รวมข้อสอบ O-NET เรื่อง จำนวนจริง

  1. กำหนดให้ \(a, b, c\) และ \(d\) เป็นจำนวนจริงใดๆ
    ข้อใดต่อไปนี้เป็นจริง (O-NET 59 ข้อ 2)

    1. ถ้า \(a \lt b\) แล้ว \(\frac{1}{a} \gt \frac{1}{b}\)
    2. ถ้า \(a \lt b\) แล้ว \(a^2 \lt b^2\)
    3. ถ้า \(a \lt b\) และ \(c \lt d\) แล้ว \(ac \lt bd\)
    4. \(\sqrt{(a+b)^2} = \lvert a + b\rvert\)
    5. \(\lvert a + b\rvert = \lvert a\rvert + \lvert b\rvert\)
  2. กำหนดให้
    \(A = \{x \in R \; \bigl| \; \lvert x + 1 \rvert \leq 2\}\)
    \(B = \{x \in R \; \bigl| \; x^2 \; – x = 0\}\)
    ข้อใดถูกต้อง (O-NET 59 ข้อ 7)

    1. \(A \cap B = \{0\}\)
    2. \(A \cup B = B\)
    3. \(B \; − A = \emptyset\)
    4. \(A \; − B = A\)
    5. \(A’ \cup B’ = (1, \infty)\)
  3. ถ้า \(\lvert x+1 \rvert = 3\) และ \(x\) มีค่าอยู่ระหว่าง \(−5\) กับ \(1\)
    แล้ว \(x \lvert x \rvert\) มีค่าเท่าใด (O-NET 59 ข้อ 12)

    1. \(-16\)
    2. \(-4\)
    3. \(4\)
    4. \(8\)
    5. \(16\)
  4. ถ้า \(a\) และ \(b\) เป็นความยาวของด้านของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีพื้นที่ \(9\) ตารางหน่วย และ \(12\) ตารางหน่วย ตามลำดับ แล้วเซต \(\{a, b, ab, a + b ,a \; − b, a^2 + b^2 \}\) มีจำนวนตรรกยะกี่ตัว (O-NET 59 ข้อ 34)
  5. ข้อใดมีทั้งจำนวนเต็ม, จำนวนตรรกยะ และจำนวนอตรรกยะ (O-NET 58 ข้อ 3)
    1. \(−7.222\ldots,\sqrt{3},\pi \; – \frac{1}{7}\)
    2. \(11, \sqrt[3]{-8}, 2.555\)
    3. \(\frac{1}{2}, -\pi, \sqrt{9} \; – 1\)
    4. \(-\frac{3}{5}, 6.060060006\ldots, \sqrt{1000}\)
    5. \(\sqrt{2} \; – 0.414, \pi^2, 4.718\)
  6. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
    ก. ถ้า \(a, b\) และ \(c\) เป็นจำนวนจริงใดๆ และ \(a \lt b \lt c\) แล้ว \(ab \lt bc\)
    ข. ถ้า \(a\) และ \(b\) เป็นจำนวนอตรรกยะ และ \(a \neq b\) แล้ว \(\frac{a}{b}\) เป็นจำนวนอตรรกยะ
    ค. ถ้า \(a\) และ \(b\) เป็นจำนวนจริงใดๆ แล้ว \(\lvert a \rvert \; – \lvert b \rvert \leq \lvert a \; – b \rvert\)
    ข้อใดถูก (O-NET 58 ข้อ 4)

    1. ก. และ ข. ถูก แต่ ค. ผิด
    2. ก. และ ค. ถูก แต่ ข. ผิด
    3. ข. ถูก แต่ ก. และ ค. ผิด
    4. ค. ถูก แต่ ข. และ ก. ผิด
    5. ก., ข. และ ค. ผิด
  7. กำหนดให้
    \(A = \{x \; \bigl| \; 3x^2 + 5x \; – 12 \lt 0 \}\) และ \(B = \{x \; \bigl| \; \frac{1}{x \; – 1} \; – \frac{2}{x} \geq 0\}\)
    แล้ว \(A \; – B\) มีสมาชิกที่เป็นจำนวนเต็มกี่ตัว (O-NET 58 ข้อ 9)

