ข้อสอบ ความถนัดทั่วไป (GAT1)
คะแนนเต็ม 150 คะแนน เวลาในการทำข้อสอบ 1 ชั่วโมง 30 นาที
บทความที่ 1 – ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลกระทบต่อไทย
หลายคนคงไม่รู้ว่าอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations ตัวย่อคือ ASEAN) มีบทบาทมากน้อยเพียงใดต่อไทยซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในบรรดาสมาชิกสิบประเทศ อาเซียนมีผลต่อเราหลายด้าน ที่ผ่านมาเร็วๆนี้ก็คือข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า (AFTA) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ตามข้อตกลงนี้ไทยต้องยกเลิกโควตาสินค้าเกษตร 23 รายการและลดภาษีเป็น 0% เช่น น้ำนมดิบ กระเทียม พริกไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ น้ำมันถั่วเหลือง และบางรายการลดภาษีเป็น 5% เช่น เมล็ดกาแฟ มันฝรั่ง เนื้อมะพร้าวแห้ง โชคดีที่เมื่อปีที่ผ่านมาปรากฏว่าในภาพรวมไทยสามารถส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนได้มากขึ้น แต่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราจะใจเย็นอยู่ไม่ได้เพราะประชาคมอาเซียนกำลังจะเกิดขึ้น ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันให้จัดตั้งประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ.2558 ประชาคมที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อเราทั้งผลทางด้านบวกและผลทางด้านลบมากที่สุดก็คือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพราะมีข้อตกลงที่เรียกว่าความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (Asean Trade in Goods Agreement – ATIGA) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ว่า “เพื่อให้ประสบผลในการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีภายในอาเซียนซึ่งเป็นหลักการหนึ่งในการรวมตัวเพื่อเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน เพื่อให้มีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในเชิงลึกยิ่งขึ้น” การยกเลิกภาษีหรือโควตาสินค้าต่างๆ ตามข้อตกลง AFTA ดังกล่าวข้างต้นจะเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง
ดังนั้นเมื่อเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การค้าขาย การลงทุน และการประกอบธุรกิจต่างๆ จะเปิดกว้างในหมู่สมาชิกทั้ง 10 ประเทศ สินค้าออกของเราจะมีตลาดใหญ่ขึ้น และคนไทยจะสามารถไปลงทุนทำธุรกิจหรือไปทำงานได้ในประเทศสมาชิกทุกประเทศ โอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ทั้งสองประการนี้คือผลทางด้านบวกที่เห็นได้ชัดจากการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนี้ยังมีผลด้านบวกอื่นๆอีกหลายอย่างซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้
เมื่อมีผลทางด้านบวกก็มักจะมีผลทางด้านลบด้วย ประการแรกคือประเทศสมาชิกอื่นก็ส่งสินค้าออกได้อย่างเสรีเช่นกัน ซึ่งจะทาให้ความหวังของเราที่จะมีตลาดสินค้าส่งออกใหญ่ขึ้นไม่เป็นไปตามคาด เพราะสินค้าออกของเรามีคู่แข่งสำคัญหลายรายการ เช่น ข้าว คู่แข่งก็คือเวียดนามและพม่า ยางพาราก็มีมาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นคู่แข่ง แม้แต่ตลาดข้าวในประเทศก็อาจถูกโจมตีด้วยข้าวจากประเทศอื่นที่มาราคาถูกกว่าแต่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน ผลลบอีกอย่างหนึ่งก็คือ คนชาติอื่นก็ไปทำงานได้ในทุกประเทศของอาเซียน ทำให้ความหวังที่ว่าโอกาสในการประกอบอาชีพของเราจะเพิ่มขึ้นกลับเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามได้ แม้แต่งานดีๆในบ้านเราก็อาจถูกคนชาติอื่นในอาเซียนเข้ามาแย่งงาน
