ข้อสอบ ความถนัดทั่วไป (GAT1)
คะแนนเต็ม 150 คะแนน เวลาในการทำข้อสอบ 1 ชั่วโมง 30 นาที
บทความที่ 1 – เด็กไทยกับไอที…เด็กล็อค
“ปัญหาเด็กในปี 2556 นี้ ขอเรียกว่าเด็กล็อค คือล็อคนิ้ว ล็อคตัวเอง และล็อคเวลา” รศ.ดร. สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2556 การล็อคนิ้ว ล็อคตัวเอง ล็อคเวลา ก็คือการใช้เวลามากเกินควรกับไอที ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต
จากผลวิจัยพบว่าเด็กและเยาวชนใช้ระบบไอทีเพื่อการเรียนรู้เพียงร้อยละ 20 ส่วนร้อยละ 80 ใช้เพื่อการบันเทิงและเกมส์ การล็อคทั้งตัวเองและเวลาเช่นนี้ย่อมเกิดผลเสียตามมาหลายประการ จากเวที “คุมเข้มเด็กเล่นเกมส์ : ลิดรอนสิทธิ หรือช่วยสร้างสรรค์” ในการประชุมคณะกรรมการการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ(คจ.สช.) ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม 2555 สรุปว่าการที่เด็กจำนวนมากใช้เวลามากเกินควรกับไอที ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เกิดผลด้านลบต่อพัฒนาการ และได้รับผลร้ายจากการรับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมผ่านทางซอฟท์แวร์ เกมส์ เว็บไซต์
ที่ว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพก็คือร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยง่าย เพราะอยู่กับไอทีจนไม่มีเวลาออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา อีกทั้งสายตาก็มักจะเสียไปด้วย เพราะวันๆจ้องอยู่ที่หน้าจอ นอกจากนี้สุขภาพจิตอาจแปรปรวนกลายเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมรุนแรง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์กล่าวในที่ประชุม คจ.สช.ว่า สถิติของการติดเกมส์และมีพฤติกรรมรุนแรงจนต้องบำบัดรักษาเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี
นอกจากเรื่องสุขภาพแล้ว การล็อคตัวเองหรือล็อคเวลาจนไม่มีเวลาทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่น เช่น การทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ การร่วมกิจกรรมชมรมต่างๆ ในสถานศึกษา หรือแม้แต่การพบปะพูดคุยสังสรรค์กับพ่อแม่ญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูง ย่อมทำให้เกิดผลลบต่อพัฒนาการของตัวเด็กเอง ซึ่งที่สำคัญคือ ทาให้ขาดทักษะทางสังคมและขาดทักษะในการติดต่อสื่อสาร
ปัจจุบันร้านเกมส์ที่เปิดให้บริการทั่วประเทศกว่า 30,000 ร้าน พอๆกับจำนวนสถานศึกษา ร้านเกมส์เหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่จำกัดเวลา ไม่มีการป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ลามก เว็บไซต์ล่อลวง หรือเกมส์รุนแรงที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก ดังนั้นผลร้ายจากการรับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมตามที่ คจ.สช. กล่าวข้างต้นก็คือ ถูกล่อลวงเพื่อกระทำทางเพศ ถูกล่อลวงเพื่อประสงค์ทรัพย์สิน และถูกล่อลวงเพื่อค้ามนุษย์
ทำไมเด็กและเยาวชนไทยจำนวนมากจึงกลายเป็นเด็กล็อคจนเกิดผลเสียใหญ่หลวงเช่นนี้ ความคิดเห็นจากเวทีในการประชุม คจ.สช.กล่าวว่า ต้นตอที่สำคัญ ก็คือ ภาคธุรกิจร้านเกมส์เห็นเด็กเป็นเหยื่อ เด็กขาดพื้นที่และกิจกรรมที่เหมาะสม และครอบครัวไม่ดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หรือไม่เข้าใจกระทั่งว่าปล่อยให้ลูกเล่นเกมส์จนติดและกลายเป็นเด็กล็อคนั้นส่งผลเสียอย่างไร
ที่ประชุม คจ.สช. เสนอให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนช่วยเร่งแก้ไขปัญหาด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ ขจัดสื่อร้ายขยายสื่อดี ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาการถูกล่อลวงเพื่อกระทำการทางเพศและการล่อลวงอื่นๆ ปรับปรุงกฎหมายด้านสื่อให้มีความทันสมัย ควบคุมเวลาและเนื้อหาการให้บริการไอทีทั้งในร้านอินเตอร์เน็ตและเนื้อหาในเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดอาการล็อคตัวเองและเวลา ยังป้องกันการถูกล่อลวงต่างๆดังกล่าว จัดหาพื้นที่และกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งช่วยทำให้การล็อคตัวเองและล็อคเวลากับไอทีลดลง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะแก้ปัญหาได้ดีที่สุดก็คือตัวเด็กและเยาวชนเอง โดยรู้จักผิดชอบชั่วดี และรับผิดชอบในการพัฒนาตนไปในทางที่ถูกที่ควร
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | ||
---|---|---|---|---|
01 | ขจัดสื่อร้ายขยายสื่อดี | |||
02 | ขาดทักษะทางสังคม | |||
03 | ภาคธุรกิจร้านเกมส์เห็นเด็กเป็นเหยื่อ | |||
04 | ควบคุมเวลาและเนื้อหาการให้บริการไอที | |||
05 | จัดหาพื้นที่และกิจกรรมที่เหมาะสม | |||
06 | ถูกล่อลวงเพื่อกระทาทางเพศ | |||
07 | ครอบครัวไม่ดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด | |||
08 | ร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยง่าย | |||
09 | ล็อคเวลา | |||
10 | ล็อคตัวเอง |
บทความที่ 2 – พิษภัยของมลพิษ
ข่าวฮือฮาข่าวหนึ่งเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2556 คือประกาศขายวัด ดังภาพและคำบรรยายภาพจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
“หลวงปู่พุทธอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ขึ้นป้าย ขนาดยาว 10 เมตร สูง 6 เมตรติดที่รั้ววัด ประกาศขายวัดในราคาถูก เนื่องจากทนกลิ่นเหม็นของโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่อยู่ตรงข้ามวัดไม่ได้”
เรื่องมลพิษก่อปัญหาให้สังคมไทยมานาน และนับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ มลพิษมีหลายประเภทที่ทำพิษจนวัดทนไม่ได้ก็คือมลพิษทางอากาศหรืออากาศเสีย ซึ่งหมายถึงภาวะที่มีอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าปกติและเป็นเวลานานพอที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ เช่น อันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช สิ่งแวดล้อม และทรัพย์ สารเจือปนดังกล่าวกองอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัยกทม.เรียกว่า สารมลพิษทางอากาศ ซึ่งมีหลายอย่างเช่น ฝุ่นละออง กลิ่น ควัน ละอองไอ ก๊าซหลายชนิด ฯลฯ
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้กรุงเทพฯและเมืองใหญ่หลายเมืองเกิดปัญหาการจราจรติดขัดเข้าขั้นวิกฤติ รถยนต์และยานพาหนะต่างๆ ซึ่งเผาผลาญน้ำมันมากขึ้นจึงเป็นที่มาของก๊าซหลายชนิดที่เป็นสารมลพิษทางอากาศ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน รวมทั้งสารตะกั่ว กลิ่นท่อไอเสีย และฝุ่นละอองขนาดเล็กซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอน
โรงงานประเภทต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายบริเวณชานเมือง นิคมอุตสาหกรรมหรือแม้แต่ในแหล่งใกล้ชุมชนก็เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้อากาศเสีย เช่น โรงงานอาหารสัตว์ทำให้เกิดกลิ่นจนต้องประกาศขายวัด โรงงานปูนซิเมนต์ทำให้เกิดฝุ่นละออง โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นที่มาของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โรงงานอุตสาหกรรมทำให้เกิดควัน ฯลฯ