    1. \(0\)
    2. \(1\)
    3. \(2\)
    4. \(3\)
    5. \(4\)
  8. ให้ \( I = \) เซตของจำนวนเต็ม
    ถ้า \(A = \{x \; \bigl| \; x \in I \; \text{และ} \; \lvert x−2 \rvert \leq 7\}\)
    และ \(B = \{x \; \bigl| \; x \in I \; \text{และ} \; \lvert x+1 \rvert \gt 2\}\)
    แล้วข้อใดถูก (O-NET 58 ข้อ 10)

    1. \(A \cap B\) มีสมาชิก 12 ตัว
    2. สมาชิกของ \(A \cap B\) ที่เป็นจำนวนคู่และเป็นบวกมี \(3\) ตัว
    3. สมาชิกของ \(A \cap B\) ที่เป็นจำนวนเฉพาะที่มีค่ามากที่สุด คือ \(5\)
    4. สมาชิกของ \(A \cap B\) ที่มีค่าน้อยที่สุด คือ \(-4\)
    5. ผลบวกของสมาชิกทุกตัวของ \(A \cap B\) เท่ากับ \(35\)
  9. จำนวนเต็ม \(x\) ที่สอดคล้องกับอสมการ
    \(\frac{5}{12} \leq \frac{2x + 1}{4} \; – \frac{x + 2}{3} \leq \frac{11}{12}\)
    มีจำนวนทั้งหมดเท่ากับข้อใด (O-NET 61 ข้อ 5)

    1. \(3\) จำนวน
    2. \(4\) จำนวน
    3. \(5\) จำนวน
    4. \(6\) จำนวน
    5. \(7\) จำนวน
  10. กำหนดให้ \(f(x) = \lvert x \; – 5 \rvert \; – 5\)
    ข้อใดไม่ถูกต้อง (O-NET 61 ข้อ 9)

    1. \(f(-6) = 6\)
    2. \(f(-5) = 5\)
    3. \(f(0) = 0\)
    4. \(f(5) = -5\)
    5. \(f(6) = -6\)
ดูคำตอบ
  1. กำหนดให้ \(a, b, c\) และ \(d\) เป็นจำนวนจริงใดๆ
    ข้อใดต่อไปนี้เป็นจริง (O-NET 59 ข้อ 2)

    1. ถ้า \(a \lt b\) แล้ว \(\frac{1}{a} \gt \frac{1}{b}\)
    2. ถ้า \(a \lt b\) แล้ว \(a^2 \lt b^2\)
    3. ถ้า \(a \lt b\) และ \(c \lt d\) แล้ว \(ac \lt bd\)
    4. \(\sqrt{(a+b)^2} = \lvert a + b\rvert\)
    5. \(\lvert a + b\rvert = \lvert a\rvert + \lvert b\rvert\)
    วิธีคิด

    1. ไม่เป็นจริง ถ้า \(a\) หรือ \(b\) เท่ากับ \(0\) เราจะหาค่า \(\frac{1}{0}\) ไม่ได้ (ไม่นิยาม)
    2. ไม่เป็นจริง ถ้า \(a = -2\) และ \(b = -1\)
      เราจะได้ว่า \(a \lt b\) แต่ \(a^2 \gt b^2\)
    3. ไม่เป็นจริง ถ้า \(a = -2, b = -1, c = -4,\) และ \(d = -3\)
      เราจะได้ว่า \(ac \gt bd\)
    4. เป็นจริง จากนิยามค่าสัมบูร์ \(\sqrt{x^2} = \lvert x \rvert\)
      ดังนั้น \(\sqrt{(a + b)^2} = \lvert a + b \rvert\)
    5. ไม่เป็นจริง ถ้า \(a = 1\) และ \(b = -1\)
      เราจะได้ว่า \(\lvert a + b \rvert = \lvert 1 – 1 \rvert = 0\) แต่ \(\lvert a \rvert + \lvert b \rvert = \lvert 1 \rvert + \lvert -1 \rvert = 2\)
  2. กำหนดให้
    \(A = \{x \in R \; \bigl| \; \lvert x + 1 \rvert \leq 2\}\)
    \(B = \{x \in R \; \bigl| \; x^2 \; – x = 0\}\)
    ข้อใดถูกต้อง (O-NET 59 ข้อ 7)

    1. \(A \cap B = \{0\}\)
    2. \(A \cup B = B\)
    3. \(B \; − A = \emptyset\)
    4. \(A \; − B = A\)
    5. \(A’ \cup B’ = (1, \infty)\)
    วิธีคิด

