาติ สอบวิชาคณิตศาตร์ได้ดีที่สุด
    2. นายสมชาติ สอบวิชาเคมีได้ดีที่สุด
    3. นายสมชาติ สอบวิชาภาษาไทยได้ดีที่สุด
    4. นายสมชาติ สอบวิชาคณิตศาตร์และภาษาไทยได้คะแนนดีเท่ากัน
  54. ถ้าต้องการเขียนแบบวัตถุซึ่งมีรูปร่างเป็นแผ่นแบน ยาว 500 มม. และกว้าง 15 มม. หนา 8 มม. โดยใช้สเกลย่อ 4 เท่า เลขบอกขนาดที่ปรากฏในแบบ และข้อความที่บอกสเกล ข้อใดถูกด้อง
  55. พิจารณาข้อความต่อไปนี้
    ก. กรอบอ้างอิงอาจจะมีการเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันได้
    ข. กฎการเคลิ่อนที่ของนิวตันเป็นจริงเฉพาะกับกรอบอ้างอิงเฉื่อย
    ก. กรอบอ้างอิงเฉี่อยคือกรอบอ้างอิงที่มีความเร่งคงที่
    ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง

    1. ข้อ ก
    2. ข้อ ข
    3. ข้อ ค
    4. ข้อ ข และ ค
  56. ผลลัพธ์ของการทดลองจากการวัดค่าระหว่างความเร็วและพลังงานจลน์ของวัตถุ 2 ชนิด ชื่อ m1 และ m2 เป็นไปตามกราฟข้างล่างนี้ ข้อใดคือผลของการวิเคราะห์ที่มีความเป็นไปได้

    1. มวลของ m1 มีค่าเป็น 4 เท่าของ m2
    2. มวลของ m1 มีค่าเป็น 2 เท่าของ m2
    3. มวลของ m1 มีค่าเป็น 1/4 เท่าของ m2
    4. มวลของ m1 มีค่าเป็น 1/2 เท่าของ m2
  57. มอเตอร์ไฟฟ้าเหมือนกันทุกประการ 2 ตัว ตัวที่หนึ่งใช้ในการขับเคลื่อนวงล้อหมายเลข 1 ส่วนมอเตอร์ตัวที่สองใช้ในการขับเคลื่อนวงล้อหมายเลข 2 ถ้ามวลของวงล้อทั้งสองเท่ากันและมีรัศมีภายนอกเท่ากัน มอเตอร์ตัวใดที่ต้องใช้กำลังขับเคลื่อนมากกว่าในการเริ่มขับเคลื่อนให้วงล้อทั้งสองหมุนด้วยความเร็วเท่ากันจากสภาวะเริ่มต้นที่หยุดนิ่ง

    1. มอเตอร์ตัวแรก
    2. มอเตอร์ตัวสอง
    3. มอเตอร์ทั้ง 2 ตัวใช้กำลังเท่ากัน
    4. ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปได้
  58. ดาวเทียมมวล m กิโลกรัม โคจรรอบโลกเป็นวงกลมด้วยความเร็ว v เมตรต่อวินาที ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง ถ้าในขณะที่โคจรอยู่นั้น มวลของดาวเทียมลดลงหนึ่งในสาม
    1. ความเร็วในการโคจรเท่าเดิม
    2. ความเร็วในการโคจรลดลงหนึ่งในสาม
    3. ความเร็วในการโคจรเพิ่มขึ้นหนึ่งในสาม
    4. ความเร็วในการโคจรเพิ่มขึ้นสองในสาม
  59. ฐานเครื่องจักรมีขนาดพื้นที่หน้าตัด 20 ตารางเซนติเมตร เกิดความเค้นอัด 4 จิกะนิวตันต่อตารางเมตรขึ้นบนฐาน เนื่องจากน้ำหนักของตัวเครื่องจักรเอง จงหาค่าน้ำหนักของตัวเครื่องจักร
    1. 8 กิโลนิวตัน
    2. 80 กิโลนิวตัน
    3. 800 กิโลนิวตัน
    4. 8000 กิโลนิวตัน
  60. พิจาณาระบบเฟืองต่อกันดังรูป ถ้าเฟือง C หมุนด้วยความเร็วคงที่ 2000 รอบต่อนาทีในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง

    1. เฟือง A หมุนด้วยความเร็วคงที่ 2000 รอบต่อนาทีในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
    2. เฟือง B หมุนด้วยความเร็วคงที่ 2000 รอบต่อนาทีในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
    3. เฟือง D หมุนด้วยความเร็วคงที่ 2000 รอบต่อนาทีในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
    4. เฟือง E หมุนด้วยความเร็วคงที่ 2000 รอบต่อนาทีในทิศทางตามเข็มนาฬิกา

เฉลย

1. 3
2. 2
3. 3
4. 2
5. 4
6. 2
7. 1
8. 1
9. 2
10. 2
11. 3
12. 1
13. 4
14. 4
15. 2
16. 2
17. 2
18. 3
19. 4
20. 2
21. 1
22. 1
23. 1
24. 3
25. 1
26. 1
27. 4
28. 3
29. 3
30. 2
31. 2
32. 1
33. 3
34. 1
35. 3
36. 3
37. 4
38. 1
39. 3
40. 4
41. 1
42. 2
43. 2
44.
45. 4
46. 2
47. 1
48. 3
49. 3
50. 3
51. 3
52. 4
53. 2
54. 4
55. 3
56. 4
57. 2
58. 1
59. 4
60. 3

Leave a Reply

Thumbnails managed by ThumbPress