ผลกระทบที่เกิดจากสารมลพิษทางอากาศมีมากมาย ที่สำคัญได้แก่ อันตรายต่อมนุษย์ เช่น ป่วยเป็นโรคผิวหนัง โรคระบบทางเดินหายใจ หรือแม้แต่โรคมะเร็ง อันตรายต่อสัตว์โดยหายใจเอาอากาศที่มีมลพิษปะปนอยู่หรือโดยกินหญ้าหรือพืชที่มีมลพิษทางอากาศตกสะสมอยู่ในปริมาณมาก และอันตรายต่อพืช เช่น ใบพืชสีจางลง ใบเหลือง ดอกกล้วยไม้เป็นรอยด่าง มีสีจางลงเป็นจุด นอกจากนี้ผลกระทบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ อันตรายต่อภาวะแวดล้อมจนบรรยากาศแปรปรวนไปทั่วโลก อุณหภูมิบรรยากาศโลกเฉลี่ยสูงขึ้น น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดภัยแล้ง น้ำท่วม เกิดลมพายุบ่อยและรุนแรงขึ้น ฯลฯ
เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2556 กรมคุมมลพิษจัดกิจกรรม D-day ประกาศว่าจะเริ่มบังคับใช้กฎหมายมาตรา 80 พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 อย่างจริงจัง ที่จริงกฎหมาย ประกาศ และกฎกระทรวงเกี่ยวกับมลพิษมีอยู่หลายฉบับ การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังจะเป็นมาตรการสำคัญในการลดสารมลพิษในอากาศ รวมทั้งเป็นการป้องกันหรือลดอันตรายต่อ มนุษย์ สัตว์ พืช และอื่นๆ นอกจากนี้ก็ควรเร่งดาเนินการแก้ปัญหาการจราจรติดขัด และสร้างจิตสานึกที่ดีให้ผู้ประกอบการที่เป็นแหล่งก่อมลพิษด้วย
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | ||
---|---|---|---|---|
11 | กลิ่น | |||
12 | ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ | |||
13 | การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง | |||
14 | ผลกระทบ | |||
15 | ฝุ่นละออง | |||
16 | ยานพาหนะต่างๆ | |||
17 | โรงงานประเภทต่างๆ | |||
18 | สารมลพิษทางอากาศ | |||
19 | อันตรายต่อพืช | |||
20 | อันตรายต่อมนุษย์ |
เฉลย
บทความที่ 1 – เด็กไทยกับไอที…เด็กล็อค
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | ||
---|---|---|---|---|
01 | ขจัดสื่อร้ายขยายสื่อดี | 06F | ||
02 | ขาดทักษะทางสังคม | 99H | ||
03 | ภาคธุรกิจร้านเกมส์เห็นเด็กเป็นเหยื่อ | 09A | 10A | |
04 | ควบคุมเวลาและเนื้อหาการให้บริการไอที | 06F | 09F | 10F |
05 | จัดหาพื้นที่และกิจกรรมที่เหมาะสม | 09F | 10F | |
06 | ถูกล่อลวงเพื่อกระทาทางเพศ | 99H | ||
07 | ครอบครัวไม่ดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด | 09A | 10A | |
08 | ร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยง่าย | 99H | ||
09 | ล็อคเวลา | 02A | 06A | 08A |
10 | ล็อคตัวเอง | 02A | 06A | 08A |
บทความที่ 2 – พิษภัยของมลพิษ
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | |||
---|---|---|---|---|---|
11 | กลิ่น | 99H | |||
12 | ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ | 99H | |||
13 | การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง | 18F | 19F | 20F | |
14 | ผลกระทบ | 19D | 20D | ||
15 | ฝุ่นละออง | 99H | |||
16 | ยานพาหนะต่างๆ | 11A | 12A | 15A | |
17 | โรงงานประเภทต่างๆ | 11A | 12A | 15A | |
18 | สารมลพิษทางอากาศ | 11D | 12D | 14A | 15D |
19 | อันตรายต่อพืช | 99H | |||
20 | อันตรายต่อมนุษย์ | 99H |