    1. แก้อสมการเซต \(A\)
      \(\begin{align*}
      x + 1 &\leq 2 \\
      x &\leq 1
      \end{align*}\)
      และ
      \(\begin{align*}
      x + 1 &\geq -2 \\
      x &\geq -3
      \end{align*}\)
      ดังนั้น \(A = [-3, 1] \)
    2. แก้สมการเซต \(B\)
      \(\begin{align*}
      x^2 \; – x &= 0 \\
      x(x \; – 1) &= 0 \\
      x &= 0, 1
      \end{align*}\)
      ดังนั้น \(B = \{0, 1\} \)
    3. พิจารณาข้อ 1
      \(\begin{align*}
      A \cap B &= [-3, 1] \cap \{0, 1\} \\
      &= \{0, 1\} \\
      &\neq \{0\}
      \end{align*}\)
    4. พิจารณาข้อ 2
      \(\begin{align*}
      A \cup B &= [-3, 1] \cup \{0, 1\} \\
      &= [-3, 1] \\
      &\neq B
      \end{align*}\)
    5. พิจารณาข้อ 3
      \(\begin{align*}
      B \; – A &= \{0, 1\} \; – [-3, 1] \\
      &= \emptyset
      \end{align*}\)
      ดังนั้น ข้อ 3 ถูกต้อง
    6. พิจารณาข้อ 4
      \(\begin{align*}
      A \; – B &= [-3, 1] \; – \{0, 1\} \\
      &= [-3, 0) \cup (0, 1)
      &\neq A
      \end{align*}\)
    7. พิจารณาข้อ 5
      \(\begin{align*}
      A’ \cup B’ &= (-\infty, -3) \cup (1, \infty) \cup (-\infty, 0) \cup (0, 1) \cup (1, \infty) \\
      &= (-\infty, 0) \cup (0, 1) \cup (1, \infty) \\
      &\neq (1, \infty)
      \end{align*}\)
  3. ถ้า \(\lvert x+1 \rvert = 3\) และ \(x\) มีค่าอยู่ระหว่าง \(−5\) กับ \(1\)
    แล้ว \(x \lvert x \rvert\) มีค่าเท่าใด (O-NET 59 ข้อ 12)

    1. \(-16\)
    2. \(-4\)
    3. \(4\)
    4. \(8\)
    5. \(16\)
    วิธีคิด

    1. แก้สมการหาค่า \(x\)
      \(\begin{align*}
      x + 1 &= 3 \\
      x &= 2
      \end{align*}\)
      และ
      \(\begin{align*}
      x + 1 &= -3 \\
      x &= -4
      \end{align*}\)
      ค่าของ \(x\) คือ \(\{2, -4\}\)
      แต่โจทย์กำหนดว่า \(x\) มีค่าอยู่ระหว่าง \(−5\) กับ \(1\)
      ดังนั้น \(x = -4\) เท่านั้น
    2. แทนค่า \(x = -4\)
      \(\begin{align*}
      x \lvert x \rvert &= -4 \lvert -4 \rvert \\
      &= (-4)(4) \\
      &= 16
      \end{align*}\)
      คำตอบ คือ \(-16\)
  4. ถ้า \(a\) และ \(b\) เป็นความยาวของด้านของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีพื้นที่ \(9\) ตารางหน่วย และ \(12\) ตารางหน่วย ตามลำดับ แล้วเซต \(\{a, b, ab, a + b ,a \; − b, a^2 + b^2 \}\) มีจำนวนตรรกยะกี่ตัว (O-NET 59 ข้อ 34)
    คำตอบ คือ 2 ตัว