อีกไม่นานก็จะถึงปี พ.ศ. 2558 ในเวลาที่เหลืออีกเพียง 3-4 ปี เราจะต้องเตรียมความพร้อมอย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นผลในด้านดีทั้งสองอย่างก็จะเจออุปสรรคขัดขวางดังกล่าวข้างต้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนจะเตรียมความพร้อมกันอย่างไรคงต้องพูดกันยืดยาว จึงขอยกไปว่ากันในบทความที่ 2
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | ||
---|---|---|---|---|
01 | คนอื่นก็ไปทำงานได้ในทุกประเทศของอาเซียน | |||
02 | ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน | |||
03 | ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน | |||
04 | ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน | |||
05 | ประชาคมอาเซียน | |||
06 | ประเทศสมาชิกอื่นก็ส่งสินค้าออกได้อย่างเสรี | |||
07 | ผลทางด้านบวก | |||
08 | ผลทางด้านลบ | |||
09 | สินค้าออกของเราจะมีตลาดใหญ่ขึ้น | |||
10 | โอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทยจะเพิ่มขึ้น |
บทความที่ 2 – ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลกระทบต่อไทย
ดังที่กล่าวในบทความที่ 1 ว่า เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ไทยน่าจะได้ประโยชน์หลายๆ ด้าน ที่สำคัญคือตลาดสินค้าส่งออกของเราจะเพิ่มขึ้น และคนของเราจะมีลู่ทางประกอบอาชีพกว้างขวางขึ้นเพราะสามารถไปลงทุนทำธุรกิจหรือไปทำงานได้ในทุกประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียน เพื่อให้ประโยชน์หรือผลทางด้านบวกเกิดขึ้นได้เต็มที่ เรามีสิ่งที่ต้องเร่งปรับปรุงพัฒนากันอย่างจริงจังหลายอย่าง ที่จริงเรื่องนี้มีหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนได้พูดกันมานานพอควร แต่คนของเรายังไม่ค่อยตื่นตัวกันนัก แม้ขณะนี้ดูเหมือนจะสายเกินไป เพราะอีกเพียง 3-4 ปีก็จะเข้า พ.ศ.2558 แล้ว แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
ถ้าพิจารณาจากผลทางด้านบวกดังกล่าวข้างต้นก็คงระบุได้เลยว่า สิ่งที่ต้องพัฒนาให้สอดคล้องกันคือ สินค้าส่งออก และความรู้ความสามารถของคนไทย สินค้าออกของเราจะต้องเป็นเช่นไรจึงจะแข่งขันกับสินค้าชาติอื่นได้ คำตอบก็คือต้องคุณภาพสูงและต้นทุนต่ำ สินค้าออกของเราหลายรายการมีคู่แข่งที่เป็นประเทศสมาชิกอาเซียน เราต้องพัฒนากระบวนการผลิตทุกขั้นตอนให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ และหามาตรการลดต้นทุนทุกๆขั้นตอนให้สินค้าของเรามีต้นทุนต่ำ เช่นข้าว ต้องปรับปรุงตั้งแต่เรื่องการใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่แต่และแห่ง การปลูก การเก็บเกี่ยว การสีข้าว หาทางลดราคาเมล็ดพันธุ์ ราคาปุ๋ย ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และลดต้นทุนการขนส่ง ถ้าการผลิตสินค้าแต่ละอย่างดำเนินการในลักษณะนี้ สินค้าส่งออกของเราต้องแข่งขันได้อย่างแน่นอน
สำหรับเรื่องความรู้ความสามารถของคนไทยนั้น ก็ต้องพิจารณาว่าเราต้องมีความรู้ความสามารถอะไรบ้างจึงจะแข่งขันกับคนชาติอื่นได้ ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือทักษะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารกับคนชาติอื่นๆ และหากสามารถใช้ภาษาของคนในประเทศกลุ่มอาเซียนได้อีก 1-2 ภาษาก็จะยิ่งได้เปรียบ ความสามารถและทักษะในการบริหารจัดการและการเป็นผู้ประกอบการก็สำคัญ เพราะหากเราจะประกอบธุรกิจของเราเองก็ต้องมีทักษะเหล่านี้ ที่จริงเรื่องความรู้และทักษะที่สำคัญและจำเป็นสาหรับยุคที่โลกมีการเปิดเขตการค้าเสรี (Free Trade Areas – FTA) มากขึ้นเรื่อยๆ นอกเหนือจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้มีผู้ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์และรวบรวมไว้เป็น “ทักษะและความรู้สาหรับยุคศตวรรษที่ 21” (Twenty First Century Skills and Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ความสามารถที่คนไทยจำเป็นต้องมีเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนเช่นกัน อาทิ ความรู้ความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความรู้เรื่องเศรษฐกิจและการเงิน ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกัน ฯลฯ ด้วยทักษะต่างๆเหล่านี้ของคนไทยและด้วยคุณภาพและต้นทุนของสินค้าออกของไทยที่นอกเหนือจากจะมีคุณภาพสูงยังมีต้นทุนต่ำอีกด้วย จะทำให้ไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในอาเซียนได้ และทำให้ไทยยืนอยู่ในประชาคมอาเซียนได้อย่างสง่างาม
ที่กล่าวมาเป็นเรื่องสาคัญที่ต้องเร่งกระทำ สาหรับนักเรียนและนิสิตนักศึกษาซึ่งจะเป็นกำลังสาคัญของชาติยิ่งต้องตระหนักในเรื่องนี้ และเร่งพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถและทักษะต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ทักษะเหล่านี้จะหวังพึ่งการเรียนในห้องเรียนแต่อย่างเดียวไม่ได้ ต้องใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ อย่าเสียเวลากับเกมคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือให้มากนัก ต้องแบ่งเวลาให้เป็น ไม่เช่นนั้นจะเสียใจภายหลัง
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | ||
---|---|---|---|---|
11 | ความรู้ความสามารถของคนไทย | |||
12 | คุณภาพสูง | |||
13 | ต้นทุนต่ำ | |||
14 | ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | |||
15 | ทักษะในการบริหารจัดการ | |||
16 | ทักษะภาษาอังกฤษ | |||
17 | ไทยยืนอยู่ในประชาคมอาเซียนได้อย่างสง่างาม | |||
18 | ไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในอาเซียนได้ | |||
19 | สิ่งที่ต้องเร่งปรับปรุงพัฒนา | |||
20 | สินค้าส่งออก |
เฉลย
บทความที่ 1 – ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลกระทบต่อไทย
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | ||
---|---|---|---|---|
01 | คนอื่นก็ไปทำงานได้ในทุกประเทศของอาเซียน | 10F | ||
02 | ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน | 99H | ||
03 | ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน | 07A | 08A | |
04 | ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน | 99H | ||
05 | ประชาคมอาเซียน | 02D | 03D | 04D |
06 | ประเทศสมาชิกอื่นก็ส่งสินค้าออกได้อย่างเสรี | 09F | ||
07 | ผลทางด้านบวก | 09D | 10D | |
08 | ผลทางด้านลบ | 01D | 06D | |
09 | สินค้าออกของเราจะมีตลาดใหญ่ขึ้น | 99H | ||
10 | โอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทยจะเพิ่มขึ้น | 99H |
บทความที่ 2 – ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลกระทบต่อไทย
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | ||
---|---|---|---|---|
11 | ความรู้ความสามารถของคนไทย | 14D | 15D | 16D |
12 | คุณภาพสูง | 17A | 18A | |
13 | ต้นทุนต่ำ | 17A | 18A | |
14 | ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | 17A | 18A | |
15 | ทักษะในการบริหารจัดการ | 17A | 18A | |
16 | ทักษะภาษาอังกฤษ | 17A | 18A | |
17 | ไทยยืนอยู่ในประชาคมอาเซียนได้อย่างสง่างาม | 99H | ||
18 | ไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในอาเซียนได้ | 99H | ||
19 | สิ่งที่ต้องเร่งปรับปรุงพัฒนา | 11D | 20D | |
20 | สินค้าส่งออก | 12D | 13D |