    วิธีคิด

    1. พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สามารถคำนวนหาได้จากความยาวด้านยกกำลังสอง
      \(\begin{align*}
      a^2 &= 9 \\
      a &= 3
      \end{align*}\)
      และ
      \(\begin{align*}
      b^2 &= 12 \\
      b &= \sqrt{12} \\
      &= 2\sqrt{3}
      \end{align*}\)
    2. แทนค่า \(a\) และ \(b\) ในเซตที่โจทย์กำหนด
      \(\begin{align*}
      a &= 3 \\
      b &= 2\sqrt{3} \\
      ab &= 3(2\sqrt{3}) = 6\sqrt{3} \\
      a + b &= 3 + 2\sqrt{3} \\
      a \; – b &= 3 \; – 2\sqrt{3} \\
      a^2 + b^2 &= (3)^2 + (2\sqrt{3})^2 = 9 + 12 = 21 \\[6pt] \end{align*}\)
      สมาชิกที่เป็นจำนวนตรรกยะ คือ \(3\) และ \(21\)
      คำตอบ คือ \(2\) ตัว
  5. ข้อใดมีทั้งจำนวนเต็ม, จำนวนตรรกยะ และจำนวนอตรรกยะ (O-NET 58 ข้อ 3)
    1. \(−7.222\ldots,\sqrt{3},\pi \; – \frac{1}{7}\)
    2. \(11, \sqrt[3]{-8}, 2.555\)
    3. \(\frac{1}{2}, -\pi, \sqrt{9} \; – 1\)
    4. \(-\frac{3}{5}, 6.060060006\ldots, \sqrt{1000}\)
    5. \(\sqrt{2} \; – 0.414, \pi^2, 4.718\)
    วิธีคิด

    1. พิจารณาข้อ 1
      \(−7.222\ldots\) เป็นทศนิยมซ้ำ จึงเป็นจำนวนตรรกยะ
      \(\sqrt{3}\) ไม่สามารถถอดรากได้ จึงเป็นจำนวนอตรรกยะ
      \(\pi\) เป็นจำนวนอตรรกยะ
      ข้อนี้ไม่ถูกต้องเพราะขาดจำนวนเต็ม
    2. พิจารณาข้อ 2
      \(11\) เป็นจำนวนเต็ม
      \(\sqrt[3]{-8} = -2\) เป็นจำนวนเต็ม
      \(2.555\) เป็นทศนิยม จึงเป็นจำนวนตรรกยะ
      ข้อนี้ไม่ถูกต้องเพราะขาดจำนวนอตรรกยะ
    3. พิจารณาข้อ 3
      \(\frac{1}{2}\) เป็นเศษส่วน จึงเป็นจำนวนตรรกยะ
      \(\pi\) เป็นจำนวนอตรรกยะ
      \(\sqrt{9} \; – 1 = 3 \; – 2 = 1\) เป็นจำนวนเต็ม
      ข้อนี้ถูกต้อง
    4. พิจารณาข้อ 4
      \(-\frac{3}{5}\) เป็นเศษส่วน จึงเป็นจำนวนตรรกยะ
      \(6.060060006\ldots\) เป็นทศนิยมที่ไม่สามารถเขียนในรูปทศนิยมซ้ำได้ จึงเป็นจำนวนอตรรกยะ
      \(\sqrt{1000} = 10\sqrt{10}\) เป็นจำนวนอตรรกยะ
      ข้อนี้ไม่ถูกต้องเพราะขาดจำนวนเต็ม
    5. พิจารณาข้อ 5
      \(\sqrt{2} \; – 0.414\) เป็นจำนวนอตรรกยะ
      \(\pi^2\) เป็นจำนวนอตรรกยะ
      \(4.718\) เป็นจำนวนตรรกยะ
      ข้อนี้ไม่ถูกต้องเพราะขาดจำนวนเต็ม
  6. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
    ก. ถ้า \(a, b\) และ \(c\) เป็นจำนวนจริงใดๆ และ \(a \lt b \lt c\) แล้ว \(ab \lt bc\)
    ข. ถ้า \(a\) และ \(b\) เป็นจำนวนอตรรกยะ และ \(a \neq b\) แล้ว \(\frac{a}{b}\) เป็นจำนวนอตรรกยะ
    ค. ถ้า \(a\) และ \(b\) เป็นจำนวนจริงใดๆ แล้ว \(\lvert a \rvert \; – \lvert b \rvert \leq \lvert a \; – b \rvert\)
    ข้อใดถูก (O-NET 58 ข้อ 4)

    1. ก. และ ข. ถูก แต่ ค. ผิด
    2. ก. และ ค. ถูก แต่ ข. ผิด
    3. ข. ถูก แต่ ก. และ ค. ผิด
    4. ค. ถูก แต่ ข. และ ก. ผิด
    5. ก., ข. และ ค. ผิด
    วิธีคิด

    1. พิจารณาข้อ ก.
      ถ้า \(a = -3, b = -2\) และ \(c = -1\) ซึ่ง \(a \lt b \lt c\)
      แต่ \(ab = (-3)(-2) = 6 \gt bc = (-2)(-1) = 2\)
      ข้อ ก. ไม่ถูกต้อง
    2. พิจารณาข้อ ข.
      ถ้า \(a = 2\sqrt{2}\) และ \(\sqrt{2}\) ซึ่งตรงตามเงื่อนไขแล้ว
      แต่ \(\frac{a}{b} = 2\) ซึ่งเป็นจำนวนตรรกยะ
      ข้อ ข. ไม่ถูกต้อง

    3. พิจารณาข้อ ค.
      \(\lvert a \rvert \; – \lvert b \rvert \leq \lvert a \; – b \rvert\) เป็นสมบัติของค่าสัมบูรณ์
      ข้อนี้ถูกต้อง
  7. กำหนดให้
    \(A = \{x \; \bigl| \; 3x^2 + 5x \; – 12 \lt 0 \}\) และ \(B = \{x \; \bigl| \; \frac{1}{x \; – 1} \; – \frac{2}{x} \geq 0\}\)
    แล้ว \(A \; – B\) มีสมาชิกที่เป็นจำนวนเต็มกี่ตัว (O-NET 58 ข้อ 9)

    1. \(0\)
    2. \(1\)
    3. \(2\)
    4. \(3\)
    5. \(4\)
    วิธีคิด

    1. แก้อสมการเซต \(A\)
      \(\begin{align*}
      3x^2 + 5x \; – 12 &\lt 0 \\
      (3x \; – 4)(x + 3) &\lt 0
      \end{align*}\)
      \(A = (-3,\frac{4}{3})\)
    2. แก้อสมการเซต \(B\)
      \(\begin{align*}
      \frac{1}{x \; – 1} \; – \frac{2}{x} &\geq 0 \\
      \frac{x}{(x)(x \; – 1)} \; – \frac{2(x \; – 1)}{(x)(x \; – 1)} &\geq 0 \\
      \frac{x \; – 2x + 2}{(x)(x \; – 1)} &\geq 0 \\
      \frac{(-x + 2)}{(x)(x \; – 1)} &\geq 0 \\
      \frac{(x \; – 2)}{(x)(x \; – 1)} &\leq 0 \\
      \end{align*}\)
      \(B = (-\infty, 0) \cup (1, 2]\)
    3. \(A \; – B = [0, 1]\) ซึ่งจำนวนเต็ม คือ \(0\) และ \(1\)
      ดังนั้น \(A \; – B\) มีสมาชิกที่เป็นจำนวนเต็ม \(2\) ตัว
  8. ให้ \( I = \) เซตของจำนวนเต็ม
    ถ้า \(A = \{x \; \bigl| \; x \in I \; \text{และ} \; \lvert x \; – 2 \rvert \leq 7\}\)
    และ \(B = \{x \; \bigl| \; x \in I \; \text{และ} \; \lvert x + 1 \rvert \gt 2\}\)
    แล้วข้อใดถูก (O-NET 58 ข้อ 10)

    1. \(A \cap B\) มีสมาชิก 12 ตัว
    2. สมาชิกของ \(A \cap B\) ที่เป็นจำนวนคู่และเป็นบวกมี \(3\) ตัว
    3. สมาชิกของ \(A \cap B\) ที่เป็นจำนวนเฉพาะที่มีค่ามากที่สุด คือ \(5\)
    4. สมาชิกของ \(A \cap B\) ที่มีค่าน้อยที่สุด คือ \(-4\)
    5. ผลบวกของสมาชิกทุกตัวของ \(A \cap B\) เท่ากับ \(35\)
    วิธีคิด

    1. แก้อสมการเซต \(A\)
      \(\begin{align*}
      x \; – 2 &\leq 7 \\
      x &\leq 9
      \end{align*}\)
      และ
      \(\begin{align*}
      x \; – 2 &\geq -7 \\
      x &\geq -5
      \end{align*}\)
      เนื่องจาก \(A\) เป็นเซตของจำนวนเต็ม
      \(A = \{-5, -4, -3, \ldots, 7, 8, 9\}\)
    2. แก้อสมการเซต \(B\)
      \(\begin{align*}
      x + 1 &\gt 2 \\
      x &\gt 1
      \end{align*}\)
      และ
      \(\begin{align*}
      x + 1 &\lt -2 \\
      x &\lt -3
      \end{align*}\)
      เนื่องจาก \(B\) เป็นเซตของจำนวนเต็ม
      \(B = \{\ldots, -6, -5, -4, 2, 3, 4,\ldots\}\)
    3. \(A \cap B = \{-5, -4 ,2 ,3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8 ,9\}\)
    4. พิจารณาข้อ 1
      ไม่ถูกต้อง เพราะ \(A \cap B\) มีสมาชิก \(10\) ตัว
    5. พิจารณาข้อ 2
      ไม่ถูกต้อง เพราะ \(A \cap B\) มีสมาชิกจำนวนคู่บวก \(4\) ตัว
    6. พิจารณาข้อ 3
      ไม่ถูกต้อง เพราะ \(A \cap B\) มีจำนวนเฉพาะที่มากที่สุด คือ \(7\)
    7. พิจารณาข้อ 4
      ไม่ถูกต้อง เพราะ \(A \cap B\) มีจำนวนที่มีค่าน้อยที่สุด คือ \(-5\)
    8. พิจารณาข้อ 5
      ถูกต้อง เพราะ ผลบวกของสมาชิกใน \(A \cap B\) คือ \(35\)
  9. จำนวนเต็ม \(x\) ที่สอดคล้องกับอสมการ
    \(\frac{5}{12} \leq \frac{2x + 1}{4} \; – \frac{x + 2}{3} \leq \frac{11}{12}\)
    มีจำนวนทั้งหมดเท่ากับข้อใด (O-NET 61 ข้อ 5)

    1. \(3\) จำนวน
    2. \(4\) จำนวน
    3. \(5\) จำนวน
    4. \(6\) จำนวน
    5. \(7\) จำนวน
    วิธีคิด

    1. แก้อสมการหาค่า \(x\)
      \(\begin{align*}
      \frac{5}{12} &\leq \frac{2x + 1}{4} \; – \frac{x + 2}{3} \leq \frac{11}{12} \\[6pt] \frac{5}{12} &\leq \frac{(3)(2x + 1)}{(4)(3)} \; – \frac{(4)(x + 2)}{(4)(3)} \leq \frac{11}{12} \\[6pt] \frac{5}{12} &\leq \frac{6x + 3 \; – 4x \; – 8}{(12)} \leq \frac{11}{12} \\[6pt] 5 &\leq 2x \; – 5 \leq 11 \\[6pt] 10 &\leq 2x \leq 16 \\[6pt] 5 &\leq x \leq 8 \\
      \end{align*}\)
      เนื่องจาก \(x\) เป็นเซตของจำนวนเต็ม
      \(x = \{5, 6, 7, 8\} = 4\) จำนวน
  10. กำหนดให้ \(f(x) = \lvert x \; – 5 \rvert \; – 5\)
    ข้อใดไม่ถูกต้อง (O-NET 61 ข้อ 9)

    1. \(f(-6) = 6\)
    2. \(f(-5) = 5\)
    3. \(f(0) = 0\)
    4. \(f(5) = -5\)
    5. \(f(6) = -6\)
    วิธีคิด

    1. พิจารณาข้อ 1
      \(\begin{align*}
      f(-6) &= \lvert -6 \; – 5 \rvert \; – 5 \\
      &= 11 \; – 5 \\
      &= 6
      \end{align*}\)
    2. พิจารณาข้อ 2
      \(\begin{align*}
      f(-6) &= \lvert -5 \; – 5 \rvert \; – 5 \\
      &= 10 \; – 5 \\
      &= 5
      \end{align*}\)
    3. พิจารณาข้อ 3
      \(\begin{align*}
      f(-6) &= \lvert 0 \; – 5 \rvert \; – 5 \\
      &= 5 \; – 5 \\
      &= 0
      \end{align*}\)
    4. พิจารณาข้อ 4
      \(\begin{align*}
      f(-6) &= \lvert 5 \; – 5 \rvert \; – 5 \\
      &= 0 \; – 5 \\
      &= -5
      \end{align*}\)
    5. พิจารณาข้อ 5
      \(\begin{align*}
      f(-6) &= \lvert 6 \; – 5 \rvert \; – 5 \\
      &= 1 \; – 5 \\
      &= -4
      \end{align*}\)

Leave a Reply

Thumbnails managed by ThumbPress